WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน

           เงินเฟ้อต่ำตามราคาน้ำมันโลก หนุนดอกเบี้ยต่ำอีกระยะ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดที่สำคัญในขณะนี้  จึงยังเลือกหุ้นได้ประโยชน์น้ำมันขาลง (RCL และ AAV) หรือที่จะมีการทำ Window Dressing (PTT, ADVANC, INTUCH) โดยยังเลือก RCL(FV@B11.8) และ AAV(FV@B6)) เป็น Top picks 

                    

เงินเฟ้อต่ำ หนุน FED ยืดการใช้ดอกเบี้ยต่ำถึง 2H58

             ราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเวลานาน และลดลงกว่า 50% นับจากต้นปี 2557 ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินเฟ้อตกต่ำทั่วโลก แต่ถือเป็นการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนประการหนึ่ง และน่าจะเป็นการสนับสนุนให้ธนาคารกลางโลกคงดอกเบี้ยนโยบาย หรือยืดระยะเวลาการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลกในระยะสั้นๆ โดยเฉพาะกรณีของสหรัฐ คาดว่ามีโอกาสที่จะยืดการใช้ดอกเบี้ยต่ำไปอีกระยะหนึ่ง หรือจนถึงสิ้นปี 2558  

             ทั้งนี้การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุดเดือน ธ.ค. พบว่ายังสะท้อนถึงการฟื้นตัวเศรษฐกิจต่อเนื่อง เริ่มจากฝั่งผู้บริโภค (สัดส่วนราว 70% ของ GDP) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้น (รอยเตอร์/ม.มิชิแกน) เพิ่มขึ้น 13.7%YoY มาอยู่ที่ระดับ 93.8 จุด ซึ่งถือว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี และด้านผู้ผลิต พบว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI ซึ่งเป็นตัววัดเงินเฟ้อของผู้ผลิตสินค้าและบริการ) ในเดือน พ.ย. ติดลบ 0.2%MoM หรือ 1.4%YoY ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งเป็นการลดลงตามราคาน้ำมันโลกที่ลดลงดังกล่าวข้างต้น โดยรวมทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. อยู่ที่ 1.7% ยังต่ำกว่าเป้าหมายเบื้องต้นที่ 2%

            ล่าสุด นักเศรษฐศาสตร์โลกบางท่านได้แก่ นาย Paul Krugman (นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล), นาย Stanley Fischer (รองประธาน Fed) และ นาย Dudley (ประธาน Fed นิวยอร์ก) แสดงความเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ควรจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปจากเดิมที่คาดไว้ในช่วง 2H58 เนื่องจากเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ขณะที่ยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนของการประชุม Fed ในวันที่ 16-17 ธ.ค.  

กำไรตลาดหุ้นมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมัน กดดันต่างชาติขายหนัก 

           วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติ ยังคงขายสุทธิในตลาดภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่มูลค่าซื้อขายกลับลดลง 48% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 488 ล้านเหรียญฯ  โดยยังคงขายสุทธิสูงสุด  ประเทศเกาหลีใต้ และขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ราว 224 ล้านเหรียญฯ  แต่กลับลดลง 66% จากวันก่อนหน้า ตามมาด้วยไต้หวัน ขายสุทธิเป็นวันที่ 6 และมูลค่าขายยังคงเพิ่มขึ้น 37% อยู่ที่ 158 ล้านเหรียญฯ ส่วนไทยขายสุทธิเป็นวันที่ 3 แต่ลดลงเล็กน้อย 13% เหลือราว 89 ล้านเหรียญฯ (2.9 พันล้านบาท) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 21 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากวันก่อนหน้า สวนทางกับอินโดนีเซียที่พลิกมาซื้อสุทธิราว 3 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิติดต่อกัน 7 วันก่อนหน้า)

  คาดราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยที่กดดันความสามารถในการทำกำไรของบริษัทและผลิตสำรวจปิโตรเลี่ยม ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด เช่น ในตลาดหุ้นไทย เชื่อว่ามีโอกาสปรับลด EPS ตลาดปี 2558 ลงจากเดิม 2-3% ซึ่งถือปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก และกดดันนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมาต่อเนื่องถึง 4 วันหลังสุด รวมถึงในประเทศไทยที่ถูกขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน เฉลี่ยถึงกว่าวันละ 3.2 พันล้านบาท และยังเชื่อว่าในระยะสั้น นักลงทุนกลุ่มนี้จะยังคงขายสุทธิเพื่อลดความเสี่ยงในตลาดหุ้นก่อนหยุดยาวช่วงสิ้นปี ขณะนักลงทุนอีกกลุ่มที่มีแรงขายต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทยคือพอร์ตโบรกเกอร์ โดยขายสุทธิถึง 6 จาก 7 วันหลังสุด รวม 6.6 พันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม จากยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 57 ที่ยังสูงถึง 1.0 หมื่นล้านบาท จึงเชื่อว่ามีโอกาสที่นักลงทุนกลุ่มนี้จะยังขายสุทธิออกมาเพิ่มเติมอีก

เลือกหุ้นได้ประโยชน้ำมันขาลง/Window Dressing

           แม้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทย ถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ไหลลงอย่างต่อเนื่อง และหลุด 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือ ลดลงแล้วกว่า 51% ในช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการปิโตรเลียมขั้นต้น (PTT, PTTEP) โรงกลั่น (TOP, BCP, PTTGC) ทำให้นักวิเคราะห์ ASP เตรียมปรับลดราคาน้ำมันดิบดูไบระยะยาวตั้งแต่ปี 2558 ลงเหลือ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากเดิม 90 เหรียญฯ (อาจจะต้องมีการบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าของราคาน้ำมัน โดยคาดว่ากำไรน่าจะหายไปราว 3 หมื่นล้านบาท) แต่สถานการณ์ดังกล่าว ยังมีกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ คือ กลุ่มขนส่งทางอากาศ (AAV, NOK, THAI) ที่นักวิเคราะห์ ASP เพิ่งประมาณกำไรปี 2558 ขึ้นจากเดิมราว 2.352 พันล้านบาท และกลุ่มเดินเรือคอนเทนเนอร์ (RCL) เนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่ลดลง นอกจากนี้ ในช่วงเวลาสิ้นปี เข้าสู่ High Season ของฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อหุ้นธุรกิจอาหาร-โรงแรม (MINT, ERW, CENTEL) รวมทั้งสนามบิน (AOT) โดยเฉพาะ ERW ที่เป็นหุ้น Turnaround พลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในงวด 4Q57

  ยิ่งไปกว่านั้น การที่ SET ปรับฐานลงมาลึกกว่า 80 จุด น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับได้ในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้เป็นต้นไป เหตุผลสนับสนุนมาจากการทำ window dressing ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ 10 ปีย้อนหลัง พบว่า ในช่วง เดือน ธ.ค. SET มีการปรับขึ้นถึง 8 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 2.6% ธ.ค. โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นปี คาดว่าเป็นผลมาจากกองทุนประหยัดภาษีที่จะมีแรงซื้อเข้ามาหนาแน่นในช่วงโค้งสุดท้ายปี ซึ่งนักลงทุนสถาบันฯ มักเป็นผู้ซื้อสุทธิในไตรมาส 4 โดยคาดว่าช่วงสิ้นปีนี้จะมียอดซื้อ LTF เข้ามาราว 2 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นที่มีความน่าจะเป็นกว่า 80% ที่ผลตอบแทนเป็นบวกสูงในเดือน ธ.ค. ได้แก่ BEC, SCCC, HANA และ PTTEP ส่วน MINT และ BECL มีความน่าจะเป็นราว 70%

          นอกจากนี้ ยังมาจากความคาดหวังในเรื่องเงินปันผล สำหรับนักลงทุนที่ต้องการถือหุ้นระยะยาวข้ามปี โดยเน้นหุ้นปันผลสูง ความผันผวนต่ำ โดยหุ้นเด่นที่เลือกประกอบด้วย INTUCH, BTS, TTW, STPI และ SPALI

  กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้เลือกหุ้นเป็นรายตัว เน้นหุ้น P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ

   ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง : กลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการให้บริการ ที่ชัดเจนที่สุดคือกลุ่มขนส่งทางอากาศ และ ขนทางทางเรือ โดยในส่วนของกลุ่มขนส่งทางอากาศเด่นคือ  AAV (FV@B 6)  ขณะที่กลุ่มขนส่งทางเรือเลือก RCL (FV@B 11.80) จึงเลือกเป็น Top Picks

   หุ้นให้ผลตอบแทนชนะตลาดในเดือนธันวาคม :  ตามสถิติย้อนหลัง 10 ปีพบว่า มีโอกาสสูง ที่จะมีชุดหนึ่งที่จะให้ผลตอบแทนชนะตลาด จากผลของการทำ Window Dressing โดยในรอบนี้หุ้นเด่นที่แนะนำคือ  HANA (FV@B 48) และ BEC (FV@B 57)

   หุ้นปันผลเด่น : เกณฑ์ในการคัดเลือก จะให้น้ำหนักกับหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูงกว่า 4% ในงวดปี 2558 และมีราคาหุ้นต่ำกว่า Fair Value โดยหุ้นเด่นที่เลือกประกอบด้วย INTUCH (FV@B 113) STPI (FV@B 30.30) และ SPALI (FV@B 31.96

  ติดตามอ่านรายละเอียดในรายงานฉบับเต็มทั้ง 2 ชุด ใน  Investment Strategies และ Quantitative Analysis Report ในวันที่ 12 ธันวาคม ที่ผ่านมา

ภรณี ทองเย็น, CISA  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์

มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!