WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จาก'14 นศ.'ถึง'อุยกูร์' โลกมอง รบ.บิ๊กตู่ 'เสรีภาพ-สิทธิมนุษยชน

8อยกร-จาก'14 นศ.'ถึง'อุยกูร์' โลกมอง รบ.บิ๊กตู่ 'เสรีภาพ-สิทธิมนุษยชน

วิเคราะห์


    เมื่อต้นปี 2558 เจ้าหน้าที่ไทยช่วยเหลือและควบคุมตัวผู้หลบหนีเข้าเมืองในพื้นที่ภาคใต้

ในจำนวนนี้มีชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้ามาจำนวนกว่า 200 คน 

หลังจากพิสูจน์ทราบสัญชาติแล้ว เจ้าหน้าที่พบว่าส่วนหนึ่งเป็นชาวอุยกูร์ในประเทศตุรกี อีกส่วนหนึ่งเป็นชาวอุยกูร์ในประเทศจีน

    เจ้าหน้าที่จึงส่งกลับประเทศตุรกี และประเทศจีนตามสัญชาติที่ได้พิสูจน์

ส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศตุรกีในเดือนมิถุนายน 170 คน และส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศจีนในเดือนกรกฎาคมนี้

    ภายหลังข่าวคราวการส่งชาวอุยกูร์ให้ประเทศจีนแพร่ออกไปก็เกิดปฏิกิริยาจากมุสลิมชาวอุยกูร์ขึ้นมา

ที่ตุรกีเกิดการปิดล้อมและบุกเข้าทำลายทรัพย์สินของสถานกงสุลไทยในตุรกี และหลังจากนั้นกระทรวงต่างประเทศตุรกีได้ประณามการกระทำของไทย

ขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ออกแถลงการณ์แสดงอาการตกใจที่ไทยส่งอุยกูร์ให้แก่จีน โดยระบุว่าเป็นกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

    รุ่งขึ้นที่เยอรมนีมีการประท้วงด้านหน้าสถานทูตไทยที่เบอร์ลิน และที่แฟรงก์เฟิร์ต

ดูเหมือนสถานการณ์ไทยในกรณีดังกล่าวจะเพลี่ยงพล้ำ

   ชาวอุยกูร์นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่อยู่ที่เมือง

    ซินเจียง ประเทศจีน ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น คาซักสถาน คีร์กีซสถาน รวมทั้งตุรกีด้วย

    ชาวอุยกูร์ที่อาศัยอยู่ประเทศจีนนั้นมีเรื่องขัดแย้งกับระบอบการปกครองของจีน โดยชาวอุยกูร์เห็นว่า ทางการจีนกดขี่อุยกูร์

    ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า แม้แต่พิธีถือศีลอดในเดือนรอมฎอนจีนก็ไม่สนับสนุน

ความรู้สึกอึดอัดจากการบังคับใช้กฎหมายตามนโยบายของจีน ทำให้ชาวอุยกูร์บางส่วนอพยพ

สำหรับชาวโลกแล้วเห็นว่าการส่งตัวชาวอุยกูร์ให้แก่จีน ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง

เป็นการส่งที่ขัดแย้งกับรัฐ กลับไปอยู่ในรัฐที่ขัดแย้งกับตัวเอง

ยูเอ็นเอชซีอาร์จึงยกกฎหมายระหว่างประเทศมาอ้าง และเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไทยละเมิด

ดังนั้น ภายหลังกระแสข่าวแพร่ทั่วโลก ไทยในฐานะผู้ส่งอุยกูร์ให้จีนจึงตกที่นั่งลำบาก

หากพิจารณาการกระทำดังกล่าว พบว่ามีความแตกต่างในเชิงเนื้อหากับกรณีจับกุม 14 นักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย 

แต่หากพิจารณาถึงปมปัญหา กลับว่าเป็นปัญหาเดียวกัน 

นั่นคือ ปัญหาสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน 

     ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนักศึกษา 14 คนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. กระทั่งถูกจับกุมและนำไปฝากขัง 12 วัน

    บรรดานักวิชาการ อาจารย์ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศต่างออกมาแสดงความกังวล

จำนวนผู้เรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ มีการจัดทำกิจกรรมตลอดเวลา

    กระทั่ง ศาลทหารมีคำสั่งปล่อยตัว 14 นักศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข กระแสเรียกร้องจึงผ่อนลง

แรงกดดันลด ไฟที่อาจจุดติดถูกเป่าดับ 

    แต่หลังจากปัญหา 14 นักศึกษาคลี่คลาย การควบคุมตัวชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้าเมืองแล้วส่งกลับไปยังดินแดนที่เขาขัดแย้งก็ปะทุเป็นเหตุปั่นป่วนขึ้นมาอีก

    การส่งชาวอุยกูร์กลับไปจีน ทำให้ทั้งตุรกี และยูเอ็นเอชซีอาร์ออกมาแสดงตัว

คัดค้านการกระทำของไทยในปมปัญหาเดิม

   นั่นคือ ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน

   ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นเพราะอะไร?หากมองจากปรากฏการณ์อุยกูร์ อาจมองได้ว่าเกิดจากแรงกดดันของจีน

    เพราะเมื่อครั้งที่ไทยส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่ชาวอุยกูร์กลุ่มดังกล่าวหลบหนีมา ทางจีนได้แสดงความไม่พอใจมาแล้ว

เมื่อถึงคราวที่ผลตรวจสอบสัญชาติออกมาว่าชาวอุยกูร์เป็น

ชาวจีน จึงไม่ลังเลที่จะส่งทั้งหมดไปให้จีน

ส่งให้จีนโดยลืมคำนึงถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐจีนกับชาว

อุยกูร์

     มีข่าวแว่วว่าวันที่เจ้าหน้าที่ส่งชาวอุยกูร์กลับ พอชาวอุยกูร์รู้ว่าต้องกลับไปจีนก็เกิดการต่อสู้ แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ และโดนส่งไปจีน

      หรือปรากฏการณ์อุยกูร์ที่เกิดขึ้น อาจมาจากเหตุเดียวกับการจับกุม 14 นักศึกษา

    คือเกิดจากกรอบความคิดที่มุุ่งเน้นความมั่่นคงของรัฐเป็นหมุดหมาย

ต่างชาติล่องเรือเข้าเมืองผิดกฎหมายต้องถูกผลักดัน 

นิสิตนักศึกษาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ต้องถูกจับกุม 

      แต่กรอบความคิดดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของนานาชาติในโลกประชาธิปไตย

ทำให้ต่างประเทศและองค์กรสากลออกมาคัดค้านการปฏิบัติของไทยอยู่เนืองๆ

ไม่ว่าจะเป็นการเรียกบุคคลเข้าไปปรับทัศนคติ การใช้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน การจับกุมคุมขัง 14 นักศึกษา

รวมทั้งการส่งตัวอุยกูร์กลับประเทศจีนในครั้งนี้

     ดังนั้น หากต้นเหตุที่ทำให้ต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์ไทยมากมาจากกรอบความคิดดังกล่าว รัฐบาลไทยก็ผ่อนคลายความเข้มงวดในกรอบความคิดดังกล่าวเสีย โอกาสจะแก้ไขภาพลักษณ์ไทยในสายตาต่างชาติก็มีสูงขึ้น

    หากยอมผ่อนปรนให้ผู้มีความเห็นต่างสามารถแสดงความคิดเห็นโดยสันติได้

ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่บัญญัติ

    พร้อมทั้งบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการของ 'รัฐ'กับความต้องการของ'ประชาชน'

และผสมผสานความเป็นไทยกับสากลให้ได้

    ทำได้เช่นนี้ ปัญหาที่ประดังเข้าหาก็น่าจะคลี่คลาย 

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็น่าจะสบายใจมากขึ้น....

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!