WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gกอบศกด ภตระกลคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตั้งทีมคุมเมกะโปรเจกท์ครม.ดึงเอกชนตรวจสอบสกัดทุจริต

      แนวหน้า : ในการประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2560 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตั้ง คณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST Commitee) ขึ้นมาตรวจสอบการลงทุนภาครัฐ

     นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ เป็นไปตามข้อตกลงดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงกับประเทศสมาชิกของ ธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์)ในปี 2550 เพื่อสร้างความโปร่งใสในโครงการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ

     สำหรับ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ มีกรรมการ 15 ราย มาจากทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ  ภาคประชาชน  มีอำนาจกำกับดูแล โครงการลทุนที่อยู่ในข้อกำหนดต้องเปิดเผยข้อมูลการลงทุนทุกด้านผ่านเว็บไซต์กลาง เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้าตรวจสอบ

     สำหรับ โครงการลงทุนภาครัฐที่เข้าข่ายดำเนินการตามคณะกรรมการ CoST Commitee ต้องเป็นโครงการลงทุนของภาครัฐตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป  เป็นโครงการลงทุนสาธารณะส่งผลกระทบในวงกว้าง  จึงตั้งทีมงานขึ้นมาติดตามดูแลโครงการลงทุน ซึ่งมีข้อตกลงคุณธรรม ชี้แจงข้อมูลแบบเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นระยะผ่านเว็บไซต์กลาง แสดงข้อมูลตรวจสอบได้ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ รวมทั้งสามารถเอาผิดกับ ผู้ดำเนินการได้ตามกฎหมาย ขณะนี้มี 14 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการนี้หลังทางอังกฤษจัดตั้งโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2550

       นายกอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการดังกล่าวจะปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างของ ภาครัฐ อย่างที่ผ่านมา โครงการลงทุนสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 มีวงเงินลงทุน 62,500 ล้านบาท เมื่อเข้าสู่โครงการ CoST มี ผู้ติดตามโครงการลงทุน ได้ช่วยลดวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างได้ถึง 9,200 ล้านบาท จึงต้องการนำโครงการลงทุนทุกประเภทของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เข้าสู่โครงการคณะกรรมการ CoST เพื่อหวังลดงบประมาณลงทุนลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในการลงทุนภาครัฐ

      ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้มีการรายงานผลการประชุมของโครงการความร่วมมือ ทางด้านรถไฟไทย-จีนตั้งแต่ครั้งที่ 9-15 ที่ผ่านมาให้ครม.รับทราบ และได้มีการรายงานเพิ่มเติมว่าได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือที่เป็นการยืนยันในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงว่าจะมีการดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวในเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย อย่างแน่นอน

      ในเบื้องต้นจะมีการดำเนินการในช่วงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน และอยู่ระหว่างการนำเสนอโครงการให้ ครม.โดยขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่อยู่ระหว่างการทำ รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งในส่วน ของการร่างสัญญาทั้ง 3 สัญญาจะมีการเร่งรัดข้อสรุปให้ได้ภายในเดือนนี้ และทางไทยกับจีนจะร่วมกันจัดทำเอกสารประกอบการประกวดราคาในการก่อสร้างของโครงการ

    สำหรับ การประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีนในครั้งที่ 17 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะมีขึ้นปลายเดือนนี้

ครม.เห็นชอบโครงการ CoST ปฎิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง-ลดต้นทุนงบประมาณโครงการภาครัฐ

      นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบแนวทางการดำเนินโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) เป็นการวางอนาคตในการตรวจสอบความโปร่งใสโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างครั้งสำคัญของประเทศที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดงบประมาณลง

      โดยโครงการที่จะเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว ต้องเป็นโครงการที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป, โครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในวงกว้าง

      เมื่อคัดเลือกโครงการแล้วในการเปิดเผยข้อมูลต้องเปิดเผยตลอดเวลา ทั้งเชิงรุก (ไม่ต้องขอ) และแบบเชิงรับ (แบบมีการร้องขอ)  โดยทางส่วนราชการจะมีการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง ส่วนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะเปิดเผยผ่านแต่ละหน่วยงาน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากรมบัญชีกลาง

      "อย่างเช่นโครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟสสอง เมื่อนำโครงการ CoST มาใช้ สามารถลดงบประมาณไปได้กว่า 9,000 ล้านบาท" นายกอบศักดิ์ กล่าว

      พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ จำนวน 15 คน มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกตามเกณฑ์ 39 ประการ และข้อมูลเชิงรับที่เป็นการร้องขอผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานเจ้าของโครงการและกรมบัญชีกลาง

     ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2558 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน นำร่องโครงการของรัฐวิสาหกิจ 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการก่อสร้างทางวิ่งสำรองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.โครงการก่อสร้างอาคารหลังที่สองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปี 2554-2560 และ 4.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และโครงการของส่วนราชการอีก 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ของกรมชลประทาน 2.โครงการก่อสร้างทางวิ่งทางขับท่าอากาศยานเบตงของกรมท่าอากาศยาน และ 3.โครงการก่อสร้างอาคารสถาบันโรคผิวหนังของกรมการแพทย์

     โครงการดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2550 โดยประเทศอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 14 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน เอลซัลวาดอร์ เอธิโอเปีย กัวเตมาลา ฮอนดูรัส มาลาวี แทนซาเนีย ยูกันดา ยูเครน ฟิลิปปินส์ แซมเบีย เวียดนาม อังกฤษ และไทย

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!