WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด'สมคิด'วางแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจรองรับ EEC เร่งเพิ่มสนามบิน -กระจายอินเทอร์เน็ตชุมชนตามเป้าในปีหน้า

     'สมคิด'สัมนาวางแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ เตรียมแผนรองรับ EEC ชี้สหรัฐ-ยุโรป สนใจลงทุนเพียบ ต้องสร้างความพร้อมด้านคมนาคม - บุคลากร ให้ AOT เร่งกระจายท่าอากาศยานให้ทั่วภูมิภาค กำชับ TOT-CAT กระจายอินเทอร์เน็ตชุมชนให้ครบ 2.4 หมื่นหมู่บ้านในปีนี้ และอีก 2 หมื่นหมู่บ้านในปี 61 ยัน ‘ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์’จะเปิดขายให้ปชช.ก่อน เชื่อช่วยลดภาระงบประมาณลงทุนรัฐ ฟาก รมว.คลังย้ำ ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพ อย่าหวังแต่กำไรอย่างเดียว

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการสัมมนาแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ว่า รัฐวิสาหกิจถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศ โดยในไตรมาส 1/2560 ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายลงทุนเติบโตถึง 17% ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวได้ 3.3% สำหรับในระยะต่อไป รัฐวิสาหกิจจะมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น จะต้องเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่จะเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 

    วันนี้ ต่างชาติเขาไม่มีคำถามว่า การเมืองเราเป็นอย่างไร แต่เขามีคำถามว่า หลังการเลือกตั้ง นโยบายจะเป็นอย่างไร แต่ในเมื่อทุกอย่างเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงทำให้เขามั่นใจ และล่าสุดทางสหรัฐ ในตอนที่มาพบนายกฯ ได้ระบุว่า สนใจเข้ามาลงทุนทุกโครงการของไทย โดยเฉพาะ EEC เพราะตอนนี้บ้านเรามันกลับมาปกติ ในขณะที่บางประเทศเป็นบวกกับเรา จึงถือเป็นเรื่องที่ดีนายสมคิด กล่าว 

     นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบัน รัฐบาลได้เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ เร่งพัฒนาบุคลากร โดยแต่ละองค์กรจะต้องมีเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่อนาคต เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT จะต้องเร่งสร้างท่าอากาศยานไปเชื่อมในแต่ละภูมิภาค เนื่องจากด้านคมนาคมเป็นสิ่งสำคัญ 

      ใครบอกยุทธศาสตร์ไม่จำเป็น ไม่ต้องฟัง หากประเทศไม่มีหางเสือจะทำยังไง การยึดหลักยุทธศาสตร์มันไม่ดีตรงไหน ทุกอย่างมันไม่มีอะไรผิด ความคิดต่างมันมีได้ เพราะตำรายังไม่เหมือนกัน แต่ยุทธศาสตร์หลักมันต้องมี และเป็นตัวยึด ซึ่งเราได้บรรจุในรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ด้านการพัฒนาหากยกตัวอย่าง เช่น การท่าฯ มีเงินเยอะ ต้องลงทุน มีเงินอย่าเก็บไว้ในกระเป๋า เดี๋ยวมันขึ้นรา เราต้องกระจายการเชื่อมต่อ ออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธ.ก.ส. ต้องเร่งสร้างเอสเอ็มอีเริ่มต้นใหม่ๆนายสมคิด กล่าว 

     นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจ จะต้องเป็นตัวเร่งสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกด้าน โดยเฉพาะการค้าขาย เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน เนื่องจากตอนนี้ ได้กำหนดพื้นที่ค้าขาย มีผู้ประกอบการ แม่ค้า พ่อค้า เดือดร้อนบ้าง ดังนั้น อยากให้รัฐวิสาหกิจช่วยหาพื้นที่ให้มีที่ขายของได้ ด้านการลงทุนนั้น ขณะนี้งบประมาณมีหลายด้าน ทั้งเงินกู้ เงินให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP เงินงบประมาณ และกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือ ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ซึ่งยืนยันว่า จะขายให้กับประชาชนก่อน เปิดขายให้กับนักลงทุน 

      ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ถือเป็นหนึ่งโครงการที่ทำให้ไม่ต้องรองบประมาณ วิธีนี้ทำให้เราประหยัดงบ หนี้สาธารณธะต่อจีดีพีจะอยู่ตามมาตรฐานไม่เกิน 60% แน่นอน เพราะไม่อยากให้หวังกระทรวงการคลังช่วยตลอด ด้านอีอีซี ถือเป็นตัวหลักที่เราพยายามขับเคลื่อน โดยจะเน้นการเพิ่มความคุ้มค่า การวิจัย นวัตกรรม พัฒนา ซึ่งตอนนี้ สหรัฐ ยุโรป ยืนยันว่าสนใจมาลงทุน แต่เราจะต้องเตรียมพร้อม ทั้งคน พลังงาน คมนาคม เป็นต้นนายสมคิด กล่าว 

        นายสมคิด กล่าวว่า ขณะที่การเดินหน้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 โลกดิจิทัล ขอความกรุณา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด หรือCAT ต้องไม่เลื่อนเวลา โดยปีนี้จะเดินหน้าอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านให้ได้ 24,000 หมู่บ้าน และปีหน้า 20,000 หมู่บ้านให้ได้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นกว่า 14 ล้านล้านบาท รายได้ 5 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และชดเชยภาคเอกชนที่ยังชะลอการลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจ ได้ดำเนินการเป็นแอคทีฟแชร์โฮลเดอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการบริหารนั้นจะต้องเป็นในรูปแบบเดียวกับเอกชน

     ที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจได้ร่วมวางแผนยุทธศาสตร์ระยะสั้น และระยะยาวทุกปี โดยในครั้งนี้ ได้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ให้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นตัวกำหนดทิศทางประเทศในระยะยาว ดังนั้น การจัดทำแผนรัฐวิสาหกิจในครั้งนี้ จึงต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้วย 

      "เชื่อว่า รัฐวิสาหกิจจะช่วยให้กระตุ้นให้เอกชนลงทุน โดยยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจทั้งระยะสั้น และระยะยาว ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะต้องไม่ลืมจุดประสงค์ในการจัดตั้ง ด้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ถือว่าช่วยให้คนมีรายได้น้อยมีบ้าน ด้านบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เป้าหมายคือเร่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ธนาคารออมสิน จะต้องให้ความสำคัญกับการช่วยคนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ใช่แข่งกับธนาคารพาณิชย์ อย่าลืมจุดประสงค์ อย่าเบี่ยงเบน และอย่ามุ่งทำกำไรสูงสุด เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ แต่หน้าที่ คือ การทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่าหวังว่ามีกำไรเยอะ และจะใช้งบไปเรื่อยๆ การทำงานอย่าช้า หรือ อืด ไม่เช่นนั้นจะไปไม่ทัน ของเราบางที่ทำงาน 3-4 ปี ขณะที่เอกชนทำครึ่งปีก็เสร็จแล้วนายอภิศักดิ์ กล่าว 

      นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ เอกชนจะต้องเน้นในเรื่องการดำเนินงานให้สอดคล้องกับ กรอบ 4G ประกอบด้วย GC: Growth and Competitiveness, GGG: Good Governance Growth, GG: Green Growth และ IG: Inclusive Growth โดยจะต้องรู้จักวางแผน ผู้บริหารจะต้องมีระบบการจัดการที่ดี เพราะทุกอย่างจะถูกกำหนดเป็นการประเมินผลงาน

       ขณะที่นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ได้รายงานในที่ประชุมว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง สคร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนแม่บทรัฐวิสาหกิจทั้ง 55 แห่ง เพื่อนำเป็นแผนงานปี 2560 และนำไปเป็นยุทธศาสตร์ดำเนินงานระยะสั้น 5 ปี โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รวมถึงนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีบง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มั่นคง และยั่งยืนในระยะต่อไป

       สำหรับ ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ได้มอบหมายให้ สคร. และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. จัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจตามรายสาขา และประชุมร่วมกับผู้บริหารทั้งหมด เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจตามแผนระยะ 5 ปี (2560-2564) และแผนระยะ 20 ปี (2560-2579) ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานนั้น จะกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดองค์กร ผู้บริหาร คณะกรรมการ โดยจะนำผลงานรายปีเป็นตัวประกอบการพิจารณา

 

รมว.คลัง ยอมรับแผนส่งเสริมลงทุน EEC ล้มเหลว หลังเอกชนมองไม่คุ้มค่าย้ายโรงงาน - แย้มยังรอ ตลท.นัดวันถก CMDF

Gอภศกด ตนตวรวงศ     รมว.คลังรับ แผนส่งเสริมการลงทุน EEC ล้มเหลว หลังเอกชนมองไม่คุ้มค่าย้ายโรงงาน ชี้บรรยากาศลงทุนในปท.ยังซบ หลังมาตรการภาษีหนุนการลงทุน 1.5 เท่ายังไม่ประกาศใช้ แต่เชื่อต่างชาติที่แห่มาลงทุนใน EEC จะกระตุ้นให้เอกชนไทยตื่นตัว  ส่วนเรื่องรถไฟฟไทยจีนได้ตั้งวงเงินกู้ปีงบ 61 จำนวน  1.7 แสนลบ.รองรับไว้แล้ว ด้านข้อสรุป CMDF แย้มยังรอตลท.นัดวันพูดคุยเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน 

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยยอมรับว่า เอกชนขนาดใหญ่ยังไม่สนใจลงทุน เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนนั้น จะต้องดูความคุ้มค่าในการลงทุน ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างสภาพแวดล้อม และเตรียมพร้อมมาตรการต่างๆ โดยในปัจจุบัน พบว่า มาตรการด้านภาษีในการส่งเสริมการลงทุน 1.5 เท่า ยังไม่ประกาศใช้ ส่งผลให้เอกชนยังขาดความเชื่อมั่น ประกอบกับ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า เอกชนไปลงทุนในต่างประเทศมาก เนื่องจากต้นทุนถูก ราคาสินทรัพย์ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้น เอกชนจึงมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า 

       เราเห็นว่า ควรทบทวนแผนการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีใหม่ เพราะที่ผ่านมาเอกชนขนาดใหญ่มองว่า อาจไม่คุ้มค่าหากจะย้ายโรงงาน และส่วนใหญ่มีโรงงานอยู่แนวชายแดน ดังนั้น จึงมีแนวคิดอยากส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ที่เน้น วิจัย พัฒนา และเน้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย ซึ่งเราเชื่อว่า เมื่อต่างประเทศสนใจเข้าไปลงทุนมาก เอกชนของไทยจะตามแน่นอนนายอภิศักดิ์ กล่าว 

     นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนมาตรการผู้มีรายได้น้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปมาตรการ และให้นักศึกษาลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้มีรายได้น้อย โดยดำเนินการแล้ว 80-90% โดยมั่นใจว่า ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะสามารถแจกบัตรสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยได้แน่นอน และบัตร 10 กว่าล้านบาท จะต้องพร้อมมอบให้กับประชาชนได้

       ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ไม่สามารถเข้าคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการกู้เงินของกระทรวงการคลัง นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ติดปัญหาที่คลังแน่นอน เพราะกระทรวงการคลังได้วางงบประมาณกู้เงินของปีงบประมาณ 2561 ไว้เรียบร้อยแล้ว ตามวงเงินที่จะต้องใช้ทั้งหมด 1.7 แสนล้านบาท แต่จะใช้ทั้งหมดหรือไม่นั้น อยู่ที่ข้อตกลงของกระทรวงคมนาคม

    นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้า การหารือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาตลาดทุนไทย หรือ CMDF  ว่า กระทรวงพร้อมที่จะหารือกับทางตลท. ซึ่งยังไม่สามารถระบุวันได้ว่าจะหารือในวันไหน หรือ เวลาใด เนื่องจากต้องรอ ตลท.พร้อม

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!