WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ADES

รมว.ดีอีเอส นำประชุมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ไฟเขียวเพิ่ม 15 พื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ พร้อมร่วมพิจารณาข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 15 พื้นที่ ก่อนมีมติเห็นชอบเพื่อประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย โดยจะรายงานผลการประชุมต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อพิจารณาต่อไป

     นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2565 โดยมี นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ผู้แทนจากกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง

            ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ ฯ ร่วมพิจารณาข้อเสนอ และเห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 15 พื้นที่ ใน 14 จังหวัด ประกอบด้วย

            1) นครระยองเมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ จังหวัดระยอง

            2) คันทรงโมเดล เมืองแห่งความสุขที่พึงประสงค์และสังคมแห่งการแบ่งปัน จังหวัดชลบุรี

            3) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

            4) โครงการพิษณุโลกนครอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดพิษณุโลก

            5) นครเชียงรายสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดเชียงราย

            6) เมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดน่าน

            7) โคราชเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา

            8) Smart City อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

            9) กระบี่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดกระบี่

            10) จังหวัดพังงาสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดพังงา

            11) Satun Smart City จังหวัดสตูล

            12) พัฒนาเทศบาลนครเกาะสมุย สู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            13) หาดใหญ่เมืองอัจฉริยะสีเขียว จังหวัดสงขลา

            14) ปัตตานีเมืองอัจฉริยะ จังหวัดปัตตานี

            15) เมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะ รวม 30 พื้นที่ ใน 23 จังหวัด

      นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้เกิดการวางแผนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะแสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและเริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสิ่งที่สำคัญคือ การทำให้ผู้บริหารเมือง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างกระบวนการและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มุ่งเน้น ‘คน’ เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาเมืองและโครงการที่ตอบสนองบริบทของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน

      โดยการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเดินทางเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการผลักดันการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนการ โดยเน้นกระบวนการสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยที่วางไว้

      ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้การทำงานของสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทยมีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถแก่บุคลากร ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับสูงให้มีทักษะด้านการวางแผน และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ มากกว่า 150 คน ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (Smart City Ambassadors) โครงการอบรมผู้บริหาร หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program)

       อีกทั้ง กระตุ้นการเติบโตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อการบริการเมืองอัจฉริยะ ทั้งในส่วนผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบภาคเอกชน สถาบัน หรือหน่วยงานด้านนวัตกรรม ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และผู้ที่ต้องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการเมืองอัจฉริยะ (depa Smart Living Solution) ซึ่งประเมินว่า การพัฒนาแผนโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะสามารถกระตุ้นให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรวมกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับการผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

     “กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยไม่ใช่เพียงการมีแผนงานที่ชัดเจน แต่ต้องมีการบูรณาการการทำงานอย่างคล่องตัวจากผู้ที่มีส่วนกำหนดนโยบาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ไปจนถึงภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในพื้นที่นั้น ๆ ทั้งหมดล้วนเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งพื้นที่ที่ถูกเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมและมีการกำหนดแผนงานชัดเจน เป็นไปตามแผนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จึงเป็นเหตุผลที่คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในวันนี้”ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

     สำหรับ ผลการประชุมในวันนี้จะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อรับทราบ ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้นจะมีพิธีประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแก่ 15 พื้นที่ ใน 14 จังหวัดดังกล่าวโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสถัดไป

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!