WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ขึ้น-ทดสอบแนวต้าน 1550/60 จุด
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดบวกเล็กน้อย นักลงทุนจับการเจรจาหาข้อตกลงร่วมยุติความขัดแย้งยูเครน
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ ไทย GDP 2Q57F คาด +0.0% QoQ, +0.7% YoY (KTZ +0.5% YoY Vs 1Q57 -0.6% YoY, -2.1% QoQ)
-/+ วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติขายต่อ -480 ลบ. (ขายสะสม 2 วันรวม 1.05 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาซื้อ +2.46 พันลบ. (จากขาย -1.98 ลบ.)
Fund flow สัปดาห์ที่ผ่านมา (8-13 ส.ค. 57) กระแสเงินทุนไหลกลับเข้ากองทุนหุ้น +$2.85bn. (จากสัปดาห์ก่อนขายหนักถึง -$16.3bn.) โดยกองทุน DM มีแรงซื้อกลับเล็กน้อย +$1.1bn (จาก -$20.0bn. ในสัปดาห์ก่อน) กองทุน EM มีแรงซื้อต่อเนื่องอีก+$1.8bn ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังมีเม็ดเงินกองทุนไหลเข้า แม้กองทุนไทย ยังถูกขาย แต่ลดลงเหลือเพียง -$0.2mn. (จาก -$30.2mn.)
+ การเมือง วันนี้ สนช. ถกร่างงบประมาณปี 58 วาระแรก คาดเลือกนายกฯ วันที่ 21 ส.ค.
คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น ทดสอบแนวต้าน 1550/1560 จุด ปัจจัยภายนอกอาจเป็นลบ ส่วนปัจจัยในประเทศเป็นบวก ลุ้นนายกฯ และครม.ใหม่ การผ่าน พ.ร.บ.งบปี58 การประกาศจ่ายปันผลของบจ.
แนะนำ Let Profit Run โดยมีจุด Stop Profit หากดัชนีฯต่ำกว่า 1530 จุด สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ แนะนำ Trading Buy รายตัว (Earnings Play&
Dividend Play) กลุ่มขนส่งทางเรือ กลุ่มรับเหมาฯ กลุ่มโซล่าร์ กลุ่มค้าปลีกอสังหาฯ
หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ KBANK SCB TMB GUNKUL DEMCO PSL TTA IVL SYNTEC CK PS LHBANK TUF QH

หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้ดนเกิน 5.0%) ได้แก่ SAPPE SEAFCO GEL TTA THCOM GLOW VNG BH SF THAI KKP หุ้นที่ลงกว่า 6.0% ได้แก่ TWS HFT SINGER GRAND RICHY AQUA JAS
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ CK+1060 ADVANC+369 CPALL+252 KBANK+249 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ INTUCH-196 JAS -189 CPF-185
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 106 PTTEP 65

Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้นทดสอบแนวต้าน 1550/1560 จุด จากปัจจัยเทคนิค และคาดเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด รวมถึงรอลุ้นรายชื่อคณะรัฐบาลใหม่ ส่วนปัจจัยลบ ต่างประเทศยังเป็นความเสี่ยง และแรงขายทริกเกอร์ฟันด์ หากดัชนีฯ พุ่งถึงเป้า แนะนำเก็งกำไร กลุ่ม Cyclical Play, Domestic Play
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้อยู่ในกรอบ 1520-1560 จุด ส่วนทิศทางดัชนีฯ วันนี้ คาดขึ้นทดสอบแนวต้าน 1550/1560 จุด จากปัจจัยทางเทคนิค (ดูในเล่ม) และรอลุ้นเศรษฐกิจไทย ผ่านจุดต่ำสุดใน 2Q57F GDP ส่วนโมเมนตั้มบวกอื่นๆ จะมาจากการประกาศจ่ายปันผลของบจ. และการคาดว่าจะมี Fund Flow ไหลเพิ่มเข้ามา (บาทแข็งค่าเทียบดอลล์) ประเด็นได้รัฐบาลใหม่ และอาจยุติกฎอัยการศึกในอนาคต ส่วนปัจจัยลบคือ การวิตกต่อประธานเฟดอาจส่งสัญญาณ Exit strategy สุดสัปดาห์นี้ (ซ้ำรอยกับอดี่ตประธานเบน ส่งสัญญาณยกเลิก QE3 ปีก่อน)

เราแนะนำ Let Profit Run โดยจะมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 1600 จุดหาก ดัชนีฯสามารถยืนเหนือ 1560 จุดได้ใน 1-2 สัปดาห์นี้ (โอกาส 50%) โดยมีจุด Stop Profit บริเวณ 1530 จุด เราคงคำแนะนำ หุ้นกลุ่ม Cyclical Play (PSL TTA RCL) กลุ่มธุรกิจรับเหมาโซล่าร์ (GUNKUL เก็งกำไร DEMCO SOLAR) หลังกพช. ต่อการออกใบอนุญาตด้านพลังงานทดแทนอีก 576 MW กลุ่ม Domestic Plays (แบงก์อสังหาฯ รับเหมาฯ ค้าปลีก) ขณะที่หุ้นเก็งกำไร ที่ควรมีจุดขายตัดขาดทุน 3% เน้นหลักทรัพย์ที่ใกล้หลุด Cash Balance ABC ACAP AQ BKD EMC WIIK
+/- ปัจจัยต่างประเทศ อาจวิตกต่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และจับตาเจรจาปัญหายูเครน
สัปดาห์นี้ ไฮไลท์อยู่ที่ วันศุกร์ ประธานเฟด Yellen จะกล่าวในพิธีเปิด Jackson Hole symposium โดยตลาดลุ้นว่า อาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับ Exit Strategy เหมือนกับที่ประธานเฟดคนก่อน Ben Bernake เคยส่ง
สัญญาณจบมาตรการ QE3 (จะเป็นข่าวลบต่อตลาด หากเป็นจริง) ส่วนรายงานเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ จับตารายงานภาคการผลิตยุโรป จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และรายงานผลประชุม FED, BOE
+ การเจรจา 4 ฝ่าย ความขัดแย้งยูเครน ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน รัสเซีย เยอรมนี และฝรั่งเศส เพื่อช่วยกันหาข้อตกลงหยุดยิง และบรรเทาความขัดแย้ง สืบเนื่องมาจากคืนวันศุกร์มีรายงานจากเจ้าหน้าที่ยูเครนว่าได้โจมตีรถบรรทุกสิ่งของจากรัสเซีย ที่ก่อนหน้านี้ได้ขอเข้าไปให้ความช่วยเหนือด้านมนุษยธรรมกลุ่มต่อต้านรัฐบาล (แต่รัสเซียออกมาปฏิเสธข่าว) ล่าสุดยูเครนได้ขอให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตรวจรถบรรทุกรัสเซียบริเวณก่อนจะอนุญาตให้เข้าพื้นที่
+/- ตัวเลข PMI เบื้องต้นเดือน ส.ค. คาดชะลงเล็กน้อยจากทั้งฝั่งจีนและยุโรป โดยตลาดคาด PMI ภาคการผลิตจีนที่ 51.5 (จาก 51.7) และยุโรปที่ 51.3 (จาก 51.8) แต่ตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปช่วงหลังที่บ่งชี้การฟื้นตัวที่ชะลอลง สร้างความหวังให้นักลงทุนมากขึ้นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จากอีซีบี
++ ปัจจัยในประเทศ คาดมี Fund Flow ไหลเข้า หลังได้คณะรัฐบาลใหม่
ปัจจัยลบคือ แรงซื้อจาก Trigger Funds กว่า 2.2 พันลบ.จาก 5 กองทุนเปิดใหม่ช่วงต้นเดือน ส.ค. สิ้นสุดไปแล้ว และหนุนดัชนีฯ สัปดาห์ก่อน +1.73%w-w (นำโดยกลุ่มแบงก์ พลังงาน วัสดุ เพิ่มขึ้น 2.7-3.2%w-w) และอาจมี แรงขายทริกเกอร์ฟันด์กองเดิมๆ กลับมาเป็นปัจจัยถ่วงตลาดแทน ( คาด 4 กองทุนฯ มูลค่า 660 ลบ จะแตะเป้าหมาย บริเวณ 1560 จุด และอีก 5 กองทุนมูลค่า 1.6 พันลบ จะแตะที่บริเวณดัชนีฯ 1600 จุด)
ส่วนปัจจัยบวก คือ รายงาน 2Q57F GDP ไทย เราคาดเติบโต +0.5%y-y (Vs 1Q57 -0.6%y-y, Bloomberg consensus คาดว่า +0.7%y-y และแนวโน้ม 4 ไตรมาสต่อจากนี้ไป จะเติบโตสูงต่อเนื่อง +3 ถึง 5%y-y) ขณะที่การประชุมสนช. นัดแรกวันนี้ จะเริ่มพิจารณาร่างงบประมาณปี 58 หลังจากเลื่อนพิจารณาออกมาจากสัปดาห์ก่อน (คาดเบิกจ่ายทัน 1 ตค) ขณะที่การสรรหาผู้มาเป็นนายกฯ และคณะรัฐมนตรีใหม่ อาจเกิดขึ้นเร็วๆนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ก่อนงานใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์และ ML สัปดาห์หน้า “Thailand Focus” ซึ่งทุกปีจะมีนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

 

Investment Theme:
1. กลุ่ม Cyclical Play อิงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แนะนำ กลุ่มเรือเทกอง PSL และกลุ่มปิโตรเคมี เลือก IVL จากแนวโน้มรายงานเศรษฐกิจ การผลิตจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ดีขึ้น
2. กลุ่ม Domestic Play แนะนำ สะสมเมื่ออ่อนตัว กลุ่มแบงก์ KBANK SCB TMB กลุ่มอสังหาฯ AP QH กลุ่มค้าปลีก CPALL ส่วนข่าวลบคือ 2Q57F GDP ไทย อาจไม่ดีมาก +0.3%y-y (ดีขึ้นจาก -0.6%y-y ใน 1Q57) ส่วนข่าวดีคือ การเตรียมผ่านร่างพ.ร.บ. งบปี 58 (สภาฯเริ่มพิจารณาวันนี้) และรายชื่อคณะรัฐบาลใหม่อาจส่งผลต่อการเก็งกำไร การยกเลิกกฎอัยการศึก ในอนาคต
3. Dividend Play : คาดให้ยิลด์ปีนี้ สูงกว่า 5% แนะนำ SAMTEL MODERN TISCO BCP และสะสมเมื่ออ่อนตัว ADVANC DTAC BTS TTW LPN SPALI (ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด)
4. Earnings Play : กำไรเติบโตดี มี %Upward Revision สูง ได้แก่ MJD CCET SYNTEC HANA AEONTS CK SEAFCO QH CPF ในทางตรงกันข้าม ขายหลักทรัพย์ ที่มีการปรับลดประมาณการกำไรสูง ได้แก่ SITHAI ERW PF
5. Event Plays: กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโซล่าร์ GUNKUL DEMCO ส่วนกลุ่ม High Risk /High Return: หลักทรัพย์ที่พ้น CashBalance 15 สค ได้แก่ BTC KC MAX NUSA TFD VIH VTE และหลักทรัพย์ที่กำลังจะพ้นวันที่ 22 ส.ค. ได้แก่ ABC ACAP AQ BKD EMC WIIK และพ้นวันที่ 29 ส.ค. ได้แก่ AIRA MPG PAE
พอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB ADVANC SIRI PS CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
ปัจจัยเทคนิค: ระยะสัปดาห์ (Weekly Chart) มีจุดวัดใจ 1550/1560 จุด
หากเราอิงการฟอร์มตัวของรูปแบบดัชนีฯ ปัจจุบัน เราพบว่า อยู่ระหว่างการฟอร์มตัวเป็นไปได้ทั้ง
1) รูปแบบขาลง Double Top แนวต้านหลัก 1550 จุด โดยจะมีการปรับฐานลงไปที่บริเวณ 1484 จุดเป็นอย่างน้อย ในช่วง 2-4 สัปดาห์ หรือ
2) รูปแบบขึ้นต่อ ทดสอบแนวต้านเดิม 1600/1649 จุด โดยที่โอกาสเกิดมีมากกว่า 50% อิง สัญญาณบวกคือ Bullish Pattern จาก Moving Average ส่วน Oscillators ต่างๆ แม้ว่าจะเป็น Overbought แต่ยังไม่เข้าเขต Super Overbought มากนัก และรูปแบบระยะสั้น (Daily Chart) ยังคงเป็นแบบ Up Channel กรอบ 1481/1573 จุด โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1573 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1538/1527 จุด

** สัปดาห์ที่ผ่านมา : ตลาดหุ้นโลกต่างปรับตัวสูงขึ้น นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น ฮ่องกง ที่ลงแรงสัปดาห์ก่อนหน้า
+/- ตลาดหุ้นโลก : ส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น หลังคลายกังวลต่อปัญหายูเครนในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลต่อการซื้อคืนตลาดหุ้นที่ดิ่งลงแรงสัปดาห์ก่อนหน้า ได้แก่ NIX + 3.65%w-w(จากสัปดาห์ก่อนหน้า -4.8%w-w) รองลงมาคือ ตลาดหุ้น HSKI +2.56%w-w Nasdaq +2.15%w-w
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นดีต่อเนื่อง + 1.73%w-w(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +1.34%w-w) ส่งผลให้เดือนสค (MTD) ปรับขึ้นดีสุดในภูมิภาค +2.94%m-m อันเป็นผลจาก แรงซื้อของกองทุนในประเทศ สูงถึง +5.32 พันลบ เนื่องจากมีเม็ดเงินใหม่เพิ่มจาก กองทุนเปิดใหม่ Trigger Funds 5 กองทุน มูลค่า 2.2 พันลบเ ขณะที่ต่างชาติ ซื้อสุทธิ +1.2 พันลบ. เข้ามาช่วยสนับสนุนดัชนีฯ
+ ไทย : กลุ่มบลูชิพใหญ่ เด่นสุด สัปดาห์ที่ผ่านมา :
ดัชนีหุ้นกลุ่มบลูชิพขนาดใหญ่ กลุ่มอุตฯ แบงก์ พลังงาน วัสดุฯ นำขึ้นสัปดาห์ก่อน +2.7-3.2%w-w จากแรงซื้อลงทุนของกองทุนในประเทศ ขณะที่กลุ่ม ICTแย่สุด -0.21%w-w
+ ตลาดโภคภัณฑ์ ค่าระวางเรือพุ่งแรงจากเข้าสู่วัฎจักรขาขึ้นตามฤดูกาล
ผลจาก ปัญหา Geopolitical risks ส่งผลต่อความผันผวนในทิผศทางลดลงต่อ ราคาน้ำมันดิบ และทองคำ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นำโดยสหรัฐฯ และการคาดหวังต่อการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน รวมถึงวัฎจักรขาขึ้นตามฤดูกาล เป็นปัจจัยหนุนค่าระวางเรือเทกอง พุ่งขึ้นถึง +30.6%w-w เราคงคำแนะนำ ซื้อลงทุน PSL เก็งกำไร TTA
- ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : ดอลล์แข็งค่าเทียบยูโร เยน ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 แต่ด้วยระดับที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตะกร้าสกุลหลัก (DXYO) เริ่มทรงตัวเทียบกับ สกุลหลักๆ หลังจากแข็งค่ามากในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เป็นผลจาก Non-Commercial accounts เริ่มลดการ Long USD ลง $1bn และลดการ Short สกุล EUR ประมาณ $0.5bn. ส่วนสกุลเยน JPY มีแรงซื้อ Long คืน + $1.3bn แต่สะสมยังคงเป็น Short สูงถึง -$10.4bn. ทั้งนี้ เราคาดว่า อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้จะผันผวน ขึ้นอยู่กับ สุนทรพจน์ของประธานเฟด เยลเล่น ต่องานสัมนาใหญ่วิชาการสหรัฐฯ วันศุกร์นี้ โดยค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ จะกลับมาอ่อนค่าหากไม่มีการส่งสัญญาณ Exit Strategy เร็วๆนี้
ส่วนค่าเงินบาทต่อดอลล์ กลับมาแข็งค่า 0.84%w-w มาปิดที่ 31.86 บาทต่อดอลล์ล่าสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากคาดว่า กระแส FundFlow จะไหลกลับเข้ามาลงทุน จากแนวโน้มการจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่เร็วๆนี้

ประเด็นจับตา
1. +ประเด็นการเมือง: เข้าสู่โรดแมพระยะที่ 2 ประชุมสภาฯนัดแรก พิจารณาร่างงบประมาณปี 58 สรรหานายกฯ
ประเด็นการเมือง (Update):
สนช. ถก 'พ.ร.บ. งบ 58' วันนี้ คาดโหวตนายกฯ 21 ส.ค. สนช.ถกร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2558 วาระแรกวันนี้ หลังโปรดเกล้าฯ "พรเพชร" เป็นประธานสนช. "สุรชัย-พีระศักดิ์" เป็นรองประธาน. "ประยุทธ์"เตรียมนำทีมบิ๊กคสช.แจงงบ คาดโหวตเลือกนายกฯ วันที่ 21 ส.ค. ขณะ"ดุสิตโพล"ชี้ประชาชน ส่วนใหญ่อยากได้นายกฯ มีความเป็นผู้นำ-ครม.ซื่อสัตย์
'ประยุทธ์' นำทีมแจงร่าง พ.ร.บ. งบปี58
ในวันที่18 ส.ค. เวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะนำทีมคสช. เข้าชี้แจงร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดยหัวหน้าคสช. จะเป็นผู้นำเสนอด้วยตนเองในวาระที่ 2 เรื่องด่วนเรื่องที่ 3 ของระเบียบวาระการประชุมสนช. ครั้งที่ 2/2557 ที่อาคารรัฐสภา ภายหลังจากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานสนช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธาน สนช. คนที่ 1 และนายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธาน สนช. คนที่ 2

2. Fund Flow: กระแสเงินทุนยังไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชีย
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (8-13 ส.ค. 57) เงินทุนไหลเข้ากองทุนในตลาดเกิดใหม่ต่อเนื่อง
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนไหลกลับเข้ากองทุนหุ้น โดยกลับมาซื้อสุทธิ Equities Funds +$2.85bn. (จากสัปดาห์ก่อนขายหนักถึง -$16.3bn.)
กองทุนตลาดพัฒนาแล้วมีแรงซื้อกลับเล็กน้อย +$1.1bn (จาก -$20.0bn ในสัปดาห์ก่อน)
เงินทุนไหลเข้ากองทุนเอเชียเพิ่ม +$2.7bn. (จากสัปดาห์ก่อน +$174mn.) โดยเป็นการกลับมาซื้อกองทุนญี่ปุ่นสูงถึง +$1.8bn ขณะที่กองทุนอเมริกาเหนือมีเงินไหลกลับเล็กน้อย +$1.6bn (เทียบสัปดาห์ก่อนที่ถูกขายสูง -$18.6bn) ส่วนกองทุนยุโรปถูกขายหนักขึ้น -$3.5bn (จากสัปดาห์ก่อน -$2.0bn)
กองทุนในตลาดเกิดใหม่ มีแรงซื้อต่อเนื่องอีก +$1.8bn (จาก +$3.8bn ในสัปดาห์ก่อน)
โดยหลักเป็นการไหลเข้ากองทุนเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) และกองทุน GEM ที่ +$1.3bn และ +$713mn. ตามลำดับ (จากสัปดาห์ก่อน+$2.7bn. และ +$1.2bn.) โดยในเอเชียเงินทุนไหลเข้าสูงสุดในกองทุน จีน และฮ่องกงต่ออีก +$103bn. และ +$128mn.
6 ชาติเอเชียฯ กลับมาซื้อ เป้นสัปดาห์ที่ 13 ในรอบ 14 สัปดาห์
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า กลับมามีแรงซื้อสุทธิ +$833mn.(Vs สัปดาห์ก่อน -$233mn. และซื้อต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ สะสมรวม +$20.6bn.)
อินเดีย กลับมาถูกซื้อสุทธิสูงสุด +$491mn.(Vs สัปดาห์ก่อน -$309mn.) จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว ขณะที่กลุ่ม TIPs กลับมาถูกซื้อคืนปานกลาง นำโดย อินโดนีเซีย +$112mn. (Vs -$57mn.) ฟิลิปปินส์ +$77mn. สูงสุดรอบ15 สัปดาห์(Vs -$67mn.) ส่วนตลาดหุ้นไทย กลับมาซื้อเป็นสัปดาห์
แรก +$60mn. หลังขาย 2 สัปดาห์สะสม -$106mn. (แต่ก่อนหน้า 3 สัปดาห์ซื้อสะสม +$640mn.)
เกาหลีใต้ ยังคงมีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 12 แต่ด้วยปริมาณลดลงเหลือ +$166mn. (Vs +$840mn.) ขณะที่ไต้หวันมีแรงขายต่อเนื่อง แต่ด้วยปริมาณลดลงเหลือ -$19mn. (Vs -$651mn.
กองทุนไทยถูกขายลดลงเหลือเพียง -$0.2mn. (จาก -$30.2mn.) แต่หากรวมเงินทุนที่ไหลผ่านกองทุนอื่นๆ (ระดับภูมิภาค และกองทุน GEM) ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังมีเม็ดเงินกองทุนไหลเข้าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 อีก +$56.4mn. (สะสม 6 สัปดาห์ รวม +$269.9mn)

3. วันนี้ ประกาศตัวเลขจีดีพีไทยไตรมาสสอง KTZ คาด +0.5% YoY
เครื่องชี้เศรษฐกิจสำหรับไตรมาส 2 ยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้ ดัชนี KTZMICO Growth Index สะท้อนว่าจีดีพีไตรมาส 2 ที่จะรายงานในวันนี้ (18 ส.ค.) อาจขยายตัวเล็กน้อยเพียง 0.5% อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ส่วนใหญ่ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนและมีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังปัญหาการเมืองคลี่คลาย ปัจจัยเหล่านี้น่าจะสะท้อนว่าเศรษฐกิจน่าจะพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสที่ 1 ประกอบกับ คาดว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในเดือน ต.ค. ดังนั้นเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวแรงขึ้น แต่จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ที่อ่อนแอกว่าคาด และความไม่แน่นอนด้านนโยบายอาจชี้ว่าการฟื้นตัวในครึ่งหลัง อาจไม่แข็งแกร่งมากเท่ากับที่หลายฝ่ายคาดหวัง อนึ่ง เราคาดจีดีพีในช่วงครึ่งหลังของปี นาจะขยายตัวประมาณ 3.5%

4. จับตาประธานเฟดแถลงในงานสัมนาวิชาการ Jackson Hole
ทั่วโลกจับตาประชุมธ.กลางโลก "แจ๊คสันโฮล" 21-23 ส.ค. หาสัญญาณเฟดขึ้นดบ.ตลาดจับตาคำกล่าวเปิดงานของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ต่อสัญญานการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ (exit strategy) ทั้งนี้ จากผลสำรวจล่าสุดของรอยเตอร์ ที่ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ 74 รายในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจคาดว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นจนกว่าจะถึงไตรมาส 2/2015 และเฟดมีแนวโน้มสูงสุดที่จะปรับขึ้น ในเดือนมิ.ย.2015
ผลสำรวจนี้สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ในเดือนก.ค.แต่แตกต่างเล็กน้อยจากผลสำรวจความเห็นบริษัทดีลเลอร์พันธบัตรชั้นนำ ในย่านวอลล์สตรีทในช่วงต้นเดือนนี้ โดยบริษัทดีลเลอร์ชั้นนำที่ติดต่อทำธุรกิจโดยตรงกับเฟดคาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วง ครึ่งหลังของปี 2015
ทั้งนี้ เราคาดว่าเฟดจะยังไม่มีการแถลงนโยบายหรือส่งสัญญานใดๆ ที่จะออกมา surprise ตลาดในช่วงนี้ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงล่าสุดเริ่มชะลงลง

5. แรงขาย Trigger Funds :
คาดว่าหากดัชนีฯปรับขึ้นถึงระดับ 1560 จุด จะมีทริกเกอร์ฟันด์ 4 กองทุนมูลค่า 660 ลบ. ถึงเป้าหมาย ได้แก่ S-MS8RT NAV 200 ลบ. TISEQT10 มูลค่า 20 ลบ. TISEQT11 มูลค่า 340 ลบ. UOBT3P3 มูลค่า 100 ลบ. ขายเฉพาะ 3% แรกก่อน และหากดัชนีฯ แตะระดับ 1600 จุด จะมี 5กองทริกเกอร์ฟันด์ มูลค่า 1.63 พันลบ. ถึงเป้าหมาย ได้แก่ TISEQT15 มูลค่า 550 ลบ. UOBT 14 490 ลบ. UOBT17 330 ลบ. ONE-SPOT5/2 มูลค่า 250 ลบ. และ KFEQ3P 3-36 ลบ. ขายเฉพาะ 3% แรกก่อน

6. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
หุ้นที่ประกาศกำไรสุทธิดีกว่าตลาดคาด แนะนำ ANAN TMB LHBANK TUF SIRI IVL THCOM
ประมาณการกำไรเติบโตปี 57F-58F
คาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 57F และ 58F ปรับลดลงอีกเล็กน้อยในเดือน ก.ค. อิง consensus ที่คาดผลกำไรของตลาดฯ เติบโตที่ 13.4% และ 14.7% จากเดิม 13.7% และ 14.8% ตามลำดับ แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมีทิศทางดีขึ้น และเริ่มเห็นการฟื้นตัวของบางกลุ่มอุตสาหกรรมแล้วก็ตาม แต่จากผลกำไรใน 2Q57 ที่ยังรับผลกระทบทางการเมืองอยู่ ทำให้นักวิเคราะห์ยังไม่ปรับประมาณการณ์กำไรปีนี้ขึ้น สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ +6.0% กลุ่ม ยานยนต์ +2.2% และมีเดีย +1.4% ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F ลดลงสูงสุด ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว -5.9% กลุ่มธนาคาร -4.5% และกลุ่มปิโตร -2.9%
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก Target Lowe’s HPHome Depot (20/8) GAP Staple (21/8)

7. +/-รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : ไฮไลท์อยู่ที่
วันจันทร์ที่ 18 ส.ค. : Thailand 2Q57F GDP คาดเติบโต 0%y-y(Vs 1Q57 -0.6%y-y) USA:NAHB Housing market index ส.ค. คาดเท่าเดิม 53 EU:ดุลการค้ามิย คาดลดลงเหลือ +14.9 พันล้านยูโร (Vs +15.3พันล้านยูโร)
วันอังคารที่ 19 ส.ค. : USA เงินเฟ้อ ก.ค. คาด +0.1%m-m(Vs 0.3%) Core CPI +0.2%m-m (Vs 0.1%) ยอดขายบ้านใหม่ กค คาด +970k(Vs +893k)
วันพุธที่ 20 ส.ค. : รายงานผลประชุมเฟดเดือน ก.ค. ของเฟดและ BoE Japan:ส่งออก ก.ค. +3.8%y-y (Vs -1.9%)
วันพฤหัสบดี ที่ 21 ส.ค. : USA: Phil Fed Survey ส.ค. คาด 20 (Vs 23.9) Existing Home sales ก.ค. คาด +5ล้านราย (Vs +5.04 ล้านราย) China: HSBC PMI mfg ส.ค. คาด 51.5 (Vs 51.7) Japan: PMI Mfg ส.ค. คาด 51.5 (Vs 50.5)
วันศุกร์ที่ 15 ส.ค. : USA: Jackson Hole symposium, China: FDI ก.ค. คาด +0.8%y-y (Vs 0.2%) Taiwan: อัตราว่างงาน ก.ค. คาด 4%

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
อังกฤษ เผยเศรษฐกิจขยายตัว 3.2% ใน Q2 สูงสุดรอบกว่า 6 ปี สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS)ของอังกฤษเปิดเผยว่า เศรษฐกิจอังกฤษยังคงขยายตัวแข็งแกร่งในไตรมาส 2 ขณะที่มีการทบทวนปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 3.2% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัว 0.8% ในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย. เมื่อเทียบรายไตรมาสสอดคล้องกับรายงานเบื้องต้นในเดือนที่แล้ว และเป็นอัตราเดียวกับในไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค. เมื่อเทียบรายปี เศรษฐกิจขยายตัว 3.2% ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่คาดไว้ที่ 3.1% ในข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2007
แบงก์ชาติมาเลเซียเผยเศรษฐกิจโตเกินคาด 6.4% ในไตรมาส 2 ธนาคารกลางมาเลเซียรายงานในวันนี้ว่า เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัว 6.4% ในไตรมาส 2 ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ โดยได้แรงหนุนจากยอดส่งออกที่แข็งแกร่งและผู้บริโภคยังคงมีความเชื่อมั่น แม้ธนาคารกลางดำเนินมาตรการ เพื่อชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค ท่ามกลางระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นก็ตาม ธนาคารกลางมาเลเซียยังรายงานว่า เศรษฐกิจในไตรมาส 2 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่เติบโต 6.2%

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดขึ้นจากแรงซื้อกลุ่มเทคโนโลยี
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกต่อเนื่อง โดยดัชนี DJIA ปิดบวก 91.26 จุดหรือ 0.55% สู่ระดับ 16,651.80 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขึ้น 12.97 จุด หรือ 0.67% สู่ระดับ 1,946.72 จุด Nasdaq พุ่งขึ้น 44.88 จุด หรือ 1.02% สู่ระดับ 4,434.13 จุด หุ้นทั้ง 10 กลุ่มในดัชนี S&P ปรับตัวขึ้น แม้หุ้นบางตัว ร่วงลงจากความผิดหวังเกี่ยวกับผลประกอบการและการปรับลดคาดการณ์รายได้ลงก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์กลุ่มการขนส่งบวก 0.7% โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเข้าสู่แดนบวกในปีนี้อีกครั้ง ขณะที่การพุ่งขึ้นของหุ้นไบโอเทคเทคโนโลยี ทำให้นักลงทุนไม่สนใจข้อมูลยอดค้าปลีกที่น่าผิดหวัง
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกทรงตัวในเดือน ก.ค. โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันของยอดขายในบริษัทตัวเแทนจำหน่ายรถยนต์

+ ตลาดหุ้นยุโรป กลับมาปิดสูงขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดสูงขึ้น โดย FTSE ปิดเพิ่มขึ้น 24.26 จุด หรือ 0.37% สู่ 6,656.68 จุด ดัชนี CAC40 ปิดขึ้น 32.63 จุด หรือ 0.78% สู่ 4,194.79 จุด และ DAX ปิดพุ่ง 129.41 จุด หรือ 1.43% สู่ 9,198.88 จุด ดัชนีหุ้นสำคัญๆในตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก เพราะได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มบริษัทประกัน ประกอบกับนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

+ราคาน้ำมันดิบ ปิดสูงขึ้นจากปัญหาในจีเรีย
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ย. ปิดเพิ่มขึ้น 1.26 ดอลลาร์ สู่ 104.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ย. ปิดสูงขึ้น 0.22 ดอลล์ต่อบาร์เรล มาปิดที่ระดับ 97.59ดอลล์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นกว่า 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 13 เดือนในช่วงแรก โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์ปั่นป่วนวุ่นวายในอิรักและลิเบีย ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลกับปัญหาขัดข้องด้านอุปทานน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า มีการขายน้ำมันดิบไนจีเรียได้ในตลาดน้ำมันดิบแอฟริกาตะวันตก โดยขณะนี้น้ำ มันดิบไนจีเรียสำ หรับการส่งมอบในเดือน ก.ย. มีเหลืออยู่ในตลาดเพียง 10 คาร์โก โดยลดลงจากระดับใกล้ 20 คาร์โก ในช่วงต้นสัปดาห์นี้

+ราคาทองคำ ปิดสูงขึ้น หลังยอดค้าปลีกสหรัฐฯต่ำกว่าคาด
วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม กลับมาปิดขึ้นเล็กน้อย 3.90 ดอลล์ มาปิดที่ระดับ 1,314.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.02 ดอลลาร์ สู่ 1,312.36 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากยอดค้าปลีกที่อ่อนแอของสหรัฐบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง และส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 จากผลกระทบฤดูกาล
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้นแรง 35 จุด มาปิดที่ 871 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!