WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ท่าที ของโลก ระบอบ ประชาธิปไตย ของ ประเทศไทย

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 00:05 น. ข่าวสดออนไลน์


ท่าที ของโลก ระบอบ ประชาธิปไตย ของ ประเทศไทย

     หากไล่เรียงตั้งแต่ นายแดเนียล รัสเซล ตามมาด้วย นายดับเบิลยู.แพทริก เมอร์ฟี กระทั่ง นายชินโซ อาเบะ และปิดท้ายด้วย นายแบรด อดัมส์ แห่งเอเชีย ไรต์วอตช์

     ก็ต้องมองว่ามาเป็น “ระบบ” มาเป็น “ขบวน”

     จำเป็นที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. และ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรวมถึง นายเสข วรรณเมธี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ

     ต้อง “ออกโรง” ตอบโต้อย่างเป็นระบบเป็นขบวน

    ประสานกับการปรากฏขึ้นของรายงานจาก “แหล่งข่าว” ว่า อาจจำเป็นต้องเชิญตัวผู้แทนขององค์การสิทธิมนุษยชนบางองค์กรเข้ามาหารือกับคสช.

    ทำนองว่าเป็นการ “ปรับทัศนคติ”

       สะท้อนให้เห็นว่า กระแสบีบรัดในทาง “สากล” ดำเนินไปแทบจะเข้าข่ายยุทธศาสตร์ “โลกล้อมประเทศไทย” ไปแล้วโดยอัตโนมัติ

     ไหนว่า “นานาชาติ” ล้วนแต่ “เห็นด้วย” กับประเทศไทย
...............

     แม้กระแสเสียงอันมาจาก นายแดเนียล รัสเซล รวมถึง นายดับเบิลยู.แพทริก เมอร์ฟี จะถูกตีความและประเมินว่าเป็นการแทรกแซง ก้าวก่ายกิจการภายในของไทย

เพราะเรียกร้องให้คืน “ประชาธิปไตย” โดยเร็ว

แต่พลันที่ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก็กำหนดเงื่อนไขอย่างเดียวกันนี้เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปเยือนญี่ปุ่น

ก็ทำให้บังเกิดอาการละล้าละลังในทาง “ความคิด” ขึ้น

ยิ่งคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ตอกเข้ามาอีกดอกหนึ่ง ยิ่งทำให้น้ำเสียงของสหรัฐของญี่ปุ่นดูจะเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว

เพราะเรียกร้องให้คืน “ประชาธิปไตย” เช่นเดียวกัน
...................

บทสรุปอันมาจาก นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต่อกรณีของสหภาพยุโรปที่ว่า

“อาจจะยังไม่เข้าใจในสถานการณ์ประเทศเรา”

ฟังดูดี แต่หากคำนึงถึงสถานะของ นายแดเนียล รัสเซล คือ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก

และแถลงการณ์ของ “อียู” ได้รับความเห็นชอบจาก “เอกอัครราชทูต” ในประเทศไทย

ก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ในประเทศไทยนับแต่ก่อนและหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา แทบไม่มีอะไรที่เป็น “ความลับ”

หากแจ่มชัดเหมือนร่างของ น.ส.ม่วน ยาจำปา เลยทีเดียว
.............

ความเป็นจริงอันเห็นและเป็นอยู่จากท่าทีของสหรัฐ ของญี่ปุ่นและของสหภาพยุโรป ตรงไปตรงมา

ตรงไปตรงมา 1 คือ ต้องการให้คืนระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยเร็ว 1 คือ ต้องการเห็นการเลือกตั้ง ต้องการเห็นรัฐบาล “พลเรือน”

ความเป็นจริงนี้เริ่มกระหึ่มและถี่ยิบเป็นพิเศษ
.......................

เล่นตามกติกา
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 บทนำมติชน
      กลุ่มการเมือง พรรคการเมือง รวมถึงนักวิชาการ แสดงความเห็น ต่อเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอแนวคิดแก้ปัญหาความขัดแย้งมิให้เกิดขึ้นอีก ควบคู่การปฏิรูปประเทศที่ดำเนินการอยู่เวลานี้ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ให้ฝ่ายต่างๆ มาทำสัญญาว่า จะไม่มีการประท้วง และมีความรุนแรงเกิดขึ้นมาอีก เว้นแต่การใช้เสรีภาพชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตยโดยสงบ ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ต่อเรื่องนี้นางธิดา ถาวรเศรษฐ ที่ปรึกษา นปช.มองว่า นายกฯคงไม่ตั้งใจพูด หรือคิดดำเนินการจริงจัง แต่เป็นลักษณะคล้ายเปรียบเทียบมากกว่า ตรงกันข้าม หากทำให้เกิดความยุติธรรมในบ้านเมืองขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องลงนามสงบศึก ความขัดแย้งแก้ได้ด้วยนิติรัฐ นิติธรรม
      พรรคการเมืองคู่แข่ง 2 พรรคหลัก เห็นตรงกัน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ และนายสามารถ แก้วมีชัย จากพรรคเพื่อไทย มองว่า ไม่จำเป็นเซ็นสัญญาหย่าศึก ปัญหานี้แก้ได้ด้วย กระบวนการทางกฎหมาย ฝ่ายแรกระบุ ประเทศไทยจะเดินหน้าได้ ความผิดต้องว่ากันไปตามผิดตามกระบวนการกฎหมาย ถ้าคนผิดไม่ถูกกฎหมายบังคับใช้ ไม่ยอมรับผิด คงไม่สามารถคุยกันได้และบ้านเมืองคงเดินหน้าต่อไม่ได้ ขณะที่นายสามารถเห็นว่า ต้องแก้ให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีก่อน และต้องไม่เลือกปฏิบัติ จะเห็นได้ว่าท่าทีทั้งสองพรรคนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงจากจุดเดิม ของการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมา กล่าวคือมองกระบวนการบังคับใช้กฎหมายต่างกัน
       นายโคทม อารียา จากมหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการที่สนับสนุนแนวทางเจรจา แก้ไขโดยสันติวิธีมาตลอด มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า การแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดนั้น ต้องเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ให้ได้ จากต่างฝ่ายต่างเอาชนะ เป็นการยอมรับที่จะเล่นตามกติกา แพ้ชนะตามกติกาการเมือง แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ก็จริง แต่นับว่าเสนอแก้ไขตรงจุด หากรัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำมายึดเป็นหลักปฏิบัติได้ ปัญหาบ้านเมืองที่ดำรงอยู่ขณะนี้ น่าจะคลี่คลายได้ไม่ยาก แท้ที่จริงแล้ว ทุกฝ่ายรู้ดีว่า อะไรคือปัญหาที่นำพาบ้านเมืองมาสะดุด หยุดอยู่ ณ จุดปัจจุบัน การปฏิรูปประเทศ การยกร่างรัฐธรรมนูญ กติกาการปกครองสูงสุดของประเทศขณะนี้ การร่างให้ออกมาดี เป็นที่ยอมรับของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่มีกติกาเลอเลิศอย่างเดียวเท่านั้นไม่พอ หากผู้เล่นไม่เล่นตามกติกา ผู้มีหน้าที่กำกับกฎไม่ทำหน้าที่ตรงไปตรงมาอย่างที่ผ่านมา ที่คาดหวังว่าการปฏิรูปจะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้อาจล้มเหลว ไม่เป็นจริง หากต้องการให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้ ทุกฝ่ายต้องกลับมาเคร่งครัด เล่นอยู่ในกรอบกติกา 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!