WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
  (-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -31.75, NASDAQ +20.20, S&P +0.12, FTSE -34.31, CAC -53.28 และ DAX -59.95 หลังมติเฟด ลดวงเงิน QE จาก 3.5 หมื่นล้านUSD เป็น 2.5 หมื่นล้านUSD/เดือน ในการประชุมครั้งล่าสุด และคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับ 0 - 0.25% พร้อมระบุจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปอีก แม้วงเงิน QE จะหมดลง และยังไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ว่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผย GDP – 2Q/57 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ถึง 4% อย่างไรก็ตามอาจได้รับปัจจัยกดดันจากตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน – กค. เพิ่มขึ้น 218,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 238,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนมิย. ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่ง

 .....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลหลังสหรัฐฯ เข้าร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในการใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่อรัสเซีย และผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทเอกชน
  …..ราคาปิดน้ำมันดิบ (Nymex) ส่งมอบ กย. -US$0.70 อยู่ที่ US$100.27 ต่อบาร์เรล จากสต็อกน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้น 0.36 ล้านบาร์เรล แม้จะยังไม่มาก แต่ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ชะลอตัว? ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบ ลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล (มากกว่าที่คาดว่าละลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล) อยู่ที่ 367.4 ล้านบาร์เรล

  …..ทางด้านราคาทองคำ ส่งมอบเดือน สค. -US$3.6 อยู่ที่ US$1,296.9 ต่อออนซ์ จากตัวเลข GDP – 2Q/57 ของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ทำให้มีการขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  (-/?) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,672 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปี -26,173 ล้านบาท (สิ้นปี ’56 มียอดขายสุทธิสะสม 193,911 ลบ)

ทิศทางตลาด
  ทิศทางตลาด : ยังมีความผันผวน? คาดอยู่ในกรอบจำกัด โดยที่ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ เข้ามา ส่วนใหญ่ยังเป็นประเด็นเดิมทั้งในประเทศ ที่คาดยังได้รับปัจจัยกดดันจาก Fund Flow หลังล่าสุดต่างชาติขายสุทธิเกือบ 1,700 ล้านบาท โดยยังแนะติดตามค่าเงินบาท ที่คาดเป็นสัญญาณหนึ่งแสดง Flow เข้า (เงินบาทแข็งค่า) / ออก (เงินบาทอ่อนค่า) อย่างไรก็ตามคาดในระยะสั้นยังได้รับปัจจัยหนุนจากการเก็งกำไรผลประกอบการ – 2Q/57 และเงินปันผล - กลาง สค.
  .....ขณะที่แนะติดตามประเด็นในประเทศที่คาดเป็นบวกในระยะกลาง เช่น (1) การตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ - สค. รวมถึงการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี - กย. การตั้งสภาปฏิรูป - ตค. และการเลือกตั้ง -ประมาณตค. ’58 ซึ่งเป็นไปกรอบระยะเวลาที่ คสช. กำหนดไว้ (2) ความคืบหน้างบประมาณปี’58 วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท ที่เตรียมเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 6/8/57 โดยในจำนวนนี้ ประมาณ 450,000 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่ส่วนใหญ่เน้นการจัดการระบบน้ำและงานถนน (3) ความคืบหน้าในโครงการที่พร้อมเปิดประมูล หลังมีความชัดเจนแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางที่ผ่าน EIA ไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และ (4) ประเด็นการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ที่อาจจะส่งผลกระทบหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น และปิโตรเคมี
  …..ส่วนทางด้านประเด็นต่างประเทศ คาดเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด โดยเฉพาะการปรับลดวงเงิน QE ลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังวงเงิน QE หมดลงในเดือนตุลาคม นี้

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี 0.09 อยู่ที่ 2.55% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.05 อยู่ที่ 13.33
หุ้นแนะนำ : ANAN

ประเด็นที่ต้องติดตาม (31 กค. – 1 สค.’57)
  31/7/57 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - กค.
  1/8/57 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) รายได้ส่วนบุคคล - มิย. (2) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร - กค. (3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต - กค. (4) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้าย - กค. (5) ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง - มิย. (6) ดัชนีภาคการผลิต - ก.ค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!