WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       ปัจจัยแวดล้อมยังหนุนให้ตลาดหุ้นไทยปรับฐานต่อไป จึงยังเน้นกลยุทธ์เดิม คือ ปรับพอร์ตขายหุ้น เกิน Fair Value และ P/E สูง และยังเลือกซื้อหุ้นปันผลเด่น (STPI, SRICHA, BEC, RS, AIT) และยังเลือก TASCO เป็น Top pick ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลง และการจัดสรรงบประมาณปี 2558 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อนหน้า

ไทยถูกขายหนักกดดันเงินบาทอ่อนค่า
        วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 ราว 421 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากวันก่อนหน้า โดยยังเป็นการขายในไต้หวันเป็นหลักคือ ขายสุทธิมากถึง 404 ล้านเหรียญฯ (ต่อเนื่องเป็นวันที่ 14) เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 3 เท่าตัว ตามมาด้วยไทยขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 54 ล้านเหรียญฯ (1.7 พันล้านบาท vs วันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 121 ล้านบาท) อินโดนีเซียขายสุทธิเป็นวันที่ 5 ราว 45 ล้านเหรียญฯ แต่ลดลง 62% จากวันก่อนหน้า สวนทางกับฟิลิปปินส์ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 67 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขาย 3 วันหลังสุด) และเกาหลีใต้สลับมาซื้อสุทธิราว 15 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิ 2 วันก่อนหน้า)

      เป็นที่สังเกตว่าต่างชาติยังคงซื้อ-สลับขายรายประเทศ โดยเฉพาะไต้หวันที่มีปัจจัยกดดันอย่างหนักจากการประท้วงในฮ่องกง ขณะที่การขายสุทธิวานนี้ของต่างชาติในไทย ถือเป็นยอดขายสุทธิสูงสุดในรอบ 2 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเป็นการสลับขายตามปกติเท่านั้น หลังจากนักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. 2557 รวมกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท
      ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ไทย วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 3.2 พันล้านบาท รวมขายสุทธิในเดือนนี้ 1.8 หมื่นล้านบาท กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแตะระดับ 32.39 บาทต่อเหรียญฯ ในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้ถูกกดดันจากเงินดอลลาห์ฯ ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก

ยังมีกระแสปรับลด GDP หลังส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าคาด
      กระทรวงพาณิชย์ รายงานการส่งออก เดือน ส.ค. ยังคงติดลบ 7.4%yoy (เพิ่มขึ้นจาก ก.ค. ติดลบ 0.85 % ซึ่งติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และติดลบสูงสุดรอบ 32 เดือน) ซึ่งทำให้ 8M57 ยอดส่งออกยังติดลบ 1.36% โดยเป็นการหดตัวของสินค้าหลักๆ ได้แก่ รถยนต์ และส่วนประกอบ ติดลบ 8.8%yoy โดยเฉพาะการส่งออกไปอินโดนีเซียที่ ติดลบ 23.8%yoy เนื่องจากอินโดฯ เพิ่มการผลิตในประเทศ ตามมาด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้า ติดลบ 2.6%yoy น้ำมันสำเร็จรูป ติดลบ 16%yoy และ ยางพารา ติดลบ 23.3%yoy

แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าสินค้าที่ยังมีการขยายตัว คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ) ขยายตัว 7%yoy
แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว 9.1%yoy สินค้าเกษตรได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และน้ำตาล ขยายตัว 30.6%yoy, 32.9%yoy และ 17.6%yoy ตามลำดับ ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่ขยายตัวในเดือนนี้ มีเพียงกลุ่มเดียวคือ CLMV (กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และเวียดนาม) เพิ่มขึ้น 12.6%yoy แต่ตลาดหลักๆ ล้วนแต่หดตัว นำโดย สหรัฐ -0.3%, ยุโรป ติดลบ 5.7%, ญี่ปุ่น -7.6%yoy และ จีน -14.4%yoy

ส่วนการนำเข้าเดือน ส.ค. 57 ติดลบมากถึง 14.17%yoy (vs -2.86% ก.ค.) และ 8M57 ติดลบ 12.69%yoy โดยเป็นการลดลงมากที่สุดในสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ -24.2%yoy ตามมาด้วยสินค้ากลุ่มทุน -21.1%yoy และมูลค่าน้ำมันดิบ (17.9% ของมูลค่าการนำเข้ารวม) -10.1% จึงทำให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 เกินดุล 1,146.3 ล้านเหรียญฯ และ 8M57 เกินดุล 280 ล้านเหรียญฯ

ภาคส่งออกที่ฟื้นตัวล่าช้าดังกล่าว ทำให้กระทรวงฯ เตรียมปรับลดเป้าหมายการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2557 โดยคาดว่าจะเหลือเพียง 0.5-1% (จากเดิม 3.5% และใกล้เคียงกับ ASP คาดไว้ 1%) และเหตุผลเดียวกัน ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เตรียมปรับลด GDP Growth ปี 2557 ลง จากกรอบเดิมที่ 1.5-2.5%yoy (คาดการณ์ส่งออกไว้ต่ำกว่า 1%) เนื่องจากดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในงวด 2H57 อาจฟื้นตัวล่าช้า ทั้งการบริโภคภาคครัวเรือน สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม -0.8%yoy และการลงทุนเอกชน สะท้อนจากการลงทุนในหมวดก่อสร้าง -14.1%yoy และยอดขายปูนซิเมนต์ที่ -2.7%yoy รวมทั้งภาคท่องเที่ยวที่ยังคงหดตัว

ปัจจัยรอบด้านกดดันตลาดหุ้นโลกปรับฐานต่อ
หลังจากสหรัฐรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งทั้งด้านภาคครัวเรือน และภาคการผลิตดังกล่าวเมื่อวานแล้ว รวมถึงตลาดคาดหมายว่าตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัว และอาจจะทำให้อัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าล่าสุดที่ในระดับ 6.1% อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามรายงานตัวเลขอัตราการว่างงานใหม่ 3 ต.ค. นี้ ซึ่งอาจทำให้การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐเร็วกว่าคาดหรือก่อน 2H58 และถือว่าเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 7 ปี
ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าจะหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่แข็งค่ากว่า 7.36% เมื่อเทียบกับเงินยูโร นับจากต้นเดือน ก.ค. 2557 เป็นต้นมา (ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 22 เดือน) และ เช่นเดียวกับเงินปอนด์อังกฤษก็แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี เมื่อเทียบกับเงินยูโร (สหรัฐและอังกฤษจะเป็น 2 ประเทศแรกในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ย จากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง) ตรงกันข้ามกับค่าเงินยูโรที่อ่อนกว่า 8.8% นับจากระดับสูงสุดที่ 1.391 เมื่อ 7 พ.ค. 2557 และน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ จากผลของการใช้ดอกเบี้ยต่ำจนถึงติดลบ และ แผนการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ โดยเชื่อว่าเงินยูโร มีแนวโน้มอ่อนค่าไปทดสอบ 1.2114 จุด (เป็นต่ำสุดที่ทำไว้ 23 ก.ค. 2555 หรือลดลง 4.45%) และ ถัดไปคือ 1.1973 จุด (จุดต่ำสุดทำไว้เมื่อ 3 มิ.ย. 2553 หรือ ลดลงอีก 1.16%) โดยรวม การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ได้กดดันสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งทองคำ และ น้ำมันดิบโลก ต่อไป
ในสถานการณ์ปัจจุบันดูเหมือนจะสวนทางกับเหตุการณ์ในหลายปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2551 ซึ่งพบว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวกว่า 25% เมื่อเทียบกับสกุลหลักของโลก ซึ่งเป็นผลจากการอัดฉีดเงินเข้าระบบ ผ่าน QE 3 รอบเป็นเงินทั้งสิ้น 2.57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในระหว่างปี 2551-2553 ขณะที่อังกฤษใช้มาตรการเงินผ่อนคลายทางการเงิน หรือ QE ตั้งแต่ปี 2552 – 2557 เป็นจำนวนเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์ และ ญี่ปุ่นมีการใช้มาตรการ QE มาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน เป็นเงิน 2ล้านล้านเหรียญฯ ขณะที่ปัจจุบันยังคงใช้มาตรการ QE 60-70 ล้านล้านเยน จากเป้าหมาย 101 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 128% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (สหรัฐ +163%, เยอรมัน +171%, ฝรั่งเศส +82%, ญี่ปุ่น +131% อังกฤษ +95%) ขณะที่ประเทศในกลุ่ม TIP ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยกว่า 300% (อินโดนีเซีย 347% ฟิลิปปินส์ 319% และไทย 315%) ส่วนอินเดียให้ผลตอบแทนราว 230% และจีนให้ผลตอบแทนต่ำสุดเพียง 35% เท่านั้น ในช่วงเดียวกัน
ดังนั้น การถอนมาตรการ QE ของสหรัฐจะจบสิ้นในปลายเดือน ต.ค. พร้อมกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น น่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกปรับฐานหรือแกว่งตัวลงในทิศทางขาลง หลังจากที่ปรับขึ้นมามากในช่วงดังกล่าว สะท้อนได้จากงวด 1H57 ตลาดหุ้นของประเทศพัฒนาให้ผลตอบแทนชะลอตัวลงเหลือเพียง 2% ยกเว้นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังให้ผลตอบแทนสูงเฉลี่ย 15% ในช่วงเดียวกัน ด้วยปัจจัยแวดล้อมปัจจุบันทำให้เชื่อว่าตลาดหุ้นโลก ได้ตอบรับการฟื้นตัวไปในระดับสูง หลังจากที่น่าจะได้เวลาพักฐาน และ ทบทวนถึงระดับพื้นฐานที่เหมาะสมของแต่ละตลาดอีกครั้ง กลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ปรับพอร์ตลงทุน โดยให้ถือเงินสด 70% และอีก 30% ถือหุ้น และเลือกซื้อหุ้นพื้นฐาน ที่ราคาตลาดต่ำกว่า Fair Value หรือขึ้นช้ากว่าตลาด (Laggards)
หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!