WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Pประยทธ จนทรโอชา2สปท.เตรียมพิจารณาพ.ร.บ.สื่อ 1 พ.ค.นี้ ส่วนจะตีกลับให้ทบทวนใหม่หรือไม่ต้องรอผลก่อน, กมธ.ฯ มั่นใจผ่านร่าง

     นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการและโฆษก กมธ.วิสามัญกิจการ สปท. (วิป สปท.) กล่าวว่า ในวันที่ 1 พ.ค.สปท.จะพิจารณารายงานการปฏิรูปของกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อมวลชน จำนวน 2 เรื่อง 1.การปฏิรูปการสื่อสารมวลชน : ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... และ 2.ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์

    ที่ผ่านมาวิป สปท.ได้มีการพิจารณาแล้ว และมีมติให้นำกลับมาทบทวนตามที่วิป สปท.เสนอความเห็นต่อม กมธ.สื่อฯ 3-4 ประเด็น ก่อนที่จะเสนอกลับมายังวิป สปท.อีกครั้ง ซึ่งจากการหารือทาง กมธ.สื่อฯ ยังคงยืนยันความเห็นเดิมว่ากมธ.ได้มีการทบทวนแล้ว และยืนยันในประเด็นที่ พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธาน กมธ.สื่อ กับ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธาน กมธ.ได้ออกมาแถลงข่าวความคืบหน้าการพิจารณาเป็นระยะๆ

      "การนำเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกได้แสดงความเห็นอย่างหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่การตอบโต้ไปมาระหว่างตัวแทนองค์กรสื่อกับกมธ.สื่อ ส่วนจะมีโอกาสที่ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกตีกลับมาทบทวนอีกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมในวันที่ 1 พ.ค.นี้ ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร" นายคำนูณ ระบุ

     ด้านพล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สปท.เชื่อว่า กรณีที่ สปท. เตรียมพิจารณาร่างพ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ในวันที่ 1 พ.ค.นี้ ที่ประชุม จะให้ความเห็นชอบ แต่ในกระบวนการจัดทำกฎหมายยังมีหลายขั้นตอน อาทิ ผ่านรัฐบาล, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งสามารถปรับแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้

     ทั้งนี้ ยืนยันว่า เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ไม่ขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากระหว่างจัดทำนั้นมีนักกฎหมายที่คอยดูแลอยู่ แต่หากมีเนื้อหาใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เช่น มาตราว่าด้วยการไม่ทำกฎหมายที่สร้างภาระหรือละเมิดสิทธิ เสรีภาพเกินความจำเป็นนั้น ก็อาจปรับแก้ไขในประเด็นที่ขัดดังกล่าวได้

     เมื่อกฎหมายนี้บังคับใช้ เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรู้กฎหมายและเข้ามาลงทะเบียนกับทางหน่วยงานหรือสภาวิชาชีพสื่อมวลชน แต่หากใครไม่ต้องการลงทะเบียนก็ให้รีบตั้งสื่อของตนเอง เพราะตามร่างกฎหมายจะอนุโลมให้สื่อที่ตั้งก่อนกฎหมายนี้ออก จะได้รับใบอนุญาตโดยอัตโนมัติ

      ขณะที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวไม่เป็นการครอบงำสื่อ เพราะว่าอาชีพอื่นๆ ในประเทศไทยก็มีใบอนุญาตจำนวนมาก เพื่อติดตามการปฏิบัติหน้าที่ว่าถูกต้องตามหลักวิชาชีพหรือไม่ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงเขียนว่าหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรมีระบบใบอนุญาต แต่ความเห็นส่วนตัวยังไม่สามารถตอบได้ว่าอาชีพสื่อสารมวลชนควรมีใบอนุญาตหรือไม่ เพียงแต่พูดตามหลักการเท่านั้น ดังนั้น สมาคมสื่อมวลชน ควรรวมตัวกันเพื่อชี้แจงเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรมีใบอนุญาต

     สำหรับ องค์ประกอบของกรรมการในสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าการให้มีสัดส่วนจากภาครัฐแค่ 2 คน คือปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จากจำนวนกรรมการทั้งหมด 15 คนนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะตัวแทนของภาครัฐถือว่าเป็นเสียงข้างน้อยในสภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน ถ้าหากสื่อจับมือรวมเสียงกันก็คงโหวตชนะอยู่แล้ว

     การเพิ่มตัวแทนจากภาครัฐเข้ามาเป็นกรรมการด้วย เพื่อไม่ให้คนในวิชาชีพกีดกันกันเองจนเกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ก็ต้องหาเหตุผลโต้แย้งพร้อมเสนอแนวทางการกำกับดูแลกันเอง โดยที่คนนอกไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว

นายกฯ เผยปัดปิดกั้นสื่อ ยันไม่เห็นด้วยกับกม.คุมสื่อ แนะศึกษาแนวทางในตปท.-ฟังความเห็นปชช.

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการผลักดันร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีการหารือรายละเอียดกับตนเอง แต่เป็นเพียงแนวคิดที่มีการเสนอขึ้นมา ซึ่งตนเองได้ให้แนวทางในการไปศึกษาว่าในต่างประเทศมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

   นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าไม่ได้มีความต้องการที่จะปิดกั้นใดๆ ทั้งสิ้น และทุกคนต้องช่วยกันหาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างที่ทุกคนต้องการ ให้สื่อทุกสื่อเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง และต้องแยกแยะในส่วนของคนดีและคนไม่ดี โดยไม่ไปเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่ดี และขอให้ทุกฝ่ายอย่ากังวลว่า รัฐบาลจะมาปิดกั้นสื่อฯ เพราะรัฐบาลเองก็ต้องทำงานร่วมกับสื่อฯ ในการขยายความเข้าใจของรัฐบาลไปสู่ประชาชน ซึ่งสิ่งใดที่ไม่ดีและสื่อฯ ได้ตักเตือนขึ้นมาก็มีการติดตามและตรวจสอบให้

     อย่างไรก็ตาม หลายอย่างเป็นกฎหมายตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดกรอบกว้างๆ แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นหากจะอ้างเพียงมาตราใดมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องของสิทธิเสรีภาพ ก็ต้องดูว่าสิ่งเหล่านี้ไปละเมิด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการออกกฎหมายใดๆ หลังจากนี้ให้มากที่สุด

     นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่มีความจำเป็นก็คงไม่มีการตั้งเรื่องดังกล่าวขึ้นมา และเป็นสิ่งที่ต้องหาทางออกร่วมกัน หากค้านทุกอย่างก็จะเดินหน้าไม่ได้ และเกิดความวุ่นวายในวันหน้าขึ้นอีก จึงฝากให้ทุกคนช่วยคิด พร้อมย้ำว่า วันนี้ทำเพื่อคนไทยทุกคน ซึ่งสื่อมวชนก็คือคนไทย ขณะที่คนไทยก็บริโภคสื่อและวันนี้มีหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องบนโซเชียลมีเดีย ทำให้ประเทศเกิดปัญหาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ จึงต้องดูแลเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษ

    นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลสื่อฯ ซึ่งตนเองยังไม่เห็นด้วยกับร่างฯนี้ เพราะต้องฟังความเห็นกับประชาชนก่อน โดยสิ่งที่เป็นปัญหาคือ การมอบความรับผิดชอบให้กับสมาคมสื่อฯ แต่ก็มีการยอมรับว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเกิดปัญหาก็ไม่สามารถหาคนที่รับผิดชอบได้ จึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยเรื่องนี้ เพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!