WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

พักฐาน
Highlight
     ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังนักลงทุนกลับมาวิตกความขัดแย้งยูเครน จากข่าวรัสเซียเตรียมพร้อมตอบโต้การแซงชั่นของยุโรปและสหรัฐฯ และผิดหวังข่าว M&A ในสหรัฐฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี USA ดุลการค้า มิ.ย. คาด -$44.5bn. (Vs -$44.4bn.) Thai: ผลประชุมกนง. คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% Italy:2Q57F GDP คาด +0.1%q-q (Vs -0.1%) Germany:Factory orders มิ.ย. คาด +0.5%m-m (vs -1.7%)
     - วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติกลับมาขาย -843 ลบ. (จากวันก่อนซื้อ +1.06 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิเพิ่มขึ้น +2.78 พันลบ. (ซื้อสะสม 2 วันรวม +3.76 พันลบ.)
+ การเมือง คาดประชุมสภาครั้งแรก 8 ส.ค. เลือกประธานสภา และรองประธานสภา ก่อนประชุมสัปดาห์ต่อๆ ไป เลือกนายกฯ และพิจารณางบประมาณฯ ปี 58
      คาดดัชนีฯ วันนี้ พักฐาน ในกรอบ 1519-1538 จุด โดยแรงกดดันมาจากปัจจัยภายนอก Geopolitical Risks ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจากแรงซื้อดอลล์เพิ่ม ส่วนการประชุมกนง.วันนี้ จับตามุมมองต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่เราและตลาดฯ คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00%
กลยุทธ์: เราแนะนำ ขึ้นทยอยขาย (คาดไม่ผ่านแนวต้านเดิม 1543 จุด) เพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับ 1500-1505 จุด หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่น แนะนำ PTT IVL IRPC PSL

หุ้นในกระแส:
      หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 6.0%) ได้แก่ PDG AQUA EPCO PYLON APCO SUTHA TGPRO MONO TRUE JUBILE หุ้นที่ลงกว่า 2.0% ได้แก่ RPC TRUBB SAPPE SLC BAY HANA
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ LH+79 SPALI+70 สูงสุด ด้านขาย ได้แก่ INTUCH-195 BBL-183 PTTGC-178 KBANK-168 PTT-167
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ PTT 171 KBANK 83 ADVANC 81

Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ พักฐานในกรอบ 1519-1538 จุด โดยแรงกดดันมาจากปัจจัยภายนอก หลังความตึงเครียดยูเครนเพิ่มขึ้น ด้านค่าเงินบาทยังผันผวน หลังดอลลาร์มีทิศทางแข็งค่า แนะขึ้นขาย – ลงซื้อ หุ้นพื้นฐานดี มีปันผล
คาดดัชนีฯ วันนี้ พักฐานในกรอบ 1519-1538 จุด โดยคาดได้รับแรงกดดันตามภาวะตลาดหุ้นโลก ที่ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นของความขัดแย้งในยูเครน หลังรัสเซียเตรียมพร้อมตอบโต้การแซงชั่นจากยุโรป และสหรัฐฯ ส่วนค่าเงินบาทยังคงผันผวน หลังดอลลาร์มิทิศทางแข็งค่าขึ้นตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ส่งผลแรงซื้อนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยไม่ต่อเนื่อง แต่ยังได้แรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันในประเทศที่กลับมาซื้อสุทธิ และการออก Trigger Fund ช่วยเสริมเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาด ด้านการเมืองในประเทศ การประชุมสภาสนช.นัดแรก เพื่อเร่งงบใช้จ่ายปี 58 และประเด็นบุคคลมารับตำแหน่งนายกฯและคณะรัฐบาล จะเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนความเสี่ยงคือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 2Q57F GDP คาดเติบโตอ่อนแอ แนะนำ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ใช้กลยุทธ์ ขึ้นทยอยขายเพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับ หุ้นพื้นฐานดี หุ้นปันผล (ดูชื่อหุ้น ข้างล่าง)
ปัจจัยในประเทศ –นักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิ ซึ่งช่วยหนุนให้ดัชนีฯ ดีดตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดการออก Trigger Fund ในระยะนี้ ช่วยหนุนสภาพคล่องส่วนเกินในตลาด แต่ความเสี่ยงยังมาจากค่าเงินบาทที่ค่อนข้างผันผวนในขณะนี้ ซึ่งกดดันกระแสเงินทุนจากต่างประเทศ ทำให้แรงซื้อนักลงทุนต่างประเทศไม่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี วานนี้ ทั้งนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนต่างชาติยังเป็นผู้ซื้อสุทธิในสัญญา Futures (+6300 และ +4223 สัญญา ตามลำดับ) ทำให้ยังมีโอกาสที่ดัชนีฯ จะปรับขึ้นในระยะต่อไปจึงมองการพักฐานยังเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้น ปัจจัยจับตาสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธที่ 6 ส.ค. คาดผลประชุมกนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ RP 1 วันไว้ที่ระดับ เดิม 2% (คาดดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำตลอดปีนี้ +หุ้นปันผลดี)
วันที่ 8 ส.ค. คาดประชุมสภาสนช.200 คน นัดแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาเพื่อนำทูลเกล้าถวายฯ ก่อนที่สัปดาห์ต่อๆ ไป จะเริ่มประชุม วาระสำคัญคือ พิจารณาบุคคลดำรงตำแหน่งนายกฯ และพรบ.ร่างงบประมาณปี 58 (รายชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งคณะรัฐบาลและนายกฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด หากเป็นไปตามคาดการณ์ล่วงหน้าของสื่อหลายแห่ง แต่จะเป็นผลบวกต่อ การใช้จ่ายงบฯปี 58 ที่สามารถเบิกจ่ายใช้เงินได้ทันที +กลุ่มอิงนโยบายรัฐ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ)
ปัจจัยต่างประเทศ – เป็นลบ หลังนักลงทุนกลับมากังวลเรื่องความขัดแย้งยูเครน ตามข่าวที่รัสเซียเตรียมพร้อมตอบโต้มาตรการแซงชั่นจากยุโรป และสหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อน ที่มุ่งเป้าไปที่ภาคการเงิน และพลังงานของรัสเซียมากขึ้น โดยรัสเซียเพิ่มกำลังทหารบริเวณชายแดน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี ยังเพิ่มความกังวลของนักลงทุนว่าเฟดอาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าคาด โดยวานนี้ ตัวเลข ISM ภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2005

Investment Theme สำหรับการลงทุนระยะ 1-2 สัปดาห์ แนะนำ ขึ้นขาย ลงซื้อ
1) หุ้นปันผลสูงมากกว่า 5% ปีนี้ แนะนำ SAMTEL MODERN TISCO BCP และสะสมเมื่ออ่อนตัว ADVANC DTAC BTS TTW LPN SPALI (ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด)
2) หุ้น High Growth ปีนี้ ที่ยังคงมี % Upside สูงกว่า 20% แนะนำ JAS PSL BCP THCOM TTCL KBANK SCB SINGER BECL
3) หุ้นเก็งกำไร Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: ศุกร์นี้ ประชุมสภานัดแรก
ประเด็นการเมือง (Update):
มท.เตรียมเสนอชื่อคนใน-นอกเข้านั่งเป็นสปช. ขณะนี้กกต.ยังไม่ได้ติดต่อมาที่กระทรวงมหาดไทย แต่ก็ให้ความร่วมมือในการช่วยประชาสัมพันธ์ไปแล้ว ในส่วนของจังหวัดเองได้เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในสปช. ส่วนกระทรวงมหาดไทยสามารถเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดสรรเป็น สปช. ในนามอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย หรือ อ.ก.พ.กรม ในส่วนของนิติบุคคล โดยได้ชี้แจงต่อหน่วยงานต่าง ๆ ไปแล้ว สามารถเสนอชื่อบุคคลได้ โดยสามารถเสนอคนในหน่วยงานหรือคนนอกหน่วยงานที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาได้
เปิดแคนดิเดตชิง'ประธาน สนช.' บุคคลที่ปรากฏชื่อและเป็นแคนดิเดตสำคัญว่า น่าจะได้รับความไว้วางใจจากสมาชิก มีอยู่ 2 คน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน และอดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม กับ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพยายามคลี่คลายวิกฤติการเมืองก่อน คสช.เข้ายึดอำนาจ นอกจากชื่อของแคนดิเดตทั้ง 2 คนซึ่งว่ากันว่าจะเป็น "คู่ชิง" เก้าอี้ประธาน สนช.แล้ว ต่อมายังปรากฏชื่อของ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ซึ่งถือเป็นอดีตคนในกองทัพรับราชการทหารมาตลอดชีวิต กระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม
บิ๊กขรก.ติดโผร่วมครม. เล็งดึง ‘กษมา-พรชัย-วิฑูรย์-สีหศักดิ์’เสริมทัพรัฐบาล “ประยุทธ์” คิกออฟงานเปิดตัวรับสมัครสภาปฏิรูปเสาร์นี้
“บิ๊กข้าราชการ-อดีตปลัดกระทรวง” ติดโผร่วมครม.เผย “ประยุทธ์” เล็งดึง “วิฑูรย์” นั่งรมว.อุตฯ- “พรชัย” รมว.ไอซีที- “กษมา” รมช.ศึกษาฯ – “สีหศักดิ์” คุมบัวแก้ว สนช.รายงานตัวแล้ว 197 คน ขาดเพียง “สม จาตุศรีพิทักษ์” ติดภารกิจต่างประเทศ ชี้สัปดาห์หน้าเลือกนายกฯไม่ทัน “คนใน” แห่สมัคร “คตง.-ผู้ว่า คตง.”

2. + มุมมองเศรษฐกิจไทยปรับดีขึ้น
โกลด์แมนแซคส์ปรับเศรษฐกิจไทยดีขึ้น
โกลด์แมนแซคส์ ธนาคารชั้นนำของสหรัฐคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโต 0.4% ในปีนี้ ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากมุมมองเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 0.5% อย่างไรก็ตามตัวเลขจีดีพีที่ปรับขึ้นใหม่นี้ ยังถือเป็นตัวเลขค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือสำนักข่าวบลูกเบิร์ก ที่ประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะโต 1.5% และ 1.6 % ตามลำดับ
ทั้งนี้โกลด์แมนแซคส์มองว่าเศรษฐกิจในปี 2558 จะฟื้นตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งมาจากฐานเศรษฐกิจปีนี้ที่ค่อนข้างต่ำและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช.โดยคาดว่าจีดีพีปีหน้าจะเติบโต 4.3% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 3.8%
ธปท.ชี้'บริโภค-ลงทุน'ส่อคึก
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ ซึ่งเป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 2 ปี 2557 พบว่า สถาบันการเงินเริ่มคาดการณ์ว่าในไตรมาส 3 ปี 2557 ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจโดยรวมเริ่มปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและบรรยากาศการลงทุนจะเริ่มดีขึ้น โดยธุรกิจที่สถาบันการเงินประเมินว่า จะขยายตัวดีได้แก่ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก การขนส่งและคลังสินค้า การค้าวัสดุก่อสร้าง การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และการผลิตพลังงานไฟฟ้า
KTZ คาดเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง โดยขยายตัวได้ 3.5% และ 3.6% ในไตรมาสที่ 3/57 และ4/57 โดยทั้งปี 57 และ 58 คาดขยายตัวได้ 2.0% และ 4.1% ตามลำดับ แนะนำลงทุนหุ้นที่ได้รับผลบวกภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวได้แก่กลุ่มธนาคาร (KBANK SCB) และกลุ่มอสังหาฯ (AP QH)

3. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
สัปดาห์นี้ จับตารายงานผลกำไรบจ. GOLD PTTGC AAV ADVANC CPALL MAKRO IVL SIRI
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือกลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ AIG (4/8) Walt Disney (5/8) Time Warner (6/8)

+/- 4. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : ไฮไลท์อยู่ที่ ECB – BOJ Meeting, รายงาน 2Q57F GDP อินโดนีเซีย อิตาลี , ผลประชุมกนง ไทย
วันพุธ 6 ส.ค. : USA ดุลการค้า มิ.ย. คาด -$44.5bn.(Vs -$44.4bn.) Thai: ผลประชุมกนง. คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% Italy:2Q57F GDP คาด +0.1%q-q(Vs -0.1%) Germany:Factory orders มิ.ย. คาด +0.5%m-m(vs -1.7%)
วันพฤหัสบดี 7 ส.ค. : ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป อังกฤษ คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.15% 0.5%ตามลำดับ USA: Consumer credits มิ.ย. คาด $18bn. (Vs $19.6bn.) Germany:Industrial Production มิ.ย. คาด +1.3%m-m (Vs -1.8%)
วันศุกร์ 8 ส.ค. : Japan ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.1% China: ส่งออกดุลการค้าเดือน ก.ค. คาด +6.5%y-y +$26bn. (Vs +7.2% +$31.56bn.) USA:Wholesale Inventories มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs 0.5%) Germany ส่งออก มิ.ย. คาด +1.3%m-m (Vs -1.1%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ดัชนี PMI ภาคธุรกิจยูโรโซนขยายตัวในก.ค.สูงเป็นอันดับ 2 ในรอบ 3 ปี ดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคบริการ ของยูโรโซนที่จัดทำโดยมาร์กิต พุ่งขึ้นสู่ระดับ 54.2 ในเดือน ก.ค. จาก 52.8 ในเดือน มิ.ย. แต่ก็ลดลงจากข้อมูลขั้นต้นที่ระดับ 54.4 ดัชนี PMI ภาคบริการช่วยหนุนดัชนีคอมโพสิต PMI ซึ่งอิงตามผลสำรวจ ความเห็นบริษัทหลายพันแห่งในยูโรโซน และเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่ดี พุ่งสู่ระดับ 53.8 ในเดือน ก.ค. จากระดับ 52.8 ในเดือน มิ.ย. แต่ก็ลดลงจากข้อมูลขั้นต้นที่ระดับ 54.0
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคบริการฝรั่งเศสขยายตัวอีกครั้งใน ก.ค. Markit เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 50.4 ในเดือน ก.ค. จาก 48.2 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากข้อมูลขั้นต้น
ผลสำรวจชี้ PMI ภาคเอกชนเยอรมนีขยายตัวเป็นเดือนที่ 15 ใน ก.ค. ดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นสุดท้ายของมาร์กิต ซึ่งประเมินการขยายตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ พุ่งสู่ระดับ 55.7 ในเดือน ก.ค. จากระดับ 54.0 ในเดือน มิ.ย. แม้ต่ำกว่าตัวเลขขั้นต้นที่ระดับ 55.9
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคบริการอิตาลีขยายตัวเดือนที่ 4 ใน ก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ Markit/ADACI สำหรับภาคบริการ ซึ่งครอบคลุมบริษัทต่างๆ นับตั้งแต่โรงแรมไปจนถึงบริษัทประกัน อยู่ที่ระดับ 52.8 ในเดือน ก.ค. ลดลงจากระดับ 53.9 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2010
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคบริการสเปนขยายตัวสูงสุดรอบ 4 เดือนใน ก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคบริการของสเปน อยู่ที่ระดับ 56.2 ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจาก 54.8 ในเดือน มิ.ย. และยืนเหนือระดับ 50 ที่บ่งชี้การขยายตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 55.1
สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน มิ.ย. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าของโรงงานเพิ่มขึ้นเกินคาด 1.1% ในเดือน มิ.ย. หลังลดลง 0.5% ในเดือน พ.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าของโรงงานจะเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือน มิ.ย.
ISM เผยดัชนี PMI ภาคบริการพุ่งสูงสุดในรอบ 8 ปีครึ่งในเดือน ก.ค. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการพุ่งขึ้นสู่ระดับ 58.7 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง จากระดับ 56.0 ในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคบริการจะอยู่ที่ 56.3 ในเดือน ก.ค.

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วง ข่าวรัสเซียเตรียมซ้อมรบใกล้ยูเครนและหลังปิดตลาด ดีล M&A ไม่สมหวังอาจถ่วงตลาดวันนี้
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดร่วงลงหลังฟื้นตัววานนี้ โดยดัชนี DJIA ปิดดิ่ง 139.81 จุด หรือ -0.84% สู่ระดับ 16,429.47 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 18.78 จุด หรือ -0.97% สู่ระดับ 1,902.21 จุด Nasdaq ปิดลบ 31.06 จุด หรือ -0.71% สู่ระดับ 4,352.83 จุด ตลาดได้แรงหนุนในช่วงเช้าจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ยอดสั่งซื้อใหม่สำหรับ สินค้าของโรงงานสหรัฐเพิ่มขึ้นมากเกิน คาดในเดือน มิ.ย. และการขยายตัวในภาคบริการเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปีครึ่งสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีผู้จัดการ ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการพุ่งขึ้นสู่ระดับ 58.7 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง จากระดับ 56.0 ในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคบริการจะอยู่ที่ 56.3 ในเดือน ก.ค.
แต่แรงขายรุนแรงขึ้นในช่วงบ่ายจาก รายงานข่าวที่ว่าทหารของรัสเซียกำลังรวมกลุ่มใกล้ชายแดนยูเครน กระทรวงกลาโหมของรัสเซีย ประกาศว่า จะจัดการซ้อมรบในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศ ใกล้ชายแดนประเทศยูเครนในสัปดาห์นี้ โดยจะมี เครื่องบินไอพ่น, เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นล่าสุด ร่วมฝึกด้วยถึง 100 ลำ
นายราโดสลาฟ ไซคอร์สกี รมว.ต่างประเทศโปแลนด์ กล่าวว่า รัสเซียได้เพิ่มกำลังทหารที่บริเวณพรมแดนที่ติดกับยูเครน โดยอาจจะมีจุดประสงค์เพื่อกดดันยูเครนหรือเพื่อรุกรานยูเครน
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง 2.1% จากความวิตกเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันส่วนเกิน และผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทไพโอเนียร์ เนเชอรัล รีซอร์เซส
หลังปิดตลาด ข่าวผิดหวัง M&A อาจถ่วงตลาดหุ้นสหรัฐฯวันนี้ นำโดย บริษัท 21st Century Fox แจ้งยกเลิกการเสนอซื้อหุ้น Time Warner ส่งผลราคาหุ้น Fox +8.6% แต่ Time Warner ร่วง -11% และบริษัทกลุ่มโมบาย Sprint แจ้งยกเลิกการซื้อคู่แข่ง T-Mobile เนื่องจากติดขัดด้านกฎหมาย ส่งผลหุ้น Sprint +11% T-Mobile -8%

+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก หลังร่วงลงตลอดสัปดาห์ก่อน จากกำไรบจ.ที่ดีกว่าคาดและข่าว M&A
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดฟื้นตัว โดย FTSE ปิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 4.96 จุด หรือ 0.07% สู่ 6,682.48 จุด ดัชนี CAC40 ปิดขึ้นต่ออีก 15.66 จุด หรือ 0.37% สู่ 4,232.88 จุด และ DAX ปิดเพิ่ม 35.60 จุด หรือ 0.39% สู่ 9,189.74 จุด
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกขึ้นในวันอังคาร หลังจากดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่แล้ว โดยในวันอังคารตลาดได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทดอยช์ โพสท์และบริษัทอื่นๆ
หุ้นธนาคารเครดิต อากริโคลของฝรั่งเศสทะยานขึ้น 2.2 % เนื่องจาก เครดิต อากริโคลเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการไตรมาสสองที่ดีเกินคาด ถึงแม้ เครดิต อากริโคลสูญเสียเงิน 708 ล้านยูโรจากการถือหุ้นในธนาคารแบงโก เอสปิริโต ซานโต (BES) ซึ่งเป็นธนาคารจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในโปรตุเกส
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงหนุนจากกระแสการควบรวมกิจการด้วย โดย หุ้นวิวองดีซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของฝรั่งเศสพุ่งขึ้น 3.6 % หลังจากบริษัทเตเลโฟนิกาของสเปนเปิดเผยว่า เตเลโฟนิกาได้ยื่นข้อเสนอขนาด 6.7 พันล้านยูโร (8.99 พันล้านดอลลาร์) เพื่อซื้อธุรกิจในบราซิลของวิวองดี ทางด้านหุ้นเตเลโฟนิการูด
ลง 1.7 %

-ราคาน้ำมันดิบ กลับมาอ่อนตัว วิตกอุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ กย. ปิดเพิ่มขึ้น 0.57 ดอลลาร์ สู่ 105.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงมาปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดรอบ 9 เดือน โดยได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันในระดับสูงในยุโรปและอเมริกาเหนือ และปัจจัยลบดังกล่าวบดบังความกังวลที่มีต่อเหตุการณ์รุนแรงในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
ส่วน Nymex ส่งมอบ กย. ฟื้นตัว 0.41 ดอลล์ต่อบาร์เรล มาปิดที่ระดับ 98.29 ดอลล์ต่อบาร์เรล ขณะที่เทรดเดอร์กังวลกับอุปสงค์ที่ระดับต่ำตามปัจจัยด้านฤดูกาล และกังวลกับอัตราผลกำไรจากการกลั่นน้ำมันที่ระดับต่ำ ในขณะที่ อุปทานน้ำมันอยู่ในระดับสูง

-ราคาทองคำ ลดลงเล็กน้อย หลังจากได้ข่าวรัสเซียอาจรุกรานยูเครน
วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาดลดลงเป็นวันที่ 6 ในรอบ 7 วันทำการที่ผ่านมา โดยวานนี้ ปิดลดลง 3.60 ดอลล์ มาปิดที่ระดับ 1,285.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 30 เซนต์ สู่ 1,287.74 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยราคาทองร่วงลงในช่วงแรก โดยได้รับ แรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สดใส แต่ราคาทองลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้เกือบหมดในช่วงต่อมา โดยได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐ และจากความกังวลเรื่องปฏิบัติการทางทหารในภาคตะวันออกของยูเครน

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดบวกเป็นวันที่ 9 ในรอบ 10 วัน
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 2 จุดมาปิดที่ 755 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!