WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4286 NXPO

สถาบันอุดมศึกษาตื่นตัว ปลดล็อกหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา ‘สอวช.’ จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมความเข้าใจมหาวิทยาลัยและนักวิจัย

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ กรมบัญชีกลาง และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดเสวนาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาและการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมให้ความรู้ และมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมงานเสวนา ในรูปแบบไฮบริด ทั้งการเข้าร่วมประชุมที่ห้องหว้ากอ 1-2 สอวช. และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังมากกว่า 1,000 คน

          ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ความเป็นมาของการจัดงาน ว่า การเสวนาให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการแก่สถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นการปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนที่ยังทำได้ไม่คล่องตัว และเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยในวงกว้าง ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ผลักดันร่วมกันมาตั้งแต่การยกร่าง พ.ร.บ. สภานโยบาย พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ร.บ. ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 จนเกิดประกาศหลักเกณฑ์ฯ ขึ้น และมีผลใช้บังคับไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา การจัดงานในครั้งนี้จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยและนักวิจัยเป็นอย่างมาก

          ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า การปรับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนานั้น จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและมีผลกระทบสูง ลดระยะเวลา และขั้นตอนการทำระบบจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดความคล่องตัว เพราะวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง คือการคัดเลือกและเฉพาะเจาะจงได้ตั้งแต่ระดับหัวหน้าโครงการในวงเงินงบประมาณ 1 ล้านบาท จากเดิมที่สามารถอนุมัติได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น และหลักเกณฑ์นี้สามารถใช้ได้ภายในวงเงิน 200 ล้านบาท โดยไม่ต้องใช้วงเงินใน พ.ร.บ. ฉบับกลาง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปลดล็อกอื่นๆ เช่น การจัดจ้างล่วงหน้า หรือซื้อของจากต่างประเทศที่เฉพาะเจาะจง โดยอนุญาตให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ ไม่ต้องผ่านตัวกลาง ส่วนที่เป็นปัญหาในพื้นที่ เช่น เวลาทำวิจัยกับชุมชน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ก็ไม่สามารถโอนครุภัณฑ์ให้กับประชาชนได้ แต่ประกาศนี้จะช่วยให้สามารถทำได้

          โดยในงานได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “นโยบายและความสำคัญของการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาและการให้บริการทางวิชาการสำหรับสถาบันอุดมศึกษา” โดย ดร.สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สอวช. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ ประธานคณะกรรมการบริหารงานอุดมศึกษา ทปอ. และนางอัมพวรรณ พุกดำ นิติกรชำนาญการ กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

          ดร.สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สอวช. ได้กล่าวถึงนโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ที่สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา โดยระบุถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน การให้ความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาทั้งการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานยุคใหม่ การใช้ อววน. มาช่วยในการทำงานเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ตลอดจนการยกระดับมหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ รวมถึงนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สนับสนุนให้พัฒนาคน พัฒนานักวิจัย ไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งการปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา ถือเป็นกลไกการบริหารจัดการพัสดุด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายของรัฐบาล 

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ ประธานคณะกรรมการบริหารงานอุดมศึกษา ทปอ. ได้นำเสนอประเด็นขอยกเว้นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา การให้บริการทางวิชาการหรือการจ้างที่ปรึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 7(3) เพื่อให้ทุกคนให้ความสนใจและข้อควรระวัง กับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ 

          ด้านนางอัมพวรรณ จากกรมบัญชีกลาง ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ทั้งเรื่องของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การมีมาตรฐาน และความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน

          จากนั้นที่ประชุมโดยคณะทำงานของ สอวช. ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาและการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา” โดย นางสาวสลิลวรรณ กลับประสิทธิ์ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย และนายภาสพงศ์ อารีรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการของภาครัฐด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ทำความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อการวิจัยและพัฒนาและเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กรณีสถาบันอุดมศึกษาในระบบวิจัยและนวัตกรรมโดยยกถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียด วิธีการ และขั้นตอนการดำเนินการที่ต่างไปจากเดิม 

 

 

4286

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!