WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ทดสอบแนวรับ
Highlight
     ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง 0.2-1.2% หลังตลาดหุ้นโลก สหรัฐฯ ยุโรป วานนี้ เผชิญแรงขายทำกำไร จากห่วงเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็ว การผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า ฯลฯ ส่วนรายงานเช้านี้ PMI Mfg ก.ค. จีน ดีสุดรอบ 27 เดือนที่ 51.7 (Vs 51-51.3) ช่วยหนุนตลาดเอเชียเช้านี้
     ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA การจ้างงานนอกภาคเกษตร ก.ค. คาด +230k(Vs +288k) อัตราว่างงาน คงที่ที่ 6.1% ISM Mfg ก.ค. คาด 55.5 (Vs 55.3) U of M survey ก.ค. คาด 82.2 (Vs 81.3)
- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติฃขายสุทธิ -1.09 พันลบ. (ขายสะสม 3 วัน รวม -4.55 พันลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่อ -750 ลบ. (ขายสะสม 5 วันรวม -7.67 พันลบ.)
+/- การเมือง โปรดเกล้าแต่งตั้ง สนช. 200 คน แล้ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นทหาร และนัดประชุมสภาครั้งแรก 7 ส.ค. นี้ ส่งผลบวกต่อการเร่งจ่ายงบปี 58 ได้เร็วตามคาด
      คาดดัชนีฯ ลดลง ทดสอบแนวรับ 1488/1480 จุด อิงโมเมนตั้มลบจากตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด หาก PMI และการจ้างงานสหรัฐฯ ดีกว่าคาด ส่วนในประเทศ การเมืองเดินหน้าตามโรดแมพ คสช. ขั้นตอนต่อไปจะมีการสรรหานายกรัฐมนตรี และครม.
กลยุทธ์: ใครที่ขายไปตามคำแนะนำ พิจารณาซื้อคืนบริเวณ 1480 จุด ประมาณ 1/3 ของพอร์ต หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL

หุ้นในกระแส:
      หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 3.0%) ได้แก่ RPC HANA AMC PACE PSL SOLAR AJD APCO BEC หุ้นที่ลงกว่า 5.5% ได้แก่ EFORL WIN SUTHA SVOA PF CKP CK TPOLY
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+377 INTUCH+178 KBANK+105 CPF+98 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ TRUE-459 SCC-285 JAS-108
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ TRUE 178 KBANK 114 SCB 83

Market Outlook
     คาดดัชนีฯ วันนี้ ลดลง ทดสอบแนวรับ 1488/1480 จุด อิงโมเมนตัมลบจากตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด หาก PMI และการจ้างงานสหรัฐฯ คืนนี้ ออกมาดีกว่าคาด แนะนำซื้อคืน 1/3 ของพอร์ต บริเวณ 1480 จุด
      คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัว ทดสอบแนวรับ 1488/1480 จุด แรงกดดันมาจากการขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น ในตลาดหุ้นโลก หลังผลประกอบการที่ประกาศออกมาวานนี้ของฝั่งยุโรป และสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาดและการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า (Technical Default) ขณะที่การกังวลเรื่องเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จะมีสูงขึ้น หาก ตัวเลข ISM Mfg ภาคการผลิต และตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ก.ค. ออกมาดีกว่าคาดการณ์ ส่วนปัจจัยในประเทศ วานนี้ การเมืองมีพัฒนาการทางด้านบวก จากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง สนช. 200 คน แม้เกินครึ่งหนึ่งเป็นทหาร (ซึ่งเป็นไปตามคาด) ขั้นตอนต่อไปจะมีการสรรหานายกรัฐมนตรี และครม. ส่วนรายงานเศรษฐกิจไทยวานนี้ ธปท. ชี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ยังอ่อนแอ แต่จะไม่เกิด technical recession แนะนำ ซื้อคืนบริเวณ 1480 จุด ประมาณ 1/3 ของพอร์ต ที่เคยขายไป สำหรับหุ้น top pick เน้น Domestic play KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play PTT IVL IRPC PSL
      ปัจจัยในประเทศ ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ที่ประกาศโดยธปท. วานนี้ยังชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจในไตรมาส 2/57 โดยการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวในเดือนมิ.ย. แต่เริ่มเห็นการฟื้นตัวของการส่งออก อย่างไรก็ดี ธปท. คาดว่า ไตรมาสสองจะเติบโตได้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และจะไม่เกิด technical recession (หลังไตรมาสแรกหดตัว 2.1%) ขณะที่คาดเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัว โดย KTZ ประเมินเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังขยายตัว 3.5% YoY
     ด้านการเมือง วานนี้ มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสนช. แล้ว 200 คน ซึ่งเกินครึ่งหนึ่งเป็นทหารและอดีตทหาร (เป็นไปตามคาด) โดยจะนัดประชุมสภานัดแรกวันที่ 7 ส.ค. นี้ และขึ้นตอนต่อไปจะมีการสรรหาตัวนายกฯ รัฐมนตรีและครม. ต่อไปตามโรดแมพของคสช. ซึ่งเรามองเป็นพัฒนาการทางด้านบวก ซึ่งจะทำให้การอนุมัติงบประมาณต่างๆ ไม่ติดขัด
     ปัจจัยต่างประเทศ ยังเป็นลบ หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปถูกขายทำกำไรอย่างหนัก จากผล ทั้งยุโรป (Adidas , Espirito Santo) และสหรัฐฯ (Exxon, Nike) ที่เป็นห่วงเรื่องผลประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากอาร์เจนติน่า หลังไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้เก่าที่ค้างมาต้องแต่ปี 2001 และต้องผิดนัดชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยจำนวน 539 ล้านดอลลาร์
      หุ้นเก็งกำไร Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI (TMB BCP เป็นหลักทรัพย์ที่มี Upward Revision ล่าสุด) หุ้นสำหรับ port เดือน ส.ค. แนะนำ ซื้อที่แนวรับ INTUCH DTAC (Dividend Play) PSL IVL (Global play) KBANK SIRI AAV (Cyclical Play) CSS GOLD (Earning Play) GUNKUL (พลังงานทดแทน) พอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
      ปัจจัยเทคนิค: ทดสอบแนวรับ วานนี้ ดัชนีฯ ปรับลงแรง หลังจากดีดตัวไม่ผ่านแนวต้าน 1520 จุดในช่วงเช้า คาดวันนี้อ่อนตัวต่อเนื่อง โดยอาจเปิดต่ำกว่าแนวรับ 1500 จุด ซึ่งจะเป็นการทดสอบแนวรับถัดไปที่ 1490/1480 จุด ซึ่งบริเวณ 1480-1475 จุดเป็นแนวรับหลักที่เป็นกรอบล่างของ uptrend channel ที่ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ คาดบริเวณนี้อาจมีแรงดีดกลับได้

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: เดือนหน้าประชุมสภานัดแรก
ประเด็นการเมือง (Update):
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 200 สนช. เรียกประชุม 7 ส.ค. นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ จำนวน 200 ราย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

2. Fed Tightening: อาจเป็นลบระยะสั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร มากกว่าตลาดหุ้น
KTZ คาดว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จะมีผลโดยตรงต่อแนวโน้มดอกเบี้ยของไทย จะปรับขึ้นในทิศทางและปริมาณเดียวกัน โดยผลสำรวจล่าสุด ส่วนใหญ่คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกใน 2Q/3Q58F ครับประมาณ 0.25-1% ครับ
มุมมองระยะยาว คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลก
อิงสถิติย้อนหลังของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เราพบว่า การหันมาเริ่มคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ (คาดมีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดพันธบัตร และย้ายลงทุนมายังตลาดหุ้นทดแทน อิงผลกำไรบจ.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามขาขึ้นของวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 3% )อิงสถิติการปรับขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของเฟดครั้งแรกและต่อเนื่องจนสูงกว่า 1 ppt ในช่วงปี 1970-2003 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +8.9% ในช่วง 8 เดือนก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก และปรับขึ้นเฉลี่ย 11% ในช่วง 21 เดือนต่อมาหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด (ดูตาราง 2) ยกเว้นปี 1999/2001 ที่ผลตอบแทน -15.5% เนื่องจากระดับ Valuation ในช่วง dot com bubble มีการปรับขึ้นไปสูงกว่าความเป็นจริงมาก
ทั้งนี้ ตลาดคาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ครั้งแรกในช่วงเดือน มี.ค. 58 และขึ้นต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. 59 ทั้งนี้ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่เร่งตัวขึ้น คาดว่าจะกระทบในส่วนของ Risk Free Rate ระยะสั้น แต่ก็ถือว่ายังคงแตกต่างจากระดับดอกเบี้ยที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น ที่ใช้ Long-term rate และยังคงต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 2% นอกจากนี้ การประเมินมูลค่าหุ้น ยังคงอิง Equity Risk Premium (ERP) ของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภายใต้เศรษฐกิจขาขึ้นของโลก คาดว่าระดับความเสี่ยงดังกล่าวจะมีจำกัด

-3. อาร์เจนติน่า : Argentina’ Technical Default ปัญหาลบชั่วคราว
เป็นการผิดนัดชำระหนี้ครั้งที่ 2 ในรอบ 13 ปี (ครั้งแรกปี 2001) แต่เป็นผลจากการไม่ต้องการจ่าย มากกว่าการไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจาก การเจรจา ระหว่าง รัฐบาลอาร์เจนฯ และเจ้าหนี้พันธบัตร (US Hedge Fund) ที่มีมุมมองต่าง ทำไห้รัฐบาลอาร์เจนติน่า ตัดสินใจไม่จ่ายดอกเบี้ย 539 ล้านดอลล์สหรัฐฯ ได้ภายในกำหนดเส้นตาย รัฐบาลอาร์เจนติน่า กล่าวหากองทุน US Hedge Funds เป็นพวก Vulture Funds และการต้องจ่ายหนี้ให้ครบทั้งจำนวนแก่ Hedge Funds ที่ซื้อมาในราคาส่วนลดสูง จะส่งผลให้รัฐบาลฯต้องจ่ายหนื้คืนให้กับ Bondholders อื่นๆ ครบทุกจำนวนเช่นกัน
ผลจากการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินา ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ลดเครดิตสู่ระดับ ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน Technical Default จากเดิม CCC-/Cและฉุดดัชนีหุ้นบลูชิพ Merval Index ร่วงลง -8.4% ทั้งนี้ ปัจจุบัน อาร์เจนตินา มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศ 2 แสนล้านดอลล์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลล์สหรัฐฯ
แม้จะมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า แต่ผลกระทบต่อตลาดการเงินโลกคาดว่าจะมีจำกัด เนื่องจากระดับความเสี่ยงของตราสารหนี้ของอาร์เจนติน่า อยู่ในระดับ High Risk อยู่แล้ว และส่วนใหญ่เป็นผลจาก การไม่ต้องการจ่าย มากกว่า ไม่มีเงินมาจ่าย อย่างไรก็ดี อาจส่งผลกระทบต่อ Bond Funds ที่ถือตราสารหนี้ของกลุ่ม Emerging Markets Countries อื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้อาจถูกขายอย่างมีนัยเทียบกับประเทศที่มีสถานะการเงินมั่นคง

4. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือกลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ UPS AMEX (29/7) Goodyear KRAFT (30/7) Time Warner Cable, Exxon (31/7) P&G, Berkshire Harthaway (1/8)

+/- 5. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : มีอิทธิพลสูงต่อทิศทางตลาดหุ้นโลกสัปดาห์นี้ จับตา ผลประชุมเฟด+2Q57F US GDP
วันศุกร์ 1 ส.ค. : USA การจ้างงานนอกภาคเกษตร ก.ค. คาด +230k (Vs +288k) อัตราว่างงาน คงที่ที่ 6.1% ISM Mfg ก.ค. คาด 55.5 (Vs 55.3) U of M survey ก.ค. คาด 82.2 (Vs 81.3) China:PMI Mfg ก.ค. คาด 51.3 (Vs 51)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ค่าแรงญี่ปุ่น มิ.ย. เพิ่มครั้งแรกรอบกว่า 2 ปี กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ค่าแรงพื้นฐานโดยเฉลี่ยของบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน มิ.ย. เมื่อเทียบกับปีก่อน แตะที่ 243,019 เยน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี 3 เดือน เป็นผลจากการปรับเพิ่มค่าแรงของสหภาพแรงงานหลายแห่ง สำหรับรายได้ต่อเดือนทั้งหมดโดยเฉลี่ย ซึ่งรวมไปถึงเงินโบนัสปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% แตะที่ 437,362 เยน ทำสถิติเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ธปท. เผยดัชนีเชื่อมั่นทางธุรกิจ มิ.ย. ที่ 48.0 ลดลงจาก พ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. ที่48.0 ลดลง จาก 48.6 ในเดือน พ.ค. โดยดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งสำรวจในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 54.0 จาก 53.1 ที่สำรวจเมื่อเดือน พ.ค. โดยผู้ประกอบการทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคที่มิใช่อุตสาหกรรม ประเมินว่า ภาวะธุรกิจโดยรวมจะปรับดีขึ้นจากปัจจุบัน
สหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินคาดสัปดาห์ก่อน กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 26 ก.ค. เพิ่มขึ้นเกินคาด 23,000 ราย สู่ 302,000 ราย นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 301,000 ราย

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดดิ่ง วิตกปัญหาผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า ดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟด
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดดิ่งลงแรงวันเดียวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. โดยดัชนี DJIA ปิดลดลง 317.06 จุด หรือ -1.88% สู่ระดับ 16,563.30 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงแรง 39.40 จุด หรือ -2.0% สู่ระดับ 1,930.67 จุด Nasdaq ปิดลบ 93.13 จุด หรือ -2.09% สู่ระดับ 4,369.77 จุด หุ้นทั้งหมด 10 กลุ่มในดัชนี S&P 500 ร่วงลงมากกว่า 1.0% โดยหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงนำตลาด 2.4% ดัชนีความผันผวนซึ่งวัดความวิตกในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทพุ่งขึ้น 27.2% สู่ระดับ 16.95 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทรุดลงในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.และร่วงลงรายเดือนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐทำให้เกิดความวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างประเทศถ่วงตลาดลงด้วย โดยอาร์เจนติน่า ผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 12 ปี
ข่าวจากรัสเซียถ่วงตลาดลงด้วย โดยสำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่า รัสเซีย ได้ห้ามการนำเข้าถั่วเหลืองจากยูเครน, อาจจำกัดการนำเข้าผลไม้จากกรีซและเนื้อไก่จากสหรัฐเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรใหม่ของสหรัฐและยุโรปต่อรัสเซียเกี่ยวกับกรณียูเครน

- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง วิตกเฟด ปัญหาผิดนัดหนี้ของอาร์เจนตินา
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วงลงแรง FTSE ปิดลง 43.33 จุด หรือ -0.64% สู่ 6,730.11 จุด ดัชนี CAC40 ปิดร่วง -66.16 จุด หรือ -1.53% สู่ 4,246.14 จุด และ DAX ดิ่งแรง 186.20 จุด หรือ -1.94% สู่ 9,407.48 จุด โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า สหรัฐอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเกินคาด และความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินาดัชนีตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดเดือนก.ค.ในแดนลบเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้นยุโรปพุ่ง 1.6390 จุด หรือ 9.37 % ปิดที่ 19.1221 หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ 19.6594 ในระหว่างวัน
ตลาดหุ้นสเปนได้รับแรงกดดันอย่างรุนแรง โดยดัชนี IBEX 35 ของตลาดหุ้นสเปนดิ่งลง 230.2 จุด หรือ 2.1 % สู่ 10,707.2 เนื่องจาก เทรดเดอร์กังวลว่า บริษัทสเปนอาจได้รับความเสียหายจากธุรกิจในละตินอเมริกา หลังจากอาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้ในวันพฤหัสบดี

-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงต่อ Brent และ Nymex เดือนก.ค. ร่วงลง 6-7%m-m วิตกอุปสงค์ชะลอ อุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ กย. ปิดลดลง 0.49 ดอลลาร์ สู่ 106.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดเดือนก.ค.ด้วยการรูดลงกว่า 6% จากเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2013
ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ย. ดิ่งลง 2.10 ดอลล์ต่อบาร์เรล มาปิดที่ระดับ 98.17 ดอลล์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 97.60-99.85 ดอลลาร์ โดยจุดต่ำสุดของวันพฤหัสบดีถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดเดือน ก.ค. ด้วยการดิ่งลงเกือบ 7% จาก เดือน มิ.ย. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2012
บริษัทซีวีอาร์ รีไฟนิงระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันในเมืองคอฟฟีย์วิล รัฐแคนซัส ซึ่งมีกำลังการกลั่นขนาด 115,000 บาร์เรลต่อวัน อาจจะปิดทำการเป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในเครื่องผลิตน้ำ มันเบนซินเครื่องหนึ่งในวันอังคาร โดยโรงกลั่นแห่งนี้ใช้น้ำ มันดิบเวสท์เท็กซัสอินเทอร์มีเดียท (WTI) เป็นจำนวนมากรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันเฉลี่ยราว 30.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. โดยเพิ่มขึ้นจาก 29.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มิ.ย

-ราคาทองคำ ลดลงจากเศรษฐกิจสหรัฐฯส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด – 13.60 ดอลล์มาปิดที่ระดับ 1,281.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1,280.76 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองไม่ได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลง 2 % ของดัชนี S&P 500 เนื่องจาก การพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของค่าจ้างแรงงานสหรัฐและสัญญาณบ่งชี้ที่ดี เกี่ยวกับตลาดแรงงานส่งผลลบต่อความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่น ทอง
ราคาทองดิ่งลงเกือบ 3.5 % ในเดือน ก.ค. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในปีนี้ ในขณะที่การปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลลบต่อความน่าดึงดูดของทองในฐานะเครื่องมือทำประกันความเสี่ยง

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่ 7 หลังร่วง12วัน
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 1 จุดมาปิดที่ 755 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!