WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เคทีซีมิโก้ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

ขึ้นต่อ รับข่าวดี ยูเครน-ดอกเบี้ยเฟด
Highlight
      ๐ ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ปรับขึ้นเล็กน้อย รับข่าวดียูเครน และคาดเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยฯ เร็วๆ นี้ ส่วนวันนี้จับตา รอลุ้นต้วเลขส่งออก-นำเข้าจีน และบางประเทศปิดทำการเนื่องในเทศกาลไหว้พระจันทร์ (ฮ่องกง ปิดพรุ่งนี้)
      ๐ ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ จีน รายงานการค้าระหว่างประเทศ ก.ค. คาดส่งออก +10.1%y-y นำเข้า 3%y-y เกินดุลการค้า $41.3bn.(Vs มิ.ย. ส่งออก 14.5% นำเข้า -1.6% เกินดุล $47.3bn.) Japan รายงาน 2Q57 GDP คาด -7%q-q saar annually (Vs -6.1%) และดุลบัญชีเดินสะพัด ก.ค. คาดเกินดุล 445.6 พันล้านเยน (Vs -399.1 พันล้านเยน) USA: Consumer Credits ก.ค. คาด $17.3bn. (Vs $17.255bn)
     ๐ +/- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติซื้อเพิ่ม +1.57 พันลบ. (ซื้อสะสม 5 วันรวม +6.82 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่ออีก -414 ลบ. (ขายสะสม 4 วันรวม -3.96 พันลบ.)
๐ + การเมือง รัฐบาลแถลงนโยบายฯ ต่อสนช. 12 ก.ย. ลุ้นอาจมีข่าวดียกเลิกกฎอัยการศึกบางจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
      ๐ คาดดัชนีฯ วันนี้ sideway up แนวรับ 1577/1570 จุด แนวต้าน 1593/1600 จุด ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวก คลายกังวลสถานการณ์ยูเครน และคาดเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังจ้างงาน ส.ค. ต่ำคาดมาก แนะเลือกเก็งกำไรรายตัวโดยมีจุด Stop Profit หากหลุด 1552 จุด (SMA 25 วัน)
๐ หุ้นเด่นเก็งกำไร ERW AAV TTA RCL SVI SAMART UV JMART MJD ANAN EMC IVL TNDT SUPER


๐ หุ้นในกระแส:

- หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 10.0%) DIMET DNA EMC ABC EVER THANA SUPER หุ้นที่ลงกว่า 5% ได้แก่ CSP CMO LDC CRANE
- NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ KBANK+271 PTTEP+217 BBL+213 KTB+195 SCC+149 TRUE+130 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ DTAC-61 LPN-58
- หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ TTA 34 TRUE 30 IVL 29

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up แนวต้าน 1593/1600 จุด แนวรับ 1577/1570 จุด จับตาตัวเลขการค้าจีนมาตรการแซงชั่นรัสเซียเพิ่มจากอียู ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ส่วนโมเมนตั้มบวกคือ ลุ้นรัฐบาลใหม่ยกเลิกกฎอัยการศึกบางพื้นที่ ก่อนเทศกาล Golden Week ต้น ต.ค. ของจีน คงคำแนะนำ กลุ่มท่องเที่ยว (ERW AAV) เรือ (TTA RCL) ชิ้นส่วนอิเล็กฯ (SVI) พลังงานทางเลือก (DEMCO GUNKUL) ส่วนหุ้นเก็งกำไร แนะนำ UV JMART TTA MJD ANAN EMC IVL TNDT SUPER
     คาดดัชนีฯสัปดาห์นี้ ขึ้นต่อ เป้าหมาย 1600/1620 จุด แนวรับ 1570/1560 จุด ปัจจัยสนับสนุนมาจากโมเมนตัมบวกต่อสินทรัพย์การเงินโลก หลัง ECB Meeting ส่งสัญญาณเตรียมออก QE เดือน ต.ค. (Liquidity driven หนุน) ส่วนปัจจัยในประเทศ มาจากการคาดหวังในเชิงบวกต่อ Event Plays อาทิ กลุ่มท่องเที่ยว-จากการยกเลิกกฎอัยการศึก บางพื้นที่ กลุ่มผู้ผลิตพลังงานทางเลือกและปตท. -จากการปฎิรูปพลังงานที่เน้นเปิดเสรีและเพิ่มอุปทานให้มั่นคง กลุ่มผู้ผลิต Set Top Box-จากการเริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอล ฯลฯ ปัจจัยลบจะมาจากแรงขาย Trigger Funds ที่ครบกำหนดเป้าหมายบริเวณ 1600 จุด และระดับ Valaution ที่อยู่ในเขตแพงรวมถึงการขึ้นเครื่องหมาย XD ของบจ. อาทิ วันอังคาร 9 ก.ย. BBL 2 บ. KBANK 0.50 KKP .50 บ.
      การลงทุนระยะเดือน คงคำแนะนำ เลือกลงทุนหลักทรัพย์ที่มีผลบวกตามฤดูกาล กลุ่มเรือ TTA PSL RCL กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ SVI KCE DELTA และกลุ่มผู้ผลิตพลังงานทดแทน GUNKUL DEMCO SOLAR จากแนวโน้ม Upward Revision มีสูง รวมถึงหุ้นทีคาดว่าจะมีข่าวดีจากผลกำไรบจ. SYNTEC QH CPALL HEMRAJ ส่วนพอร์ตลงทุนระยะสั้น แนะนำ เก็งกำไรหุ้นรายตัว โดยปรับจุด stop profit ขึ้นมาเป็น 1550 จุด (จากเดิม 1540 จุด) หุ้นเก็งกำไร SUPER AIRA UV TNDT PCSGH ANAN
Investment Theme: แนะนำ
1. Event Plays:
+หลักทรัพย์ที่ติด Cash Balance 8 ก.ย. - 17 ต.ค. BKD CSS SUPER-W1 TFI ส่วนหลักทรัพย์ที่กำลังจะพ้น Turnover Lists วันที่ 12 ก.ย. ได้แก่ TMI และ 19 ก.ย. ได้แก่ ADAM AJD IFEC SLC
+บริษัทฯ ที่มี Opportunity Day (อาจมีข่าวบวกจากแผนงานขยายกิจการ) วันนี้ ได้แก่ SMPC TNDT BJCHI HEMRAJ SENA วันอังคาร TOG STPI SAT SANKO PREB SGP วันพุธ EUREKA L&E PCSGH DEMCO TKS LST UPOIC วันพฤหัสฯ MODERN SITHAI WINNER TSC TKT DSGT
++กลุ่มที่มีผลบวกทางฤดูกาล กลุ่มเรือเทกองและคอนเทนเนอร์ PSL TTA RCL กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ DELTA SVI
+/- หุ้นที่มีประเด็น JAS รอศาลฯตัดสิน 9 ก.ย. CSS 12 ก.ย. จับตาผลประชุมฯกรณีกำหนดวันขึ้นเครื่องหมาย XW THCOM รายงานยิงดาวเทียมไทยคม 7 เมื่อวันที่ 7 ก.ย. รองรับ 14 C-Band ทรานสปอนเดอร์
Monthly Stock Picks:เดือน ก.ย. เราแนะนำ PSL IVL (Global play) QH CPALL HEMRAJ (Local Cyclical Play) SYNTEC TWS (Earning Play) SAMART SAMTEL JMART (ปัจจัยหนุนระยะสั้น)
2. 3Q57F Earning Play : ผลกำไร 3Q57F อาจ Turnaround โดยอิงจากการเป็นบริษัทที่รายงานผลขาดทุนใน 3Q56 แต่มีกำไรสุทธิใน 2Q57 ได้แก่ TTA THRE METCO RCL ROJNA CFRESH ANAN WAVE GOLD MDX MJD NUSA ฯลฯ
3. Cheap Stock (Foreign Fund Flow) : เราพบว่า หุ้นที่อยู่ใน MSCI Thailand และ KTZ Universe ที่ยังคงมีระดับ P/BV น้อยกว่าตลาด (Mean +0.5 SD) และมี % Upside สูงกว่า 10% รวมถึงมี 14 EPS Growth >7% แนะนำ JMART SGP CPALL CPF BBL RATCH PTT TUF IRPC
ปัจจัยต่างประเทศ : ลุ้นขนาดการทำ QE ของ ECB/ แนวโน้มดอกเบี้ยของ FED
+QE ยุโรป : Liquidity driven จาก Euro Carry Trade
ปัจจัยลบ คือ เศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอกว่าคาด ส่วนปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง จะ ให้ความสนใจต่อปริมาณ QE ที่ ECB จะทำในช่วงเดือนตุลาคม หรือปลายปีนี้ โดยอยู่ในช่วง 5 แสนล้านยูโร ถึง 1.5 ล้านล้านยูโรใกล้เคียงกับขนาด QE1 ของเฟด ที่เคยทำ ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงทางการเงิน เช่น หุ้น ฯลฯ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ที่อาจมี Liquidity Driven จาก Euro Carry Trade ไหลเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีฯมี Upside Risks ต่อระดับ PERปีนี้ สูงกว่าคาดการณ์เดิมของเราที่ 15.5 เท่า โดยหากดัชนีฯขยับขึ้นไปถึงระดับ 16-16.8 เท่า อิง 14 EPS Growth ปีนี้ที่ 10.3% จะได้ระดับเป้าหมายสิ้นปีนี้ที่ 1584/1663 จุด
+/- ลุ้น FOMC Meeting 16-17 ก.ย. ไม่เร่งส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยฯ
รายงานจ้างงานนอกภาคเกษตร สค ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.42 แสนราย ต่ำสุดรอบ 8 เดือน ที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 แสนรายต่อเดือน (Vs คาด +2.25 แสนราย) โดยภาคเอกชน +134k ภาครัฐเพิ่มแค่ +8k อัตราว่างงาน ลดลงมาตามคาดที่ 6.1% จาก 6.2% เนื่องจากจำนวน Labor-Force Participation ลดลงเหลือ 62.8% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1978) โดยจำนวนผู้ถูกสำรวจลดลงไป 64k ทำให้โอกาสที่เฟดจะเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ Forward Guidance ต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยฯ มีโอกาสน้อยลง แต่ยังคงมีความเป็นไปได้อิง 2Q57F GDP ครั้งที่สาม คาดเติบโต 4.3%q-q และ 3Q57F GDP คาดเติบโต 3.2%q-q
- เกาหลีใต้เผยว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธพิสัยสั้น 3 ลูกเมื่อวันเสาร์
โดยขีปนาวุธดังกล่าวถูกปล่อยมาจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้กับเมืองท่าวอนซัง และได้พุ่งเป็นระยะทาง 210 กิโลเมตร ก่อนจะไปตกในทะเลญี่ปุ่น ด้านสำนักข่าวยอนฮัพรายงานว่าการยิงขีปนาวุธครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเหนือกำลังพัฒนาขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่มีพิสัยยิงไกลกว่าขีปนาวุธรุ่น เคเอ็น-02 ซึ่งมีพิสัย 170 กิโลเมตร
+/- ประชาชนชาวยูเครน ไม่เชื่อมั่นข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายกบฎ
รัฐบาลยูเครน และกองทัพฝ่ายกบฎแบ่งแยกดินแดนโปรรัสเซีย บรรลุข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกันแล้ววานนี้ (5 ก.ย.) สำหรับรายละเอียดของข้อตกลงฉบับนี้นั้นนอกจากจะทหารฝ่ายรัฐบาลยูเครน และทหารฝ่ายกบฎแบ่งแยกดินแดนจะยอมหยุดยิง และถอนอาวุธหนักออกมาแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างกัน และส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยชนไปยังภาคตะวันออกของยูเครนซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบด้วย แต่ประชาชนในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน รวมไปถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ฝ่ายกบฎยึดครองอยู่กลับยังไม่มั่นใจว่าทั้งสองฝ่ายจะปฏิบัติตามข้อตกลงได้จริง แถมยังไม่เชื่อด้วยว่าข้อตกลงหยุดยิงฉบับนี้จะนำไปสู่สันติภาพอย่างถาวร
ส่วนวันนี้จับตา อียูจะมีการออกมาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเย็น ต่อเนื่อง
มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้ พิจารณาจากการที่รัสเซียมีส่วนทำให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพในยูเครน โดยมาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการพิจารณาเรื่องการเข้าถึงตลาดทุน ยุทธปัจจัยทางทหาร และเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคง นอกจากนี้ ยังระบุถึงรายชื่อบุคคลกลุ่มใหม่ รวมถึงผู้นำคนใหม่ในเมืองดอนบาสส์ รัฐบาลไครเมีย และผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจในรัสเซีย แถลงการณ์ร่วมระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้ จะช่วยให้อียูมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น
ปัจจัยในประเทศ : กลุ่มรับเหมาฯ ท่องเที่ยว เด่น ขณะที่ PTT PTTEP กลุ่มพลังงานทางเลือก คาดได้ประโยชน์จากการปฎิรูปพลังงาน
- การแถลงนโยบายบริหารประเทศต่อสนช.จะใช้เวลา 1 วันในวันที่ 12 ก.ย. ส่วนวันที่ 9 ก.ย. เป็นเพียงการประชุมครม ในเรื่องทั่วๆ ไป เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ตลาดสนใจ คือ การคาดว่าจะมี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ทยอยประกาศออกมา หลังการแถลงนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการภาษี ฯลฯ
- ร่างงบประมาณปี 58 จะเข้าพิจารณาวาระ 2-3 วันที่ 17-18 ก.ย.นี้ และคาดว่าจะทันเริ่มใช้จ่ายตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป(+กลุ่มค้าปลีก CPALL กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง CK STEC SYNTEC)
- การยกเลิกกฎอัยการศึกและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว (+กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และสายการบิน) โอกาสสูงที่คสช.จะยกเลิกกฎอัยการศึกจังหวัดท่องเที่ยว 22 แห่ง เหมือนที่เคยยกเลิกเคอร์ฟิวส์ในช่วงที่ผ่านมา ในเร็วๆนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนธุรกิจท่องเที่ยวบูม โดยเฉพาะต้นเดือน ต.ค. ซึ่งเป็น Golden Week ของคนจีนเดินทางมาท่องเที่ยวไทย รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านการหักคชจ.โรงแรม เพื่อลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาทต่อปีสำหรับบุคคลธรรมดา และหักคชจ. สัมมนา 2 เท่าสำหรับนิติบุคคล ทั้งนี้สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวตปท.จะมีอิทธิพลสูงกว่านักลงทุนในประเทศ อิงรายได้ท่องเที่ยวปี 56 ทั้งหมด 1.94 ล้านล้านบาท (16.3% ของ GDP) แบ่งเป็นของตปท. 1.29 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยว 26.6 ล้านคน และในประเทศ 6.5 แสนล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยว 130 ล้านคน ส่วน 6 เดือนแรกปีนี้ มีรายได้ของตปท. 5.85 แสนลบ. -3.8%y-y แต่นักท่องเที่ยวลดลง 10.5%y-y เหลือ 13.6 ล้านคน (+กลุ่มโรงแรม กลุ่มสายการบิน ERW AAV )
- แผนการปฎิรูปพลังงาน คาดรัฐฯมีนโยบายเน้นการเปิดเสรี และเร่งจัดหาอุปทานให้เพียงพอให้มากที่สุดเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน เน้น Supply > Demand (เราคาดว่า PTT จะได้ประโยชน์ หากทางการทยอยลอยตัวราคาก๊าซ NGV และ LPG รวมถึง PTTEP จะได้ประโยชน์ หากมีการต่อใบอนุญาตสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตพลังงานทางเลือก โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าโซล่าร์เซล ก็มีโอกาสได้งานเพิ่ม จากนโยบายเร่งหาอุปทานให้เพียงพอของทางการ EGCO RATCH SPCG GUNKUL DEMCO)
- การแจกคูปองทีวีดิจิตอล : กสทช.คาดว่าจะเริ่มแจกคูปองผ่านไปรษณีย์ 15 ต.ค.นี้ให้กับประชาชน 11.45 ล้านครัวเรือนครอบคลุม 45 จังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่โครงข่ายระบบดิจิตอลระยะแรก โดยจะแจกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ และสามารถนำคูปองไปแลกได้ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.เป็นต้นไป ทั้งนี้ กสทช จะประกาศรายชื่อผู้ต้องการเข้าร่วมโครงการ ทุก 15 วัน รอบแรก 15 ก.ย. (ตลาดคาดว่าจะเป็นผลบวกต่อผู้ผลิตและจำหน่ายกล่อง STB อาทิ SAMART, MCOT, PCA, IRCP, CCET, TEAM, MLINK, AJD, FORTH และ ตัวแทนจำหน่าย CPALL, BIGC, HMPRO, MAKRO, ROBINS, GLOBAL) โดยที่ SAMART AJD คาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาด 20% บันทึกใน 4Q57F เราแนะนำ Trading Buy ช่วง 1-3 เดือนเท่านั้นเพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่รับรู้ไปบ้างแล้ว และเป็นเพียงครั้งเดียว ขณะที่มาร์จิ้นลดลงจากเดิมที่ 1000 บาท
ปัจจัยเทคนิค: ระยะเดือน (รูปซ้าย) คาดดัชนีฯจะขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1600/1660 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1550/1535จุด ส่วนระยะสัปดาห์ (รูปขวา) ดัชนีฯเคลื่อนไหวในกรอบ Up channel 1540-1620 จุด โดยอยู่ระหว่างการขึ้นทดสอบ 1590/1620 จุด (จุด Stop Profit 1552 จุด-SMA 25 วัน)
+ ตลาดหุ้นโลก : มีแรงซื้อคืนตลาดหุ้นยุโรป หลังความเสี่ยง Geopolitical Risks ลดลง
รายสัปดาห์ : ตลาดหุ้นยุโรป กลับมาเป็นผู้นำตลาดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา (DAX+2.92%w-w CAC40 +2.41%w-w) โดยมีข่าวดีจาก การคลายกังวลต่อ Geopolitical Risks หลังรัสเซียเจรจาหยุดยิงกับยูเครน และผลประชุมอีซีบี เหนือคาดหมาย โดยลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.10% และส่งสัญญาณการทำ QE ในการประชุมเดือนต.ค. ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นน้อยสุด (ยกเว้น เกาหลีใต้) เพิ่มขึ้น 0.06%w-w ถึง 0.23%w-w โดยเป็นการปรับฐานหลังจากทำสถิติสูงสุดใหม่ ขณะที่ตลาดวิตกต่อรายงานจ้างงานสหรัฐฯ และผลกำไรกลุ่มพลังงาน Apple ถ่วงตลาด
สำหรับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวดีเป็นอันดับ 2 ในกลุ่ม TIPs โดยตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น 1.45%w-w (Vs สัปดาห์ก่อน+0.3%w-w) ส่วนฟิลิปปินส์ +3.02%w-w (Vs -1.15%w-w) อินโดนีเซีย +0.71%w-w (Vs - 0.35%w-w)
+ Sector Performance : แรงซื้อต่างชาติหนุนหุ้นแบงก์ เพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ก่อน+4.19%w-w
รายสัปดาห์ : นักลงทุนต่างชาติกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิสูงสุด ระหว่าง 1-5 ก.ย. จำนวน 6.82 พันล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +130 ลบ) ขณะที่นักลงทุนกองทุนในประเทศ กลับมาเป็นผู้ขายสุทธิ -3.1 พันลบ. (Vs +1.48 พันลบ.) ส่งผลให้กลุ่มอุตฯ ที่ปรับขึ้นแรงสุด สัปดาห์ที่ผ่านมา เปลี่ยนมาเป็นกลุ่มธนาคารฯ +4.19% w-w (KBANK) รองลงมา คือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง +2.77%w-w (TPIPL) ปิโตรเคมี +2.74%w-w (IVL) ส่วนกลุ่มที่แย่สุดคือ กลุ่ม Media -2.4%w-w (BEC) อสังหาฯ -1.32%w-w (QH CPN SIRI)
-ตลาดโภคภัณฑ์ ลดลง ยกเว้น ค่าระวางเรือ ยังคงพุ่งต่อเนื่อง จากวัฎจักรขาขึ้นตามฤดูกาล
ระยะสัปดาห์: สินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนใหญ่ปรับตัวดลลง w-w เนื่องจากการแข็งค่าอย่างมีนัยของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ เทียบกับตะกร้าสกุลหลัก ส่งผลลบต่อราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง -2.2%w-w ซึ่งเป็นการลดลง 3 ใน 4 สัปดาห์ล่าสุด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง -2.78%w-w ร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ในรอบ 7 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาทองคำ ร่วงลง -1.56%w-w (Vs +0.59% w-w) ขณะที่ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index เพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.7%w-w หลังจากปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Vs +5.42%w-w ในสัปดาห์ก่อนหน้า)
- ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : ดอลล์แข็งค่าเทียบยูโร เยน ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8
สกุล USD ยังคง Long สะสม ใกล้สถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับ การ SHORT สกุล EUR ใกล้กับระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนสกุลเยน Short สะสะสมสูงสุดรอบปี
- USD ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตะกร้าสกุลหลัก (DXYO) แข็งค่า จาก Non-Commercial accounts ยังคงเพิ่มการถือครองสกุล USD ต่อเนื่อง โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา Long เพิ่ม อีก +$10.3bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$1.9bn.) เป็นสะสม $43.2bn. สูงสุดนับตั้งแต่ มิ.ย. 56 โดยระดับ Peak สุดอยู่ที่เดือน มิย 55 ที่ $44.9bn. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคาดว่า ECB Meeting จะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม และเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง
- ส่วนสกุล EUR เพิ่ม Short สกุล EUR อีกประมาณ -$6.2bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$2.3bn.) เป็นสะสม Short $31.1bn. ซึ่งเป็นระดับช๊อตสูงสุดเป็นอันดับสอง ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -$33.3bn. เมื่อเดือน มิ.ย. 55
- ส่วนสกุลเยน JPY มีการเพิ่ม Short อีก- $2.5bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$1.5bn.) เป็นสะสม Short สูงถึง -$14.9bn. สูงสุดในรอบปีนี้

หุ้นเด่น: เก็งกำไร
UV เป้าหมายด้านพื้นฐาน - บาท
แนวรับ 10.70/10.50 แนวต้าน 11.80/12.00
- แนวโน้มราคาปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังได้ข่าวบวก จากการได้สิทธิในการบริหารพื้นที่กว่า 90 ไร่ หัวมุมถนนพระรามสี่ ตัดกับถนนวิทยุ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ระยะเวลา ในการให้เช่า 30 ปีต่อ 30 ปี
- UV ประกาศเตรียมที่จะพัฒนา "คอมเพล็กซ์"ต้นแบบ สำหรับคุณภาพชีวิต.ค.นเมืองครบวงจร ทั้ง ศูนย์วัฒนธรรม โรงแรม สำนักงาน ศูนย์การค้า ในฐานะแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ บนพื้นที่ 62 ไร่

PSL เป้าหมายด้านพื้นฐาน 32.00 บาท
แนวรับ 27.25/26.50 แนวต้าน 28.25/30.00
- ผลประกอบการของ PSL ฟื้นตัวเป็นกำไรปกติ 22 ล้านบาท ใน 2Q57 จากการเพิ่มขึ้นของค่าระวาง คาดกำไรสุทธิฟื้นตัวต่อเนื่องใน 2H57
- คาด BDI เพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 4Q57 เนื่องจากเข้าสู่ High Season ของการขนส่งสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ เราคาดว่า BDI เฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 1,366 จุด ขณะทีค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 1,097 จุด
- สัญญาเช่าระยะยาวสิ้นสุดปี 57 และ 58 ในปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 36% และ 14% ทำให้มีโอกาสทำสัญญาระยะยาวใหม่ที่มีอัตราค่าระวางเพิ่มขึ้น

JMART เป้าหมายด้านพื้นฐาน 18.30 บาท*
แนวรับ 14.80/14.20 แนวต้าน 15.70/16.00
- คาดครึ่งปีหลังกำไรจะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากจะมีการจำหน่าย iPhone6 ใน 4Q57 ที่บริษัทได้ทำสัญญาเป็นผู้จำหน่าย รวมถึงกำลังซื้อที่กลับมาตามเศรษฐกิจฟื้นตัว
- ธุรกิจในเมียนมาร์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอัตราการเข้าถืงโทรศัพท์มือถือในเมียนมาร์ยังต่ำเพียง 15% เทียบกับไทยที่ 130%
- มีแผนนำนำบริษัทลูกชื่อ JAS Asset ประกอบธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก เข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน 2Q58
* อิงราคาเป้าหมายทางด้านพื้นฐานจาก Bloomberg consensus/** IAA consensus

ประเด็นจับตา
1. +ประเด็นการเมือง: ลุ้นยกเลิกกฎอัยการศึกในบางพื้นที่
ประเด็นการเมือง (Update):
ดุสิตโพล 4-6 ก.ย. ระบุ ประชาชนหนุนยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัดก่อน
ผลสำรวจระบุว่า ประชาชน 50.23% จากสำรวจทั่วประเทศ 1,564 คน เห็นควรให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดก่อน เพราะควรพิจารณารายจังหวัดตามความเหมาะสม เนื่องจากสถานการณ์แต่ละจังหวัดแตกต่างกัน ส่วนประชาชนอีก 25.69% มองว่า ควรยกเลิกกฎอัย ก ร ศึกทุกจังหวัดเพราะบ้านเมืองจะได้เข้าสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจดีขึ้น นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่น และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) น่าจะสามารถควบคุมดูแลได้ ขณะที่ 24.08% มองว่า ไม่ควรยกเลิก เพราะการประกาศกฏอัยการศึก ทำให้รู้สึกปลอดภัย บ้านเมืองสงบสุข และอาจจะยังมีการต่อต้านในบางพื้นที่
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง ยกฟ้องกรณีกกต.ให้ใบเหลือง"สุขุมพันธุ์" ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งยกฟ้อง ม.ร.ว.
สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร(กทม.) ในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องต่อศาลฯ ขอให้มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ใหม่ หลังจาก กกต.ให้ใบเหลือง แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จากกรณีที่มีผู้สนับสนุนไปปราศรัยใส่ร้ายให้เข้าใจผิดใน คะแนนนิยมของผู้อื่น ในการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เมื่อปี 56
สนช. เตรียมนำข้อบังคับเข้าประชุม 11 ก.ย. เพิ่มหมวดสิ้นสมาชิกภาพ-ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งได้
ขณะนี้การยกร่างข้อบังคับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีทั้งหมด 17 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 221 ข้อ ส่วนใหญ่ยึดตามร่างข้อบังคับการประชุม สนช.ปี 2549 แต่มีเรื่องใหม่ 3 เรื่อง อาทิ การกำ หนดการสิ้นสมาชิกภาพ สนช. โดยสมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติเกิน 1 ใน 3 จำ นวนครั้งที่มีการแสดงตนทั้งหมดระยะเวลา 90 วันให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง ยกเว้นทำหนังสือขอลาประชุมต่อประธาน สนช.ฯลฯ

2. Fund Flow 28 ส.ค.- 3 ก.ย. Recommendation : แนะนำ Trading Buy KBANK SCB GUNKUL DEMCO PSL TTA IVL SYNTEC CK PS TUF QH
- Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ส.ค. - 3 ก.ย.) ตลาดหุ้นโลกยังคงมีโม เมนตัมบวกสัปดาห์ที่ผ่านมา แรงซื้อกองทุนหุ้นโลกยังคงมีต่อเนื่อง ด้วยปริมาณสูงขึ้นเป็น +$6.2bn. (Vs +$5bn.+$17.9bn.สูงสุดตั้งแต่ ต.ค. 56) ส่วนตลาดพันธบัตร มีแรงซื้อเหลือ +$2.4bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$5.2bn. +$9.9bn.สูงสุดรายสัปดาห์นับตั้งแต่ ก.พ. 57) ทั้งนี้ 3Q QTD (9 สัปดาห์) พบว่า มีเม็ดเงินไหลเข้า Equities Funds +$33bn. และ Bond Funds +$29bn. (สวนทางกับ 1-2Q57 ที่ส่วนใหญ่ไหลเข้า Bond Funds)
กองทุน DM Equity Funds มีแรงซื้อเพิ่มเป็น +$5.5bn. (Vs +$2.8bn. +$14.8 bn.ในสัปดาห์ก่อน) และไหลเข้า EM Equity Funds เหลือ +$0.7bn. (Vs +$2.2.bn. +$3bn.) โดยแรงซื้อใน US equity Funds อยู่ที่ +$4.5bn. (Vs +$6.1bn. +$9.9bn.) และ EU equity Funds กลับมาถูกขายเป็นสัปดาห์ที่ 5 ในรอบ 6 สัปดาห์
-$1.2bn. (Vs +$1.7bn. -$0.4bn.)
เงินทุนไหลเข้ากองทุน GEM ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 13 ด้วยจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น +$1.2bn.(Vs +$736mn. +$1.5bn.)และไหลเข้าต่อเนื่องในตลาดหุ้นเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่นอีก +$0.6bn. (Vs +$1.2bn. +$2.4bn.)
- 6 ชาติเอเชียฯ กลับมาซื้อต่อ เป้นสัปดาห์ที่ 16 ในรอบ 17 สัปดาห์ พบว่า มีแรงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น +$2.0bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$1.8bn. และซื้อต่อเนื่อง 17 สัปดาห์ สะสมรวม +$25.8bn.)
+แรงซื้อส่วนใหญ่ยังคงไหลเข้าเอเชียเหนือ คาดได้ประโยชน์สูงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นำโดย ไต้หวัน +$799mn. (Vs +$1.2bn. สูงสุด 21 สัปดาห์) ส่งผล YTD +$13.5bn. สูงสุดในภูมิภาครองลงมา คือ เกาหลีใต้ +$613mn. (Vs +$191mn.) อินเดีย +$370mn. (Vs +$352mn.)
+กลุ่ม TIPs กลับมามีเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นมาก นำโดย ฟิลิปปินส์ +$151mn.(Vs +$40mn.) แต่มีแรงขายเล็กน้อยในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย-$15mn. (Vs +$14mn.) โดยขายเป็นสัปดาห์ที่ 3 ในรอบ 5 สัปดาห์
ตลาดหุ้นไทย +$128mn.(Vs 33.2mn.) สะสม 9 สัปดาห์รวม +$414.1mn โดยยังได้แรงหนุนจากเงินทุนที่ไหลเข้ากองทุน GEM และกองทุน AxJ Regional อย่างต่อเนื่อง(สัดส่วนลงทุนในไทยของกองทุน GEM และ AxJ Regional ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% และ 3.7% ตามลำดับ)
ส่วนเม็ดเงินลงทุนโดยตรง พบว่า มีแรงซื้อกองทุน Asia Ex-Japan เพิ่มขึ้น +$728mn.(Vs +$823mn.) ขณะที่มีแรงขาย (Redemption) สูงสุดใน China $620mn. สูงสุดตั้งแต่ มี.ค. หลังจากซื้อต่อเนื่อง 5 สัปดาห์ ส่วนกองทุนไทยมีแรงขายอีก -$16.8mn. (ขายเป็นสัปดาห์ที่ 21 ใน 22 สัปดาห์หลังสุดรวม - $405.7mn.)

3. ECB ออกมาตรการ QE กระตุ้นเศรษฐกิจ
ในการประชุมวานนี้อีซีบีสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด ด้วยการออกมาตรการ 2 ส่วน คือ
1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.1% ในทุกดอกเบี้ยส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (main refinancing operations) ลงสู่ระดับ 0.05% พร้อมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (marginal lending facility) และเงินฝาก (deposit facility) ลงสู่ ระดับ 0.30% และ -0.20% ตามลำดับ
2. ประกาศมาตรการซื้อสินทรัพย์ โดยจะซื้อสองประเภทคือ 1) ซื้อสินทรัพย์ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ABS) โดยหลักทรัพย์ค้ำประกันต้องเป็นสินทรัพย์ภาคเอกชนที่ไม่ใช่ภาคการเงิน ภายใต้โครงการชื่อ ABS purchase programme (ABSPP) และ 2) ซื้อ covered bond สกุลเงินยูโร ที่ออกโดย Microfinance Institutions (MFIs) ที่มีถิ่นที่ตั้งใน euro area ภายใต้โครงการชื่อ covered bond purchase programme (CBPP3)
ซึ่งโครงการซื้อสินทรัพย์นี้ จะเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคมปีนี้ โดยจะประกาศรายละเอียดให้ทราบหลังการประชุมอีซีบีในวันที่ 2 ต.ค. โดยอีซีบีได้กล่าวว่า เมื่อรวมกับมาตรการ LTRO ที่ประกาศก่อนหน้านี้ จะทำให้ผลกระทบต่อ balance sheet ค่อนข้างมาก (sizable impact on balance sheet)
เหตุผลที่ต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากวิตก ยุโรป กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเงินเฟ้อ 4 เดือนที่ผ่านมาลดลงต่อเนื่องจนลงมาเหลือ 0.2%q-q ใน ส.ค.และ 2Q57 GDP เศรษฐกิจไม่เติบโตจากเฉลี่ยเติบโต 4 ไตรมาสติดต่อกัน ขณะที่ อัตราว่างงาน ลดลงเพียงเล็กน้อยเหลือ 11.5% จาก 12% สินเชื่อแบงก์หดตัว -5%y-y สะท้อนความเสี่ยงสูงที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ดังนั้น ECB จึงต้องตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่สถิติต่ำสุดใหม่ที่ 0.05 % โดยมีจุดประสงค์เพื่อหนุนอัตราเงินเฟ้อให้พุ่งขึ้นจากระดับต่ำ และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซนที่อยู่ในภาวะชะงักงัน จากเดิมคาดว่า EU GDP จะเติบโตปี 14-16 1% 1.5% 1.5 ตามลำดับ และเงินเฟ้อปี 14-15 เติบโต 0.6% 1.1% ตามลำดับ
ผลกระทบ : ระยะ 3 เดือน มาตรการ TLTRO การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่สถาบันการเงิน ที่ประกาศไว้ตั้งแต่ผลประชุมอีซีบีครั้งก่อนหน้า จะเริ่มต้นใช้ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะส่งผลให้ Balance Sheet ของ ECB ขยายตัวได้ หลังจากเป็นเพียงธนาคารกลางขนาดใหญ่แห่งเดียวที่มีขนาดลดลง หลังสิ้นสุด TLTRO ในปี 2011-2012 อย่างไรก็ดี การส่งสัญญาณการเตรียมทำ QE ในการประชุมเดือน ต.ค. ของประธานดรากี้ ส่งผลให้โอกาสที่ขนาด Balance Sheet อาจขยายเพิ่ม 1 ล้านล้านยูโร มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน
ระยะสั้น
ทิศทางค่าเงินยูโร มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเทียบสกุลหลัก โดยหลังผลประชุมอีซีบี ที่ส่งสัญญาณการทำ QE ส่งผลให้ ยูโร/ดอลลาร์ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีที่ 1.2918 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี จาก 1.3150 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ (MTD ร่วงลงแล้ว 1.42% และ 3QTD ร่วงลงแล้ว 5.46%
ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเกิดใหม่ มีโอกาสได้ผลบวกจาก Euro Carry Trade
ยิลด์ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเทศยุโรป มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากแรงซื้อพันธบัตร ABS ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จาก Liquidity Driven ที่อาจเกิดจากการทำ Euro Carry Trade ซึ่งจะส่งผลบวกต่อตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทย อาจมีเม็ดเงินจากกองทุนยุโรปไหลเข้ามาในไทยเพิ่ม จากอดีตมีเพียงเม็ดเงินจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไหลเข้ามา
เราคาดว่า โอกาสที่จะเกิด Liquidity driven หนุนดัชนีตลาดฯไปซื้อขายที่ระดับ PERสูงกว่าคาดการณ์เดิม 15.5 เท่าในปี 57 มีโอกาสเกิดขึ้นสูง อิงสัญญาณการทำ QE ของเฟด ในอดีต จะพบว่าสภาพคล่องส่วนเกินโลก จะไหลเข้ามาในสินทรัพย์ทางการเงิน Financial Asset และหนุนตลาดหุ้นโลก รวมถึงตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับขึ้นในทิศทางเดียวกัน
ภาคส่งออกไทย : เศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคต จะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคส่งออกของไทยโดย EU มีสัดส่วนประมาณ 9.4% ของการส่งออกรวม
ตลาดหุ้นไทย : เราคาดว่า โอกาสสูงขึ้น ที่ดัชนีฯจะปรับขึ้นในช่วงปลายปี 57 ดีกว่าคาดการณ์ของเราที่ 1537/1556 จุด เป็น 1584/1663 จุดอิงระดับ PER 16-16.8 14 EPS Growth ปีนี้ที่ 10.3% โดยมี Upside Risks จาก Liquidity Driven จากการทำ QE ของ ECB/BOJ ในอนาคต และเม็ดเงินจาก LTF/RMF ที่ Morning Star คาดว่าจะมีปริมาณอย่างน้อย 2 หมื่นล้านบาทไหลเข้ามาในช่วง 4Q57F ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ผ่านจุดต่ำสุดใน 1Q57 และเติบโตสูงต่อเนื่องอีก 4 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย ขณะที่เป้าหมายปี 58F ยังคงไว้ที่ระดับ 1686 จุด (ดูภาพ) เราคงคำแนะนำ หุ้นกลุ่ม Domestic Play แบงก์ ค้าปลีก บ้าน ตามวัฏจักรเศรษฐกิจฟื้นตัว และ Cyclical Play เน้นกลุ่มปิโตรเคมี ขนส่งทางเรือ หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB QH CPALL IVL PSL PTT ฯลฯ

-4) แรงขาย Trigger Funds :
คาดว่า หากดัชนีฯแตะระดับ 1600 จุด จะมี 5 กองทริกเกอร์ฟันด์ มูลค่า 1.63 พันลบ. ถึงเป้าหมาย ได้แก่ TISEQT15 มูลค่า 550 ลบ. UOBT14 490 ลบ. UOBT17 330 ลบ. ONE-SPOT5/2 250 ลบ KFEQ3P3-3 6 ลบ. ขายเฉพาะ 3% แรก

+/5)-รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตาตัวเลขการค้าเดือน ก.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน ส.ค. ของจีน และสุนทรพจน์ของประธานอีซีบี วันพฤหัสฯ
วันจันทร์ที่ 8 ก.ย. : จีนรายงานการค้าระหว่างประเทศ ก.ค. คาดส่งออก +10.1%y-y นำเข้า 3%y-y เกินดุลการค้า $41.3bn.(Vs มิ.ย. ส่งออก 14.5% นำเข้า -1.6% เกินดุล $47.3bn.) Japan รายงาน 2Q57 GDP คาด -7%q-q saar(Vs -6.1%) และดุลบัญชีเดินสะพัด ก.ค. คาดเกินดุล 445.6 พันล้านเยน (Vs -399.1 พันล้านเยน) USA: Consumer Credits ก.ค. คาด $17.3bn. (Vs $17.255bn.)
อังคารที่ 9 ก.ย. : Japan รายงานผลประชุม BOJ ที่ผ่านมา UK Industrial Production ก.ค. +0.3%m-m saar Taiwan: ส่งออก ส.ค. คาด +4.5%y-y (Vs 5.8%)
พุธ ที่ 10 ก.ย. : USA: Wholesale Inventories ก.ค. คาด +0.5%m-m (Vs 0.3%) Japan Machine Orders ก.ค. คาด +4.5%m-m(Vs 8.8%) ฟิลิปปินส์ ส่งออก ก.ค. คาด +18.9%y-y (Vs 21.3%)
พฤหัสฯที่ 11ก.ย. : ECB ประธานอีซีบี กล่าวสุนทรพจน์ที่มิลาน China: ดัชนีราคาผู้บริโภค ส.ค. คาด 2.2%y-y (Vs 2.3%) PPI ส.ค. คาด -1.1%y-y (Vs -0.9%) ผลประชุมธ.กลางอินโดนีเซีย คาดคงดอกเบี้ย 7.5% ฟิลิปปินส์ คาดขึ้นดอกเบี้ยเป็น 4% (จาก 3.75%) Japan: ดัชนีวัดแนวโน้มทุกอุตฯ 3Q57 คาดดีขึ้นเป็น 12 (VS -14.6) และดัชนีวัดอุตฯขนาดใหญ่ 3Q57 คาดดีขึ้นเป็น 10 (Vs -13.9)
ศุกร์ที่ 12 ก.ย. : USA: ยอดค้าปลีก ส.ค. คาด +0.3%m-m (Vs 0%) Consumer sentiment ก.ย. คาด 83 (Vs 82.5) Business Inventories ก.ย. คาด +0.5%m-m (Vs 0.4%) EU: EU group meeting ที่มิลาน Industrial Production ก.ค. คาด 0.4%m-m sa (Vs -0.3%) เสาร์ที่ 13 ก.ย. -China ผลผลิตภาคอุตฯ สค คาด 8.8%y-y (Vs 9%) EU: การประชุมรมว. คลังอียู ที่มิลาน

Economic Calendar
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
- ผลสำรวจชี้ตำแหน่งงานว่างในอังกฤษเพิ่มสูงสุดรอบกว่า 16 ปี ใน ส.ค. ผลสำรวจพบว่าจำนวนตำแหน่งงานว่างของบริษัทอังกฤษเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุด ในรอบกว่า 16 ปีในเดือนที่แล้ว แต่จำนวนการจ้างงานได้ชะลอตัวลง ซึ่งแสดงว่าบริษัทต่างๆ กำลังประสบปัญหาในการว่าจ้างบุคลากรที่เหมาะสม หรือม


ขึ้นต่อ รับข่าวดี ยูเครน-ดอกเบี้ยเฟด
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ปรับขึ้นเล็กน้อย รับข่าวดียูเครน และคาดเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยฯ เร็วๆ นี้ ส่วนวันนี้จับตา รอลุ้นต้วเลขส่งออก-นำเข้าจีน และบางประเทศปิดทำการเนื่องในเทศกาลไหว้พระจันทร์ (ฮ่องกง ปิดพรุ่งนี้)
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ จีน รายงานการค้าระหว่างประเทศ ก.ค. คาดส่งออก +10.1%y-y นำเข้า 3%y-y เกินดุลการค้า $41.3bn.(Vs มิ.ย. ส่งออก 14.5% นำเข้า -1.6% เกินดุล $47.3bn.) Japan รายงาน 2Q57 GDP คาด -7%q-q saar annually (Vs -6.1%) และดุลบัญชีเดินสะพัด ก.ค. คาดเกินดุล 445.6
พันล้านเยน (Vs -399.1 พันล้านเยน) USA: Consumer Credits ก.ค. คาด $17.3bn. (Vs $17.255bn)
+/- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติซื้อเพิ่ม +1.57 พันลบ. (ซื้อสะสม 5 วันรวม +6.82 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่ออีก -414 ลบ. (ขายสะสม 4 วันรวม -3.96 พันลบ.)
+ การเมือง รัฐบาลแถลงนโยบายฯ ต่อสนช. 12 ก.ย. ลุ้นอาจมีข่าวดียกเลิกกฎอัยการศึกบางจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
คาดดัชนีฯ วันนี้ sideway up แนวรับ 1577/1570 จุด แนวต้าน 1593/1600 จุด ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวก คลายกังวลสถานการณ์ยูเครน และคาดเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังจ้างงาน ส.ค. ต่ำคาดมาก แนะเลือกเก็งกำไรรายตัวโดยมีจุด Stop Profit หากหลุด 1552 จุด (SMA 25 วัน)
หุ้นเด่นเก็งกำไร ERW AAV TTA RCL SVI SAMART UV JMART MJD ANAN EMC IVL TNDT SUPER

หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 10.0%) DIMET DNA EMC ABC EVER THANA SUPER หุ้นที่ลงกว่า 5% ได้แก่ CSP CMO LDC CRANE
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ KBANK+271 PTTEP+217 BBL +213 KTB+195 SCC+149 TRUE+130 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ DTAC -61 LPN-58
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ TTA 34 TRUE 30 IVL 29

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!