WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

“ซื้อตามค่าบวก...แต่ถ้าอ่อนต่อมีแนวเด้ง 1530, 1510”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SIRI (จากซื้อเป็นถือ)
       สรุปปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ดิ่งแรงและปิดตลาดในระดับเกือบต่ำสุดของวัน (ปิด 1543.13 ลดลง 27.15 จุด หรือ -1.71%) โดยตลาดหุ้นไทย Underperform ภูมิภาคอย่างชัดเจน นักลงทุนสถาบันในประเทศนำขายสุทธิ 3 พันล้านบาท ต่างชาติ & พอร์ตบล.ซื้อสุทธิแต่ไม่มาก รายย่อยซื้อสุทธิ 2.4 พันล้านบาท โดยรวมแล้วภาพตลาดเป็นลบ ถ้าไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน ก็เข้าโหมดของการปรับฐาน ซึ่งอาจเป็นลักษณะของการร่วงลงต่อ หรือรีบาวด์น้อยแล้วลงทำ New Low หรือทำ Sideway ออกด้านข้างไปในระยะหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มตลาดที่ใกล้ Zero Return หรือเป็น NegativeReturn เราเห็นว่าควรลดพอร์ต Equity เพราะการถือครองสินทรัพย์ในตลาดเงินที่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้นใน MoneyMarket, หุ้นกู้, พันธบัตร ฯลฯ ยังให้ Return ที่เป็นบวกได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ความกังวลเรื่องต่างๆ คลี่คลายลงรวมถึงดัชนีตลาดกลับไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 1 วันได้อีกครั้งหนึ่ง ก็ค่อยปรับกลยุทธ์เป็นซื้อ Equity อีกรอบ สำหรับหุ้นที่มีโอกาสปรับลงน้อยกว่าตลาดในช่วงปรับฐาน คือ หุ้นที่มีสภาพคล่องดีและจ่ายปันผลสูง เช่น ADVANC, INTUCH, DCC, DELTA, BTSGIF, TRUEIF เป็นต้น แต่ถ้าสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ แม้จ่ายปันผลสูง ราคาหุ้นก็อาจร่วงลงแรงกว่าตลาดได้ ส่วนหุ้นกลุ่มที่เราเห็นว่าน่าสนใจซื้ออ่อนตัว คือ กลุ่มค้าปลีก (หุ้นเด่น BIGC,CPALL, MC) ท่องเที่ยว & อาหาร (หุ้นเด่น CENTEL, MINT, GFPT, TUF) ซึ่งมองว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวได้ตั้งแต่ 4Q57 เป็นต้นไปเพราะเป็น Highseason ของธุรกิจ สำหรับหุ้นพื้นฐานแนะนำลงทุนวันนี้เป็น CPALL

       กลยุทธ์ทางเทคนิค : ซื้อใหม่เน้นซื้อตามค่าบวก ถ้าเป็นลบให้รอซื้อที่แนวเด้ง 1530-1510 จุด โดยการบวกของดัชนีหรือรีบาวด์จากแนวเด้งมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1550-1560 จุด ส่วนหุ้นที่ราคามีโอกาสทำ New High เมื่อพิจารณาจากสัญญาณทางเทคนิค ประกอบด้วย MIDA, ACD, PCSGH (สีน้ำเงินคือ หุ้นที่เข้ามาใหม่ใน List) ส่วนหุ้นที่แนะนำและปรับขึ้นมาอยู่ในพื้นที่น่าหาจังหวะ Take Profit รอบสั้น คือ ECL, SUPER, SOLAR หุ้นที่หลุด List –VIH, NEP, SUSCO, SVOA, VGI

Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ
- เยอรมนี : ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค.หดตัว 5.7% หนักสุดนับตั้งแต่ปี 52 และแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 2.5% บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง
• ญี่ปุ่น : รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นเรื่องปรับขึ้นภาษีขาย (SalesTax) กลางพ.ย.57 โดยตามแผนจะปรับขึ้นจาก 8% เป็น 10% ในเดือนต.ค.57 ทั้งนี้เมื่อ 1 เม.ย.57 ได้ปรับขึ้นจาก 3% เป็น 8% มาแล้ว และทำให้การบริโภคชะลอตัวไประยะหนึ่ง (แต่ 1-2 เดือนก่อนปรับขึ้น ยอดค้าปลีกสูงมากเพราะประชาชนเร่งซื้อก่อนขึ้นภาษี)
- จีน : ธนาคารโลกปรับลด GDP Growth ปี 57-58 เป็น 7.4% และ7.2% โดยการแก้ปัญหาประสิทธิภาพ การควบคุมหนี้สินรัฐบาลท้องถิ่นรวมถึงมลภาวะที่รุนแรง ทำให้การลงทุนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่ก็เชื่อว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะไม่รุนแรง และกระทบต่อประเทศอื่นๆ ไม่มาก สำหรับการประท้วงในฮ่องกง คาดว่าจะกระทบเศรษฐกิจจีนไม่มาก ส่วนทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6.9% ในปี 57 (เดิม 7.1%)
• สหรัฐ : รอปัจจัยใหม่ นักลงทุนจับตาดูรายงานการประชุม FOMCประจำวันที่ 16-17 ก.ย. ซึ่งจะเปิดเผยในวันที่ 9 ต.ค. (เวลาไทย) รวมทั้งการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทเอกชนสหรัฐ
• ดัชนี DJIA ลดลงเล็กน้อย โดยปิดที่ 16,991.91 จุด (-17.78 จุด หรือ-0.10%) โดยตลาดมีแรงกดดันจากการคาดการณ์ว่าเฟด อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดหลังตัวเลขภาคแรงงานเดือนก.ย.ออกมาแข็งแกร่งเกินคาด
• สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเล็กน้อย โดย WTI ส่งมอบพ.ย.เพิ่ม 60เซนต์ ปิดที่ 90.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT เพิ่ม 48 เซนต์ ปิดที่92.79 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุนระยะสั้น คือ ค่าเงิน US$ ที่อ่อนลง &การซื้อเก็งกำไร
+ สัญญาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 14.4 ดอลลาร์หรือ +1.21% ปิดที่ 1,207.3 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากแรงซื้อเก็งกำไรหลังร่วงแรง & การอ่อนค่าของ US$ปัจจัยในประเทศ & ข่าวหลักทรัพย์เด่น
• ไทย : ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ปีนี้เป็น 1.5%(เดิม 3.0%) ทั้งนี้อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้าเพราะถูกจำกัดด้วยหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูง ภาคส่งออกก็ไม่ขยายตัว ส่วนปี 58 คาดว่าการลงทุนภาครัฐและท่องเที่ยวจะเติบโตดีขึ้น ทำให้ขยายตัวได้ 3.5% แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่องก็จะหนุนให้เศรษฐกิจไทยโตได้ดีกว่านี้

- กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันหนี้ โดยการแก้ไขกฏครั้งนี้ทำให้ธนาคารเรียกร้องความเสียหายเรื่องภาระหนี้สินจากผู้ค้ำประกันได้ช้าลง เพราะต้องติดตามหนี้ค้างชำระจากลูกหนี้ให้จนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อน จึงจะเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันได้ โดยเกณฑ์ใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่ม.ค.58...เราคาดว่าเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การอนุมัติสินเชื่อจะมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก และสินเชื่อรายย่อย เช่น เช่าซื้อรถยนต์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางธนาคารพาณิชย์ก็มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออยู่แล้ว โดยเฉพาะสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งมีหนี้สินสูง ดังนั้นจึงคาดว่าผลกระทบต่อผลประกอบการจะไม่รุนแรง แต่ระยะสั้นอาจกระทบกับ Sentiment การลงทุนในธนาคารที่เน้นลูกค้ารายย่อย & สินเชื่อเช่าซื้อ เช่น BAY, TISCO, KKP, TCAP ก่อน
• HANA : ได้รับผลกระทบเรื่องซัมซุงจะขยายโรงงานชิปในเกาหลีใต้จำกัด ทั้งนี้มีข่าวว่าซัมซุงจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิป (ความจำและประมวลผล) เพิ่มเติมอีก 1.5 หมื่นล้านUS$ หรือราว 4.8 แสนล้านบาทในเกาหลีใต้ โดยคาดว่าโรงงานจะแล้วเสร็จปี 2560...เป็น Sentiment ทางลบกับ HANA ส่วนผลกระทบจริงๆ คาดว่าจะจำกัด เพราะ 1) HANA ขายสินค้าให้กับซัมซุงน้อยกว่า 5% ของรายได้รวมของบริษัท และ 2) ในอนาคตก็ยังไม่แน่นอนว่าซัมซุงจะยกเลิกคำสั่งซื้อกับ HANA เพราะทางซัมซุงอาจจะคงคำสั่งซื้อไว้เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจก็เป็นได้
+ PTT : ได้รับผลดีจากการปรับโครงสร้างราคา NGV & LPG กระทรวงพลังงานจะเร่งหาแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาที่คาดว่ามีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมาก ควบคู่กับการปรับโครงสร้างราคา NGV และ LPG โดยเราเชื่อว่าการปรับขึ้นจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ปัจจุบันราคา LPG ต่ำกว่าตลาดราว 9-11%) สำหรับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 กพช.จะประชุมวันที่ 22 ต.ค.นี้ คาดว่าจะมีการต่ออายุสัมปทานเดิมเพื่อไม่ให้ขาดแคลนพลังงาน แต่ถ้าเป็นในทางแย่ที่สุดคือไม่ต่ออายุ ทาง PTT ก็มีแผนรองรับ คือ การสร้างคลังสำรองเพื่อเก็บก๊าซ LPG ที่นำเข้า 6-8 คลัง (40-50 ล้านตัน) แต่ต้นทุนพลังงานของไทยจะสูงขึ้น และค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นจากปัจจุบันที่ 3.9 เป็น 5.5 บาท/หน่วย เรายังแนะนำซื้อ PTT
• BTS : ขายบ.ย่อยให้ NPARK โดยรับเป็นหุ้น & วอร์แรนต์ & เงินสดบอร์ดมีมติขาย 2 บริษัทย่อยด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ NPARK โดยรับค่าขายเป็นหุ้น & วอร์แรนต์ และ/หรือเงินสด โดยในที่สุดแล้ว BTS จะเข้าไปถือหุ้น NPARK ไม่เกิน 37.06% ทั้งนี้ 2 บริษัทอสังหาฯข้างต้นมีที่ดินรวมกัน18 ไร่ มูลค่าตามราคาตลาด 8-10 พันล้านบาท
• การเมือง : ผบ.ทบ.กล่าวว่ายังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกในระยะใกล้นี้โดยต้องดูสถานการณ์บ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยอย่างแท้จริงก่อน
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 arparporns@th.dbsvickers.com 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!