WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

10662 Mahidol ผศดร ธันวดี คล่องแคล่ว

ม.มหิดลชี้อันตรายจาก ‘แมลงวันหัวเขียว’ อาจจู่โจมได้แม้ในตึกสูง

          เป็นที่ทราบกันดีว่าเวลาเข้าป่าหากต้องการหลบสัตว์ร้าย ต้องทำที่พักไว้บนต้นไม้ หรือที่สูง แต่ใน “สังคมเมือง” ซึ่งมีพื้นที่จำกัดต้องอาศัยอยู่ในแนวตั้ง ก็ไม่อาจพ้น “แมลงพาหะ” ที่มาพร้อมกับขยะ และสิ่งปฏิกูล 

          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมลงวันหัวเขียว” ที่เป็นพาหะของ “โรคท้องร่วง” ซึ่งสามารถบินไกลได้เฉลี่ย 2 - 3 กิโลเมตรต่อวัน และยังสามารถ “เกาะพัก” เพื่อ “บินต่อ” ไปได้อีกเรื่อยๆ หรือมาในรูปของ “ดักแด้” ที่ติดมากับสิ่งของซึ่งนำขึ้นตึกได้

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี คล่องแคล่ว อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา และกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงพฤติกรรมของ “แมลงวันหัวเขียว” มักพบ ณ บริเวณที่ทิ้งอาหารเน่าเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือบริเวณทิ้งซากสัตว์ 

          เนื่องจากตามธรรมชาติของ “แมลงวันหัวเขียวเพศเมีย” ที่กำลังอยู่ใน “ระยะวางไข่” ต้องการ “อาหารโปรตีน” เพื่อเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งนับเป็นคุณค่าของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ในฐานะ “ผู้ย่อยสลาย” 

 

10662 แมลงวันหัวเขียว

 

          โดยธรรมชาติแมลงวันหัวเขียวต้องการคาร์โบไฮเดรตจากการดูดน้ำหวานจากพืช ซึ่งนับเป็นคุณค่าของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” จากการ “ช่วยขยายพันธุ์พืช” เนื่องด้วยตามลักษณะทางชีวภาพของ “แมลงวันหัวเขียว” มี “ขา” ซึ่งคล้ายกาวเหนียวที่พร้อมจะยึดเกาะไปกับเกือบทุกพื้นผิว จึงนำเอาทั้งสิ่งปนเปื้อน และละอองเกสรพืชเกาะติดมาด้วย 

          ไม่เพียงในส่วน “ขา” ของ “แมลงวันหัวเขียว” ที่เกาะติดได้แทบทุกสิ่ง แต่เชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับส่วนต่างๆ ของแมลงดังกล่าวก็สามารถส่งต่อสู่มนุษย์ได้ทั้งสิ้น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี คล่องแคล่ว ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งใน “ผู้ป่วยติดเตียง” ที่เสี่ยงต่อการ “วางไข่” ของ “แมลงวันหัวเขียว” ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว 

          พบมากที่สุดในบริเวณ “ช่องปาก” รวมทั้งบริเวณ “แผลกดทับ” ที่มี “ภาวะขาดเลือด” จาก “เนื้อตาย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณปลายแขน และขา ส่งกลิ่นดึงดูด “แมลงวันหัวเขียวเพศเมีย” ให้มาตอมบาดแผล และวางไข่ ส่งผลให้เกิด “โรคหนอนแมลงวัน (Myiasis)” รวมถึงการ ”ติดเชื้อซ้ำซ้อน“ จึงไม่ควรให้ “ผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีแผลกดทับ” อยู่ในสถานที่โล่ง ซึ่งไม่มีมุ้งลวดป้องกันแมลง

          มีข้อมูลที่น่าสนใจ จากการพบว่า “แมลงวันหัวเขียวเพศเมีย” เพียงตัวเดียวสามารถวางไข่ได้มากถึงครั้งละ 200 ฟอง ตลอดจนด้วยลักษณะทางชีวภาพซึ่งมีถุงเก็บสเปิร์มอยู่ภายในตัวเอง จึงทำให้ “แมลงวันหัวเขียวตัวเมีย” สามารถวางไข่ได้หลายครั้ง โดย “การฟักตัว” เกิดขึ้นได้ภายใน 24 ชั่วโมง 

          สำหรับความเร็วของการเจริญเติบโตของตัวอ่อน “แมลงวันหัวเขียว” ขึ้นอยู่กับ “อุณหภูมิ” ที่อบอุ่นเพียงพอ โดยจะทำให้ไข่พัฒนาเป็น “ตัวเต็มวัย” ได้ภายใน 5 - 7 วัน 

          อย่างไรก็ดี ในทางการแพทย์ต่างประเทศได้มีการใช้ประโยชน์จากหนอนแมลงวัน (Maggot) ซึ่งไม่ใช่เป็นสายพันธุ์ของแมลงวันโดยทั่วไป แต่เป็นแมลงวันที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในทางการค้า เพื่อใช้รักษา “เนื้อตายจากโรคเบาหวาน” โดยเฉพาะ 

          นอกจากนี้ ในทาง “นิติเวช” ยังได้มีการใช้ประโยชน์ในการ “ประเมินระยะเวลาของการเสียชีวิต” จากการประมาณอายุของ “หนอนแมลงวัน” โดยนำหนอนที่พบบนศพ มาทำให้ยืดตัวด้วยน้ำอุ่นจัด แล้ววัดความยาวของหนอน ก่อนเทียบกราฟมาตรฐานเพื่อคำนวณย้อนกลับหาช่วงเวลาของการเสียชีวิต

          ไม่เพียงการ “วางไข่” ตามที่ทิ้งอาหาร มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ตายที่ทำให้เกิดการแพร่พันธุ์ของ “แมลงวันหัวเขียว” แต่การสะสม “กล่องพัสดุไปรษณีย์ที่ใช้แล้ว” เป็นจำนวนมากไว้ในที่พักอาศัย อาจทำให้เสี่ยงต่อการพบ “แมลงวันหัวเขียว” ในระยะ “ดักแด้” ที่อาจติดมากับกล่องพัสดุไปรษณีย์ได้ รวมทั้งแมลงรบกวนชนิดอื่นด้วย

          โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี คล่องแคล่ว ไม่แนะนำให้ใช้ “สารเคมี” ในการกำจัด “แมลงวันหัวเขียว” ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพ แต่ควรปรับสภาพแวดล้อมให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ “แมลงวันหัวเขียว” ด้วยการใช้ “กาวดัก” ตลอดจน “เก็บ” และ “ทิ้ง” อาหารเน่าเสียในที่ปกปิด 

          เมื่อใดที่เกิด “อุทกภัย” ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจกับการแพร่ระบาดของเชื้อ “อหิวาตกโรค” (Cholera) ตลอดจนโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งอาจปนเปื้อนมากับ “ขยะ” ที่น้ำพัดพา และรอการเก็บกวาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของ “แมลงวันหัวเขียว” ที่เป็น “พาหะนำโรค” ต่อไป 

          และหากเป็นการ “ถนอมอาหาร” ด้วยการตากปลา หรือเนื้อสัตว์ โดยให้สัมผัสกับแสงอาทิตย์ ควรทำภายใต้มุ้ง หรือตาข่ายที่มิดชิด ตลอดจนไม่ควรประมาทกับแมลงรบกวนชนิดอื่นๆ ที่อาจมาจาก “ท่อน้ำทิ้ง” อาทิ “แมลงหวี่” และ “แมลงสาบ” ที่อาจก่อให้เกิด “ปัญหาสุขอนามัย” จากภายในที่พัก แม้จะอาศัยอยู่ในที่สูง หรือในแนวตั้งได้เช่นเดียวกัน 

 

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

 

 

10662

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!