WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
   (+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +13.01, NASDAQ -17.54, S&P +1.50, FTSE +17.60, CAC +23.64 และ DAX +53.41 ภายใต้ปัจจัยหนุนจากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งสามารถช่วยชดเชยปัจจัยลบจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่หดตัว 1.6% ใน 3Q/57 สวนทางกับที่คาดว่าเศรษฐกิจจะมีการขยายตัว และเป็นการหดตัวลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิคแล้ว และ (2) ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ - ตค. ลดลง 0.1%MoM สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และภาคสาธารณูปโภค
  …..ราคาปิดน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ธค. -US$0.18 อยู่ที่ US$75.64 ต่อบาร์เรล ภายใต้ปัจจัยลบข้างต้น อย่างไรก็ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมา อาจจะทำให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ปรับลดเพดานการผลิต ในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27 พย.นี้ ที่กรุงเวียนนา
  ....ทางด้านราคาทองคำ ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$2.1 อยู่ที่ US$1,183.5 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ
   (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -304 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปี -14,647 ล้านบาท (สิ้นปี’56 มียอดขายสุทธิสะสม 193,911 ลบ)
   (-) สภาพัฒน์ฯ เปิดเผย GDP – 3Q/57 เพิ่มขึ้น 0.6%yoy และ 1.1%yoy แต่ต่ำกว่าคาด พร้อมปรับเป้าหมายทั้งปี’57 ลงจากเดิม 1.5 – 2.0% (เมื่อสค.) เป็น 1.0% แต่ยังคงเป้าหมาย GDP ปี’58 ไว้ที่ 3.5 – 4.5%

ทิศทางตลาด
  ทิศทางตลาด : แกว่งตัว? ภายใต้ประเด็นต่างประเทศ ที่คาดยังคงมีความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังตัวเลข GDP – 3Q/57 ของญี่ปุ่น หดตัวเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังได้รับปัจจัยบวกบ้างจาก ECB ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ขณะที่อยู่ระหว่างรอการเปิดเผยผลการประชุมเฟด (28-19/10/57) ในสัปดาห์นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยหรือไม่?
  …..ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลัง GDP – 3Q/57 เติบโตต่ำกว่าคาด และมีการปรับเป้าหมาย GDP ทั้งปี’57 ลงเหลือประมาณ 1.0% ขณะที่คาดแรงซื้อจากสถาบันในประเทศ (กองทุน LTF และ RMF) ช่วยชดเชยความผันผวนของต่างชาติ และคาดช่วยหนุนตลาดได้บ้าง
  .....โดยยังแนะติดตามความชัดเจนเกี่ยวกับวงเงินลงทุนกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะเวลา 8 ปี (ปี’ 58 – 65) ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะสรุปในเดือน พ.ย. หลัง (21/10/57) ครม. อนุมัติแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ในปี ’58 – ’65 เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า การขยายถนน และการขยายสนามบินฯ เป็นต้น เพื่อช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มศักยภาพของประเทศ ให้รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งคาดกลุ่มรับเหมาก่อสร้างน่าจะได้รับผลดีต่อเนื่องในระยะยาว
  ....รวมถึงประเด็นการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่คาดยังเป็นปัจจัยบวกต่อภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง หลังมีการยื่นซองประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางหมอชิต – คูคต เมื่อ 30/9/57 ซึ่งมีผู้ยื่นซองทั้งหมด 4 ราย (ITD, CK, STEC และ UNIQ) คาดใช้ระยะเวลา 1 – 3 เดือน ทราบผลการประมูล คาดอย่างเร็วคาดสามารถลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างในช่วง 1H/58
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.02 อยู่ที่ 2.34% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.68 อยู่ที่ 13.99
หุ้นแนะนำ : KTC

ประเด็นที่ต้องติดตาม (18 - 21 พย.’57)
   18/11/57 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) - ตค. (2) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย - พย. (3) เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติ - กย.
   19/11/57 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง - ตค. (2) สต็อกน้ำมัน
   20/11/57 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - ตค. (2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (3) ยอดขายบ้านมือสอง - ตค. (4) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น - พย. (5) ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ - ตค. (6) ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก - พย.
   21/11/57 : ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ

นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!