WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
       แม้รัฐอาจจะมีการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น กระทบต่อกำลังซื้อ แต่เป็นที่คาดหมายว่าจะมีการยืดอายุ LTF ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยเดียวที่หนุน SET ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี กลยุทธ์ยังให้เลือกหุ้นเป็นรายตัว วันนี้เลือก SAMTEL(FV@B27) เป็น Top pick ในฐานะเป็น Growth stock + P/E ต่ำ

การกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มเติมอาจจะเกิดในปีหน้า
       หลังจากจีนได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการนำร่องลดดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อวานนี้ สิ่งที่ตลาดกำลังรอคอยถัดไปคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจจากฝั่งยุโรป ซึ่งดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ล่าสุดยังส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง และอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย พร้อมกับประสบภาวะเงินฝืด (ล่าสุดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ 0.3%) ทั้งนี้ล่าสุด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้อนุมัติให้เข้าซื้อ covered bonds ใน 3 ประเทศหลักคือ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี รวมทั้งมีแผนเข้าซื้อ ABS ในประเทศ โปรตุเกส และกรีซ ที่กำหนดไว้ในงวด 4Q57 แต่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวล่าช้า ซึ่งทำให้ประเทศสมาชิกบางแห่ง เช่น ฝรั่งเศส ออกมาสนับสนุนให้ ECB ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

      ตรงข้ามกับประเทศสมาชิกอีกกลุ่ม ที่มีความคิดเห็นที่ต่างกัน ได้แก่ เยอรมัน (ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งล่าสุดได้รายงาน ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือน พ.ย. กระเตื้องขึ้นอีกครั้งหลักจากลดลงต่อเนื่องใน 6 เดือนก่อนหน้า และ ความเชื่อมั่นนักลงทุน เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน) เนเธอร์แลนด์ และ ออสเตรีย ต่างเห็นว่า ECB ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในขณะนี้ ( เพราะยังไม่เชื่อมั่นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้) แต่น่าจะไปออกมาตรการเพิ่มเติมในปี 2558 ซึ่งอาจจะทำให้ผลการประชุม ECB ที่รอบถัดไปคือ 4 ธ.ค. อาจจะสร้างความผิดหวังให้กับตลาด

      ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการเพิ่ม QE อีก 20 ล้านล้านเยนต่อปี เป็น 80 ล้านล้านเยนต่อปี มีผลตั้งแต่เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา และล่าสุด จีน ได้ลดอัตราดอกเบี้ยฯ ลง 0.4% อยู่ที่ระดับ 5.6% และลดดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี ลง 0.25% อยู่ที่ระดับ 2.75% ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน โดยยังคงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (RRR) 20% มีผลตั้งแต่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า แต่ SET ได้ตอบรับเชิงบวกไปแล้ว
หลังจากที่สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growth งวด 3Q57 โดยเติบโตเพียง 0.6% ต่ำกว่าตลาดและ ASP คาดที่ 2.7% เทียบกับงวด 1H57 ติดลบ 0.1% เนื่องจากการหดตัวของภาคการค้าระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะภาคส่งออกบริการหดตัวกว่าคาด) และไปหักล้างการฟื้นตัวภาคการลงทุนและการบริโภคครัวเรือน ทำให้ช่วง 9M57 ขยายตัวเพียง 0.2%yoy จึงได้ทำการปรับลดประมาณการ GDP Growth ปี 2557 ลงเหลือ 0.8%yoy จากเดิม 1.5%yoy โดยเป็นการปรับลดการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ภายใต้ประมาณการใหม่งวด 4Q57 คาดว่าจะกลับมาเติบโต 2.6% โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลใช้จ่ายเนื่องจากเทศกาลปีใหม่ (การบริโภคครัวเรือน คิดเป็น 55% ของ GDP) ประกอบกับมีเงินไหลเข้าจากฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะที่คาดการค้าระหว่างประเทศยังชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปี 2558 คาดว่าจะกลับมาเติบโต 3.5% โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคครัวเรือน และแรงกระตุ้นจากภาครัฐ ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และลงทุนภาครัฐ ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนให้ภาคเอกชนได้ในเวลาต่อมา (ติดตามอ่านรายละเอียด Economic Update ฉบับเต็มได้ในวันนี้)

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีหุ้น ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ปัญหาการเมืองผ่อนคลายคง นับจากการเข้ายึดอำนาจ โดยปรับตัวขึ้นกว่า 200 จุด หรือ 14% ด้วยความหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่วันนี้เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวล้าช้า ขณะที่ค่า Expected P/E ขึ้นมาที่ระดับ 17.4 เท่า ภายใต้สมมติฐาน EPS ตลาดในปี 2557 ที่ 91.32 บาท (ซึ่งลดลงจากประมาณการเดิมที่ 98.14 บาท หรือลดลงราว 6.9% เป็นการปรับประมาณการหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนรายงานงบงวด 3Q57 เสร็จสิ้น) หรือแม้จะหันไปใช้ EPS ตลาดในปี 2558 106.14 บาท (ลดลงจากประมาณเดิมที่ 110.47 หรือลดลง 3.9% จากประมาณการเดิม) พบว่ามี Expected P/E ราว 15 เท่า ทำให้มี upside ค่อนข้างจำกัด หากกำหนดดัชนีเป้าหมายในปี 2558 โดยอิง Expected P/E ปี 2558 ที่ 15.5-16 เท่า คาดว่าจะอยู่ที่ 1,645.17 – 1,690.24 จุด จะเห็นว่ามี upside เพียง 3.4%-6.3% ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนจึงน่าจะเป็นการเลือกลงทุนเป็นรายหุ้นเช่นเดิม โดยเน้นหุ้นพื้นฐานที่มีศักยภาพการเติบโตต่อเนื่อง เช่น หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการประมูลโครงการภาครัฐ ซึ่งวันนี้แนะนำหุ้น SAMTEL เป็น Top pick รายละเอียดดังปรากฏในย่อหน้าถัดไป

มาตรการภาษี มีทั้งบวกและลบ
แม้ในระยะนี้จะมีเรื่องเกี่ยวกับมาตรการภาษีต่างๆ ที่ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน และภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จากปัจจุบันผ่อนผันและต่ออายุให้เก็บอยู่ที่ 7% โดยรัฐมีเป้าหมายจะปรับขึ้นอีก 3% เป็น 10% เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายกำหนด ซึ่งหากมีการดำเนินการจริงในปีหน้าก็น่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยตรง ดังที่ได้นำเสนอไปใน Market Talk วานนี้

อย่างไรก็ตามไม่ได้มีแต่ประเด็นลบเท่านั้น เชื่อว่ายังมีประเด็นบวกเกี่ยวกับ กองทุน LTF ที่รัฐบาลอยู่ในระหว่างการศึกษา ข้อดีข้อเสียและผลกระทบต่างๆ ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะตัดประเด็นการยกเลิกออกไป แต่อาจจะพิจารณาให้ ขยายอายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยาวขึ้น จากเดิมกำหนดระยะเวลาลงทุน 5 ปีปฏิทิน (ลงทุนจริง 3 ปี 2 วัน) เพิ่มเป็น 10 ปีปฏิทิน (ลงทุนจริง 8 ปี 2 วัน) รวมถึงการปรับลดเพดานค่าลดหย่อนที่เกิดจากกองทุนต่างๆ อาทิ LTF, RML, ประกันชีวิต, กองทุนสำรอง จากเดิมรวมกันมีสิทธิ์หักลดหย่อนสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปี อาจลดลงเหลือ 8 แสนบาท/ปี (โดยเฉพาะ LTF นั้นลดหย่อนได้ถึง 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท/ปี อาจมีการลดวงเงินลงมาด้วย เพื่อลบข้อครหาที่ว่า LTF เอื้อประโยชน์ต่อคนมีฐานะแต่เพียงอย่างเดียว)

ประเด็นดังกล่าวแม้จะต้องใช้เวลาสรุปในเดือน มี.ค. 2558 แต่ก็นับว่าเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น และน่าจะเป็นประเด็นบวกต่อตลาด เพราะอย่างน้อย ตลาดหุ้นยังเป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนระยะยาว ทั้งนี้จากการศึกษาในอดีตตั้งแต่ปี 2552 พบว่าโดยปกติแรงซื้อราว 70% ของยอดซื้อกองทุน LTF ทั้งปี จะมากระจุกตัวอยู่ในไตรมาสสุดท้ายของปี (ค่าเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลัง ยกเว้นปี 2555 ที่เฉลี่ยต่ำกว่า 50%) จึงเชื่อว่าอาจจะมีแรงซื้อจากกลุ่มสถาบันฯ ในช่วงปลายปี โดยได้แรงหนุนจาก LTF ดังกล่าว

LTF กลับมาทำงาน ควบคู่กับแรงซื้อต่างชาติ
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 550 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่าเท่าตัว โดยเป็นการกลับมาซื้อสุทธิในทุกประเทศอีกครั้ง นำโดยเกาหลีใต้ มียอดซื้อสุทธิสูงสุด และ เป็นการซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 294 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าเกือบ 3 เท่า ตามมาด้วยไต้หวันซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 เช่นกัน และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 47% อยู่ที่ 174 ล้านเหรียญฯ ส่วนไทยซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 45 ล้านเหรียญฯ (1.5 พันล้านบาท, วันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 45 ล้านบาท) ขณะที่ฟิลิปปินส์สลับมาซื้อสุทธิราว 26 ล้านเหรียญฯ และสุดท้ายคืออินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 40% เหลือราว 12 ล้านเหรียญฯ
แม้ว่าต่างชาติจะเริ่มซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องอีกครั้ง (12 จาก 15 วันหลังสุด) แต่ปริมาณการซื้อยังคงเบาบางเพียง เฉลี่ยวันละ 560 ล้านบาท เท่านั้น และยังเป็นการซื้อสลับขายตามทิศทางของภูมิภาค เนื่องจากยังขาดปัจจัยหนุนในประเทศ ขณะที่มีแรงซื้อของ นักลงทุนสถาบันต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 2.1 พันล้านบาท โดยเชื่อว่าเป็นแรงซื้อของ LTF ซึ่งจะทยอยซื้อใน 2 เดือนหลังของทุกปี จะมีส่วนสำคัญในการประคองดัชนีให้แกว่งตัวอยู่เหนือ 1,570 จุด ได้

แนะขายทำกำไร SAMART ใกล้เต็มมูลค่า มาซื้อ SAMTEL แทน
วานนี้ SAMART ปรับตัวขึ้นแรงถึง 6.0% จนใกล้เต็มมูลค่าพื้นฐานที่ 36.0 บาท เชื่อว่ามาจาก 2 ประเด็นบวก
1) โครงการโรงไฟฟ้า ซึ่งฝ่ายบริหารคาดจะมีความคืบหน้าปีนี้
2) ผลประกอบการที่ผ่านจุดตกต่ำใน 3Q57 หลังจากนี้คาดว่า กำไรสุทธิจะปรับตัวดีขึ้น มีแรงหนุนจากบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ

SIM (ถือหุ้น 70%) ที่จะดีขึ้น ตามกำลังซื้อในประเทศ ส่วนอีก 1 บริษัทย่อยที่คาดจะช่วยหนุน คือ

SAMTEL (ถือหุ้น 70%) ที่กำไรจะดีขึ้นจาก 3Q57 เช่นกัน เห็นได้จากเป้าหมายการรับรู้รายได้งวด 4Q57 ที่ 2.0 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 28%qoq) สัดส่วนกว่า 50% ถูกรองรับจาก Backlog ณ สิ้น 3Q57 ที่มีสูง 7.2 พันล้านบาทแล้ว ขณะที่สัดส่วนอีก 50% จะมาจากงานภาครัฐฯใหม่ๆที่กลับมาเปิดประมูลอีกครั้ง โดย SAMTEL อยู่ระหว่างเข้าประมูลอีก 3.3 พันล้านบาท (ได้งานมาแล้ว 370 ล้านบาท) ภาพรวมทำให้เชื่อมั่นว่า Backlog สิ้นปี จะพุ่งขึ้นสู่ระดับเฉียด 9.0 พันล้านบาท ประกอบกับ งานภาครัฐฯในปีหน้าที่มีแนวโน้มออกมาสูงกว่าในอดีตอย่างมีนัยฯ จากเม็ดเงินลงทุนด้านไอซีทีของรัฐฯ เพื่อรองรับนโยบาย Digital Economy รวมถึงการลงทุนของ TOT CAT ที่ต้องเร่งปรับปรุงองค์กรหาแหล่งรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนุนให้ Outlook ธุรกิจสดใสและกำไรปกติปีหน้าของ SAMTEL กลับมาเติบโตสูง 37% (ดีกว่า SAMART ที่เติบโตเพียง 25%)

ขณะที่ราคาหุ้น SAMTEL ยัง Laggard ที่สุดในกลุ่ม โดยพบว่าราคาหุ้นวานนี้จะปรับตัวขึ้นเพียง 4.0% และราคาตลาดยังห่างจากมูลค่าพื้นฐานปี 2558 มากถึง 30.4% จึงแนะนำให้ Switch หรือ ขาย SAMART(FV@B36) ที่ใกล้เต็มมูลค่า มาซื้อ SAMTEL(FV@B27) แทน โดย SAMTEL มีจุดเด่นที่ปี 2558มี EPS growth 22% มีค่า Expected P/E 13.7 เท่า และยังมี dividend yield สูงถึง 3.8% เทียบกับ SAMART(FV@B36) มี EPS growth 25% และมี Expected P/E 17.1 เท่า ในปี 2558 ขณะที่มี Dividend Yield 3.1%

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!