WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ไทยช่วยไทย-เก็งกำไรเพิ่ม
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ แกว่งแคบ เนื่องจากตลาดหุ้นหลัก USA UK ปิดทำการ
      ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : ตลาดหุ้นสหรัฐฯและUK ปิดทำการเนื่องในวัน Memorial day และวันหยุดธนาคาร, Japan รายงานประชุม BOJ ที่ผ่านมา
      -วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายต่อ -6.78 พันลบ. (ขายสะสม 4 วัน รวม -2.00 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +859 ลบ. (ซื้อ
สะสม 10 วัน รวม +1.49 หมื่นลบ.)
      +/-การเมือง สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผบ.ทบ. ยก 3 เหตุผลแจงสหรัฐฯ ควบคุมอำนาจการปกครอง และคสช.เตรียมกู้ชำระหนี้คืนชาวนา เร่งทำแผนงบฯ ปี 58 คงเป้าจำนวนนักท่องเที่ยว ฯลฯ ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ตลาดจับตา คือ แนวทางการปฏิรูป กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ฯลฯ
       -Fund Flow สัปดาห์ก่อน กระแสเงินทุนโลก ขาย-หุ้น ซื้อ-พันธบัตร แต่มีแรงซื้อเพิ่มใน GEM ยกเว้นไทย ที่ขายเพิ่มสัปดาห์ก่อน -1.97 หมื่นลบ.(ดูรายงาน) ต้นทุนระยะสั้นฝรั่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1387 จุด
คาดดัชนีฯ วันนี้ ปรับสูงขึ้น แนวต้าน 1405/1416 จุด หลังมีสัญญาณพัฒนาการการเมือง 3 โรดแมพ และกระตุ้นเศรษฐกิจจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 57 และปี 58
        กลยุทธ์: เน้นซื้อเก็งกำไรที่แนวรับ 1370/1380จุด กลุ่มอิงการส่งออก (จากค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) ส่วนกลุ่มท่องเที่ยว เน้นเก็งกำไรเมื่ออ่อนตัว AOT

 

หุ้นในกระแส:
        หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.5%) ได้แก่ SUTHA SUPER PPP GOLD UTP BMCL RPC SITHAI EE VIH หุ้นที่ลงกว่า 3.0% AJP STEC TRUBB UMI GRAMMY SC
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTTGC +329 PTTEP+159 IVL +133 ด้านขาย AOT-528 KBANK-239 INTUCH -188 DTAC-187 SCB -140
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 337 ADVANC 251 PTT 99

 

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ ปรับสูงขึ้น แนวต้าน 1405/1416 จุด หลังมีพัฒนการการเมืองเกี่ยวกับแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ คงคำแนะนำ เก็งกำไรเมื่อดัชนีฯ อ่อนตัว โดยเฉพาะบริเวณแนวรับ 1370จุด กลุ่มอิงการส่งออก (ค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) เก็งกำไร AOT
       คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ ปรับสูงขึ้น แนวต้านแรก 1423 จุด (แนวต้านย่อย 1405/1416 จุด) ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1375 จุด แรงซื้อของนักลงทุนในประเทศที่มีมุมมองเชิงบวกหลังเกิดรัฐประหาร ยังคงเป็นปัจจัยสนุนตลาด และคาดว่ามีแรงซื้อเพิ่ม โดยปัจจัยบวกระยะสั้นคือ การมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้า คสช. (เวลา 10:49 น.วันนี้) และการประกาศโรดแมพ 3 ช่วงสู่เลือกตั้ง โดยมีมาตรการเร่งด่วนคือ มาตรการเร่งจ่ายหนี้ชาวนา 8 แสนราย กว่า 9.2 หมื่นลบ. (กู้จากสถาบันการเงินในประเทศ 5 หมื่นลบ. กู้ จากสภาพคล่องจาก ธกส. 4 หมื่นลบ.) แผนการจัดทำงบประมาณปี 58(คาดทันใช้เดือน ต.ค. ปีนี้) แผนสนับสนุนปริมาณนักท่องเที่ยว (เสนอยกเลิกเคอร์ฟิว แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ) ฯลฯ แต่อาจมี Negative Sentiment จากแรงซื้อต่างชาติยังคงไม่เกิดขึ้น อิงแนวโน้มการเลือกตั้งใหม่อาจจะกินระยะเวลานานกว่าครั้งก่อน (15 เดือน) เราคงคำแนะนำเลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์ (CPALL) เก็งกำไรกลุ่มอิงการบริโภคและนโยบายรัฐ KBANK SCB SPALI STEC และหุ้นท่องเที่ยวที่ดิ่งลงแรง AOT ที่แนวรับ 1375/1350 จุด
        การเมืองในประเทศ - ตลาดจะจับตาพัฒนาการทางการเมือง หลังการทำรัฐประหารไปเมื่อเย็นวันพฤหัสทีผ่านมา ประเด็นด้านบวก คือ การคาดหวังว่า คณะรัฐประหารจะประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่เร็วๆ นี้ (เป็นไปได้ว่าอาจมีการจัดตั้งภายใน 2-3 สัปดาห์) ผู้นำปฏิวัติอาจแต่งตั้งผู้นำทางทหารคนใดคนหนึ่ง หรือผู้ที่มีความใกล้ชิดกันมาเป็นผู้นำรัฐบาลรักษาการ ส่วนการเลือกตั้งครั้งใหม่คาดว่าจะไม่เกิดขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้าอิงนโยบายของคณะรัฐประหาร จะเน้นรักษาความสงบเรียบร้อยและปรับสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นจึงจะเน้นปฏิรูปการเมือง และนโยบายด้านเศรษฐกิจตามลำดับ (Vs ครั้งก่อนใช้เวลา 2 ไตรมาสในการฟื้นฟูประเทศ ผ่านการใช้จ่ายภาครัฐฯ)
ปัจจัยต่างประเทศ - อาจมีประเด็นลบต่อสินทรัพย์เสี่ยงจากรายงาน 1Q57F GDP ครั้งที่ 2 ของสหรัฐฯ (ประกาศ พฤหัสฯ นี้) คาดเติบโต -0.6%q-q (Vs ครั้งแรก +0.1%q-q) อย่างไรก็ดี เราคาดว่า ข่าวร้ายจะเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากตลาดคาดว่าในช่วง 2Q-4Q57 GDP สหรัฐฯ จะเติบโตเฉลี่ย 3% ส่งผลทั้งปีนี้คาดเติบโต 2.4% (Vs คาดเดิม 2.8%) ในทางตรงกันข้าม จะเป็นผลบวกจากโอกาสที่ เฟดจะเร่งปรับขึ้น ดอกเบี้ยฯ นโยบาย จะไม่เกิดขึ้นในปีนี้ (+ พันธบัตร และหุ้นปันผลดี)
        กลยุทธ์: ระยะสั้น selective buy เน้นกลุ่มอิงการส่งออก (จากค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) ส่วนหุ้นเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แนะนำเก็งกำไร AOT หลังศสช.เตรียมแผนคงเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวเท่าปีก่อน
ระยะกลาง ลงทุนหุ้นรวมที่ 60% ของพอร์ต ประเมินการอ่อนตัวของดัชนีฯ เป็นโอกาสในการซื้อสะสมแนะนำหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ (STEC CPN QH SPALI KBANK SCB) (คาดการบริโภคและความเชื่อมั่นในประเทศค่อยๆ ฟื้นตัว หลังมีความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่)
ทางเทคนิค การสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้เมื่อวันศุกร์ สะท้อนตลาดยังคงมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1370-1460 จุด แนวต้านต่อไปอยู่ที่ 1405 จุด 1416 จุด 1426 จุด 1439 จุด และ 1460 จุดตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1370 จุด ขณะที่ โอกาสขึ้นหรือลง ยังคงมีความเป้นไปได้เท่ากัน อิงการเข้าเขตระดับ Neutral ของเครื่องชี้นำ Slow Stochastic, RSI

 

ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นจากปัจจัยการเมือง
         ช่วงสั้น – อิงสถิติการรัฐประหารครั้งก่อน พบว่า ดัชนีฯ เริ่มฟื้นตัวในสัปดาห์ที่ 3 (ดัชนีฯ ปรับลง -1.98% และ -2.95% ใน 1 และ 2 สัปดาห์หลังรัฐประหาร) และปรับขึ้น +2.6% และ+3.4% ในช่วง 1 และ 2 เดือนหลังรัฐประหาร เนื่องจากไม่มีเหตุรุนแรงหลังการรัฐประหาร ความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศฟื้นตัว โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 1 เดือนหลังรัฐประหารปี 49 ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร และกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 3 เดือนแรกได้แก่ โรงพยาบาล ค้าปลีก และอาหาร
เป้าหมายดัชนีปีนี้ เราจะมีการปรับปรุงดัชนีฯ เป้าหมายปีนี้จากปัจจุบันที่ 1440 จุด อิง P/E 14.4 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +0.5 SD) และอัตราการเติบโตผลกำไรที่ 11.7% โดยมี upside ที่ 1556 จุดหากเศรษฐกิจโตกว่าสมมุติฐานกรณีฐานที่ 2.0% ส่วน Bottom Up approach อยู่ที่ 1554 จุด

 

กลยุทธ์
       เราแนะนำ คงพอร์ตหุ้นที่ 60% ของพอร์ต และซื้อเก็งกำไร แนวรับ 1375/1350 จุด selective buy เน้นกลุ่มอิงการส่งออก (จากค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) ส่วนระยะกลาง การอ่อนตัวของดัชนีฯ เป็นโอกาสในการซื้อสะสม แนะนำหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ (STEC CPN QH SPALI KBANK SCB) (คาดการบริโภคและความเชื่อมั่นในประเทศค่อยๆ ฟื้นตัว หลังมีความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่)

สัปดาห์ที่ผ่านมา :
        +ตลาดหุ้นโลก: กลุ่ม TIPs ปรับตัวแย่กว่าตลาดหุ้นโลก นำลงโดย อินโดนีเซีย -1.16%w-w (ความเสี่ยงเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดี) ไทย -0.6%w-w (การทำรัฐประหาร) ขณะที่ตลาดหุ้นโลก นำโดย ญี่ปุ่น แนสแด็ค DAX ปรับขึ้นดีสุด จากรายงานภาคการผลิตจีน สหรัฐฯ ดีกว่าคาด
       -ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : สกุล USD กลับมาแข็งค่าเทียบตะกร้าสกุลหลัก จากรายงานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีปัจจัยสนับสนุน จากแรงขายสกุล EUR ในสัปดาห์ก่อน เพิ่มขึ้น -$2.1bn.เป็นสะสมสุทธิ -$2.5bn. เพราะคาดการณ์ว่า ECB จะออกมาตรการผ่อนคลายการเงินครั้งใหม่ในการประชุมครั้งหน้า และแรงขายสกุล JPY จำนวน -$0.4bn. เป็นสะสมสุทธิ -$7.5bn. ลุ้น BOJ อาจออกมาตรการผ่อนคลายรอบใหม่เช่นกัน เราคาดว่าทิศทางตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจะยังคงผันผวนสัปดาห์นี้ จับตา รายงาน 1Q57F GDP USA สัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะออกมาแย่ลง
        +ตลาดโภคภัณฑ์: ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบที่ลดลง และประเด็นลิเบีย ซีเรีย ขณะที่ราคาทองคำ ลดลงเล็กน้อย หลังจากจีน สหรัฐฯ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าคาด
      ดัชนีรายอุตสาหกรรม: การออกกฎอัยการศึกวันอังคารที่ 20/5 และการประกาศรัฐประหาร เย็นวันพฤหัสฯ 22/5 เป็นปัจจัยฉุดกลุ่ม แบงก์ ขนส่ง ลงสูงสุด -3.03%w-w -1.99%w-w ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ขึ้นดีกว่าตลาดฯ นำโดยกลุ่มอหาร +1.47%w-w ชิ้นส่วนอิเล็กฯ +0.52% และพาณิชย์ +0.43% ตามลำดับ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดในช่วงเกิดการรัฐประหารปี 49 ที่ผ่านมา
       -FUND FLOW: นักลงทุนต่างชาติสัปดาห์ก่อนขายสุทธิ -1.97 หมื่นลบ. สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ +8.89 พันลบ. พอร์ตโบรกเกอร์ซื้อ +2.77 พันลบ.
       เอเชียฯ มีแรงซื้อเพิ่ม ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน อินโดฯ แต่ขายสุทธิเพิ่มอย่างมีนัยในไทย
       สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเป็น +$2.9bn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$1.46bn.) ส่วนใหญ่เข้าลงทุนอินเดียอีก +$1.0bn.(สัปดาห์ก่อน +$1.4bn.) เกาหลีใต้ +$1.4bn.(Vs+$138mn.) ไต้หวัน +$301mn. Vs +$19mn.) ขณะที่กลุ่ม TIPs พบว่ามีแรงซื้อยังคงมีสูงสุดในอินโดนีเซีย +$437mn.(Vs +$177mn.) . รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ +$76mn. Vs +$68mn.) ส่วนไทยมีแรงขายสุทธิสูงสุด-$379mn. (Vs -$54mn. MTD -$490mn. หรือ -0.6% ของ Market Cap)
        กองทุนไทยยังถูกขายเป็นสัปดาห์ที่ 7, ยอดขายสะสมเข้าใกล้จุดต่ำสุดที่เคยเกิดในเดือน ก.ย. 2013
กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่ออีก -$31mn. จากสัปดาห์ก่อนที่ -$64mn. (ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 รวม -$165mn”) หากนับจากต้นปี 2013 ยอดสะสมลดลงมาเหลือ -$138mn. ใกล้ระดับต่ำสุดที่เคยเกิดในช่วงเดือน ก.ย. 2013 ที่ -$143mn.
ต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้นของต่างชาติ ในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1,387 จุด
การคำนวณของ KTZmico จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปีนี้ (เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2014) พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติรอบนี้ (ถ่วงน้ำหนักด้วยดัชนีฯ) อยู่ที่ 1,387 จุด และมีปริมาณหุ้นในมือเหลืออีกประมาณ 8.5 พันล้านบาท

 

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตาการตั้งรัฐบาลใหม่ แนวทางการปฏิรูป และท่าทีต่างประเทศ
ประเด็นการเมือง (Update):
        คลังเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ - นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดคลัง และปฏิบัติหน้าที่ รมว.คลังตามคำสั่งของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เรียกประชุมผู้บริหารคลังทั้งหมดเพื่อเตรียมมาตรกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งด่วน เบื้องต้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาจะต้องเรียกความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เช่น การทำงบประมาณปี 58 เพื่อให้ใช้ได้ทัน 1 ต.ค.57 ก็จะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจ ทำให้มีวงเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อเนื่อง แต่จะขาดดุลเป็นจำนวนเท่าไรนั้น ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
       คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 30 / 2557 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดอำนาจลง
       คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 30 / 2557 ที่ให้วุฒิสภาสิ้นสุดอำนาจลง สาเหตุการยุบ ส.ว.ครั้งนี้ มองว่า คสช.คงต้องการความรวดเร็วให้คสช.มีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว เช่น การถอดถอนหรือแต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ ที่เป็นอำนาจของวุฒิสภา ส่วนทิศทางหลังจากนี้เชื่อว่า คสช.จะตั้งสภาปฏิรูปและสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมา ซึ่งในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คงใช้ส.ว.ส่วนหนึ่งไปร่วมอยู่ด้วย
       สิงคโปร์ประกาศเตือนประชาชนทบทวนการเดินทางมาไทยหลังกองทัพคุมอำนาจ กระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ได้ออกประกาศเตือนพลเมืองเกี่ยวกับการเดินทางมายังประเทศไทยในวันนี้ โดยแนะนำให้ชาวสิงคโปร์ "พิจารณาทบทวนอย่างจริงจัง" เกี่ยวกับการเดินทางมายังประเทศไทย หลังจากผู้นำเหล่าทัพ ประกาศควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ
        'โมเบียส'มองรัฐประหารเป็นปัจจัยบวก รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอม ระบุว่า 'มาร์ค โบเบียส' ประธานเท็มเพลตั้นอิเมอร์จิ้งมาร์เก็ตส์กรุ๊ปมองว่า การรัฐประหารในไทยโดยรวมแล้วถือเป็นปัจจัยบวก เนื่องจากจะทำให้สถานการณ์มีเสถียรภาพมากขึ้น
สถิติจากการรัฐประหารในปี 2549 หากอิงสถิติในการทำรัฐประหารปี 2549 ดัชนีฯ ปรับลงในวันทำการแรก -1.4% และปรับลง -1.4% และ -2.1% ใน 1 และ 2 สัปดาห์หลังรัฐประหาร ดัชนีฯ ปรับขึ้น +2.6% และ+3.4% ในช่วง 1 และ 2 เดือนหลังรัฐประหาร เนื่องจากไม่มีเหตุรุนแรงหลังการรัฐประหาร ความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศฟื้นตัว เราคาดเหตุการณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใกล้เคียงในอดีตจึงมีความเป็นได้สูงที่ตลาดหุ้นจะตอบรับในทิศทางใกล้เคียงเดิม โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 1 เดือนหลังรัฐประหารปี 49 ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร และกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 3 เดือนแรกได้แก่ โรงพยาบาล ค้าปลีก และอาหาร

2. Fund flow: ยอดขายสะสมในกองทุนไทยเข้าใกล้จุดต่ำสุดในเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว
      Recommendation : แนะนำสะสมเมื่ออ่อนตัว BH BJCHI TTCL(ถูกเพิ่มใน MSCI Thailand Index) และหลักทรัพย์ที่มีปันผลสูงกว่า4% รายได้มั่นคง BTS INTUCH ADVANC TTW BECL

Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (15-21 พ.ค. 57) เงินทุนไหลเข้า Bonds และออกจาก Equities แต่ไหลเข้าเพิ่มใน GEM
      สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกยังคงไหลเข้าตลาดพันธบัตร อีก +$6.6bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$6.7bn. สะสม YTD +$85bn. -14%y-y) แต่กลับมาขายตลาดหุ้น-$7bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$11bn. สะสม YTD +$46bn.-66%y-y). โดยมีแรงขายตลาดหุ้น USA -$8bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$9.7bn.) แต่ยังคงมีแรงซื้อตลาดหุ้นยุโรป ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 47 จำนวน +$1.6bn.(Vs สัปดาห์ก่อน+$1.9bn.)
       เอเชียฯ มีแรงซื้อเพิ่ม ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน อินโดฯ แต่ขายสุทธิเพิ่มอย่างมีนัยในไทย
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเป็น +$2.9bn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$1.46bn.) ส่วนใหญ่เข้าลงทุนอินเดียอีก +$1.0bn.(สัปดาห์ก่อน +$1.4bn) เกาหลีใต้ +$1.4bn.(Vs +$138mn.) ไต้หวัน +$301mn. Vs +$19mn.) ขณะที่กลุ่ม TIPs พบว่ามีแรงซื้อยังคงมีสูงสุดในอินโดนีเซีย +$437mn.(Vs +$177mn.) . รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ +$76mn. Vs +$68mn.) ส่วนไทยมีแรงขายสุทธิสูงสุด-$379mn. (Vs -$54mn. MTD -$490mn. หรือ -0.6% ของ Market Cap)
       กองทุนไทยยังถูกขายเป็นสัปดาห์ที่ 7, ยอดขายสะสมเข้าใกล้จุดต่ำสุดที่เคยเกิดในเดือน ก.ย. 2013
กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่ออีก -$31mn. จากสัปดาห์ก่อนที่ -$64mn. (ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 รวม -$165mn) หากนับจากต้นปี 2013 ยอดสะสมลดลงมาเหลือ -$138mn ใกล้ระดับต่ำสุดที่เคยเกิดในช่วงเดือน ก.ย. 2013 ที่ -$143mn. โดยหลังจากนั้น มีแรงซื้อกลับเข้ากองทุนไทยค่อนข้างมากต่อเนื่องจนถึงเดือน ม.ค.ของปีนี้รวม +$325mn. ด้านกองทุนอื่นในเอเชียมีแรงขายสุทธิในสัปดาห์นี้ยกเว้น จีน สิงคโปร์และออสเตรเลีย
ต้นทุนเฉลี่ยต่างชาติรอบนี้ที่ 1,387 จุด
การคำนวณของ KTZmico จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปีนี้ (ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2014) พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติรอบนี้ (ถ่วงน้ำหนักด้วยดัชนีฯ) อยู่ที่ 1,387 จุด และมีปริมาณหุ้นในมือเหลืออีกประมาณ 8.5 พันล้านบาท

      3.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : วันอังคาร US Durable goods orders คาดเติบโตลดลง วันพฤหัสฯ 1Q57F GDP USA ครั้งที่สอง คาดแย่ลง และวันศุกร์ Japan Core CPI เมย คาดพุ่งขึ้นแรง
       วันจันทร์: ตลาดหุ้น USA, UK ปิดทำการ, Japan รายงานผลประชุม BOJ ที่ผ่านมา
วันอังคาร: USA ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เม.ย. คาด -0.2%m-m(Vs +2.5%) ราคาบ้าน S&P Case-shiler composite 20 เมือง มี.ค. คาด +11.85%y-y (Vs 12.86%) Germany: ยอดค้าปลีก เม.ย. คาด +0.9%y-y (Vs -1.1%)
วันพุธ: EU Economic confidence พ.ค. คาด 102 (Vs 101.9) Thai ส่งออก เม.ย. คาด -0.4%y-y (Vs -3.12%) ดุลการค้า ขาดดุล 600 ล้านดอลล์ (VS เกินดุล +1.46 พันล้านดอลล์) ผลผลิตภาคอุตฯเมย -4.8%y-y (Vs -10.4%)
วันพฤหัสฯ: USA 1Q57F GDP ครั้งที่สอง เติบโต -0.6%q-q (Vs ครั้งแรก +0.1%) Pending Home Sales เม.ย. คาด +1%m-m(Vs 3.4%) Philippines 1Q57F GDP คาด +2%q-q (Vs 1.5%)
ศุกร์ : Japan Core CPI เมย +3%y-y (Vs 1.3%) USA: U of Michigan Confidence พ.ค. คาด 82.8 (Vs 81.8) Thailand: ดุลบัญชีเดินสะพัด เมย คาด +110 ล้านดอลล์ (Vs 2.89bn) และจีน วันเสาร์ PMI Mfg พ.ค. คาด 50.7 (Vs 50.4)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      Ifo เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีร่วงต่ำสุดปีนี้ในเดือน พ.ค. สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี ซึ่งอิงตามผลสำรวจความเห็นบริษัทประมาณ 7,000 แห่ง ร่วงลงสู่ระดับ 110.4 ในเดือนพ.ค. จาก 111.2 ในเดือน เม.ย. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ 42 คนในการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าดัชนีจะลดลงสู่ระดับ 110.9 ในเดือน พ.ค.

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
       + ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P ทำสถิติสูงสุดใหม่และปิดเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 3 สัปดาห์
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดเพิ่มขึ้นเป็นวันที่สาม โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 63.19 จุด หรือ 0.38% สู่ระดับ 16,606.27 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 8.04 จุดหรือ 0.42% สู่ระดับ 1,900.53 จุด และ Nasdaq ปิดเพิ่ม 31.47 จุด หรือ 0.76% สู่ระดับ 4,185.81 จุด เป็นผลจากรายงานยอดขายบ้านใหม่ เม.ย. ดีกว่าคาดการณ์ +6.4%m-m หลังจากลดลงใน 2 เดือนก่อนหน้า

+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ หนุนจากตัวเลขการผลิตจีน
       วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดลดลง 4.81 จุด หรือ -0.07% สู่ 6,815.75 จุด ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่ม 14.94 จุด หรือ 0.33% สู่ 4,493.15 จุด และ DAX ปิดบวก 47.10 จุด หรือ 0.48% สู่ 9,768.01 จุด โดย Sentiment เป็นเชิงลบ หลังรายงาน Ifo พ.ค. สะท้อนเศรษฐกิจเยอรมนี ไม่แข็งแกร่งดังคาด

+ราคาน้ำมันดิบ Nymex ขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3, Brent ขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ค. ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.08 ดอลลาร์ สู่ 110.44ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.62 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 104.36 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล เป็นผลจาก ปัญหาการเมืองยูเครน ลิเบีย และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดีกว่าคาด

+ราคาทองคำ ปิดลดลงจากค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ แข็งค่า
       วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาด ลดลงอีก 3.30 ดอลล์ หรือ -0.25% สู่ 1,291.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนทั้งสัปดาห์ลดลง -0.13%w-w หลังค่าเงินดอลล์สหรัฐฯกลับมาแข็งค่าสุดรอบ 6 สัปดาห์เทียบตะกร้าสกุลหลัก และแข็งค่าสุดรอบ 3 เดือนเทียบยูโร หลังรายงานเศรษฐกิจเยอรมนีที่ต่ำกว่าคาด สะท้อนอีซีบีอาจออกมาตรการผ่อนคลายการเงินในการประชุมคร้งต่อไป

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลบเป็นวันที่ 5
        วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลง 2 จุด หรือ -0.21% เป็น 964 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!