WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

1a 1เร่งฉีดวัคซีน

สธ.ร่วม กทม.จัด 3 บริการเร่งฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น 'แรงงานต่างด้าว-คนทั่วไป-ติดบ้านติดเตียง'

      กระทรวงสาธารณสุข เผย โควิด 19 พื้นที่ กทม. ยังระบาดต่อเนื่อง ผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มสูงอายุ มีโรคประจำตัว และไม่ได้ฉีดวัคซีน เร่งจัดบริการ 3 รูปแบบออกฉีดเข็มกระตุ้นกลุ่มแรงงานต่างด้าว เปิด 6 ศูนย์ฉีดนอกสถานพยาบาลสำหรับคนทั่วไป และฉีดเชิงรุกถึงบ้านในกลุ่มผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง

      ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด 19 และหน่วยฉีดวัคซีนเพื่อกลุ่ม 608 ใน กทม. ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 พื้นที่ กทม.ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันการเดินทางหรือปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง/แหล่งชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกัน

      โดยเฉพาะการรับประทานอาหารหรือสังสรรค์ มีรายงานผู้เสียชีวิตวันละ 8-12 ราย ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 27 มีนาคม 2565 ผู้เสียชีวิตรวม 445 ราย กระจายในทุกเขต ส่วนใหญ่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว และยังไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งภาพรวมมีความครอบคลุม 61.98% จึงต้องเร่งทำความเข้าใจให้กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวมารับเข็มกระตุ้นหากครบกำหนด

        สำหรับ การฉีดวัคซีนในพื้นที่ กทม. กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กทม.และหน่วยงานต่างๆ จัดบริการ 3 กิจกรรมหลัก คือ 1.การจัดหน่วยเชิงรุกฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่แรงงานต่างด้าวใน กทม. โดยจัดรถสนับสนุนการฉีดวัคซีนออกให้บริการในพื้นที่ต่างๆ สามารถขอเข้ารับบริการได้ทันที 2.จัดศูนย์ฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาลสำหรับประชาชนทั่วไป 6 ศูนย์ คือ

        ธัญญาพาร์ค, เซ็นทรัลพระราม 3, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลอีสวิลล์, โรบินสันลาดกระบัง และอาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร รับบริการได้ทั้งการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน QueQ หรือวอล์กอิน กรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ได้จัดวัคซีนสำหรับเด็กไว้ให้บริการเฉพาะที่ศูนย์ฉีดอาคารกีฬาเวสน์ และ 3.การจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วบริการฉีดวัคซีน สำหรับผู้สูงอายุหรือกลุ่มโรคประจำตัวติดบ้านติดเตียงซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. จะประสานแต่ละชุมชนเพื่อออกให้บริการ

      สำหรับ มาตรการสงกรานต์ในพื้นที่ กทม. คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จะมีการประชุมในวันที่ 29 มีนาคมนี้ เบื้องต้นสามารถจัดกิจกรรมสงกรานต์ได้ แต่งดการสาดน้ำ ประแป้ง ส่วนมาตรการเรื่องอื่นๆ ขอให้รอผลการหารือในที่ประชุมก่อน นพ.สุทัศน์กล่าว

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!