WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

Rสมมา คตสนสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2558 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมกันประมาณ 196,100 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2557

       ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ แถลงว่า ในปี 2558 มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมกันประมาณ 196,100 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2557 ซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ 174,100 หน่วย

    หากนับเฉพาะหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2558 รวมกันมีประมาณ 50,300 หน่วย เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2557 รวมกัน

     ทั้งนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ การเร่งโอนก่อนการประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน รอบบัญชี ปี 2559-2563 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2559 การเร่งโอนก่อนภาษีมรดกมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และการโอนเพื่อสิทธิประโยชน์จากมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2558 ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดว่ามาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองจะส่งผลให้หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 28 เมษายน 2559

                สำหรับ การเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า ในปี 2558 ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ประเภทบ้านจัดสรรทั้งสิ้น 292 โครงการ รวมหน่วยในผังประมาณ 44,500 จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13 แต่จำนวนหน่วยในผังลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งมีบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ 258 โครงการ หน่วยในผังรวมประมาณ 45,200 หน่วย แสดงว่าโครงการบ้านจัดสรรโดยเฉลี่ยมีจำนวนหน่วยลดลง

      จากหน่วยบ้านจัดสรรทั้งหมดที่เปิดขายใหม่ เป็นทาวน์เฮ้าส์ประมาณร้อยละ 55 เป็นบ้านเดี่ยวร้อยละ 31 ที่เหลือเป็นบ้านแฝดหรืออาคารพาณิชย์พักอาศัย

     ในปี 2558 พบว่าบ้านจัดสรรที่เปิดขายใหม่แบ่งตามพื้นที่จังหวัด ร้อยละ 48 อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกร้อยละ 19 อยู่ในนนทบุรี และร้อยละ 14 อยู่ในปทุมธานี ที่เหลืออยู่ในสมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร ตามลำดับ

      จากหน่วยบ้านจัดสรรทั้งหมดที่เปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในปี 2558 มีหน่วยในราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท เพียงประมาณ 300 หน่วย (เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่เปิดขายในจังหวัดสมุทรปราการ) ทั้งนี้ ร้อยละ 49 อยู่ในระดับราคา 1.1-3 ล้านบาท ร้อยละ 28 เป็นหน่วยในระดับราคา 3.1-5 ล้านบาท และร้อยละ 22 เป็นหน่วยในระดับราคาที่สูงกว่า 5 ล้านบาท

     มูลค่าโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ในปี 2558 เท่ากับประมาณ 183,800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าโครงการทั้งปี 2557 ซึ่งเท่ากับ 181,500 ล้านบาท

      พื้นที่ซึ่งมีหน่วยบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่มากที่สุดในปี 2558 ได้แก่ โซนบางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย (6,400 หน่วย) โซนสมุทรปราการ (5,600 หน่วย) โซนพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ (5,100 หน่วย) โซนลำลูกกา-คลองหลวง-ธัญบุรี-หนองเสือ (4,800 หน่วย) และโซนมีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง (4,500 หน่วย)

     สำหรับ โครงการที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุด ในปี 2558 มีอาคารชุดเปิดขายใหม่ประมาณ 152 โครงการ รวมหน่วยในผังประมาณ 60,400 หน่วย เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งมีโครงการอาคารชุดเปิดขายใหม่ 157 โครงการ หน่วยในผังรวมประมาณ 73,100 หน่วย ดังนั้น จำนวนหน่วยห้องชุดเปิดขายใหม่ลดลงประมาณร้อยละ 17 จากปี 2557

     สัดส่วนของห้องชุดราคาแพงกว่า 5 ล้านบาทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 16 ของปี 2558 ทั้งนี้ ห้องชุดระดับราคาแพงดังกล่าวส่วนใหญ่เปิดขายในช่วงไตรมาสแรกต่อเนื่องต้นไตรมาส 2 ในขณะที่สัดส่วนของห้องชุดราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 53 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 42 เมื่อกับปี 2558

     มูลค่าโครงการอาคารชุดเปิดขายใหม่ในปี 2558 เท่ากับประมาณ 210,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งเท่ากับ 194,700 ล้านบาท เนื่องจากมีองค์ประกอบที่เป็นห้องชุดระดับราคาสูงมากขึ้น

    พื้นที่ซึ่งมีหน่วยห้องชุดเปิดขายใหม่มากที่สุดในปี 2558 ได้แก่ โซนนนทบุรี (10,500 หน่วย) โซนสมุทรปราการ (8,500 หน่วย) โซนห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง (8,000 หน่วย) และโซนกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี (7,400 หน่วย) และโซนสุขุมวิทตอนปลาย (3,900 หน่วย)

      ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดประมาณว่าในปี 2559 ยอดเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่จะยังทรงตัว โดยในช่วง 4 เดือนแรกจะยังไม่มีการเปิดขายโครงการใหม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคมุ่งให้ความสนใจกับมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองก่อนมาตรการหมดอายุ หลังจากนั้นจึงจะมีการเร่งเปิดโครงการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะเปิดโครงการใหม่โดยอิงปัจจัยทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเฉพาะหน้าและพร้อมปรับตัวตามสถานการณ์

    ปัจจัยบวกที่สำคัญสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2559 ได้แก่ การที่ภาครัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการต่างๆ และการเร่งก่อสร้างโครงข่ายขนส่งคมนาคมทั้งระบบรางและระบบถนน เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โครงการถนนเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัชไปถนนกาญจนาภิเษก โครงการถนนสาย พรานนก-พุทธมณฑล ฯลฯ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-645-9675-6

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!