WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

คาด SET ยังผันผวนได้ ดังนั้นรอซื้อช่วงลบจะเหมะสมกว่า...

  กลยุทธ์ : SET เริ่มมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนหลังดีดตัวขึ้นรอบก่อน ซึ่งเราคาดว่าตลาดน่าจะยังอยู่ในช่วงพักตัวลงสักระยะ ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งตามรอบยังเน้นขายบวกเพื่อรอซื้อลบ ลดความเสี่ยงจากการผันผวนของตลาด ส่วนระยะกลาง-ยาวที่ FSS ยังมองดีจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มเติมช่วงลงได้ แต่อาจเผื่อเงินสดไว้รอรับช่วงตลาดลงต่ำด้วย
  หุ้นเด่นทางเทคนิค : KTC, MFEC , GLOBAL(short)
  แนวโน้ม : หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว SET ดีดตัวขึ้นแรงเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์ โดยขึ้นมาแถวระดับดัชนีสูงสุดของช่วงที่แล้วบริเวณ 1602 จุด จากนั้นตลาดหุ้นไทยก็อยู่ในลักษณะแกว่งตัวผันผวนที่บริเวณนี้ต่อเนื่องเกือบทั้งสัปดาห์ และมีจังหวะย้อนลบให้เห็นเป็นระยะ แสดงถึงแรงขายทำกำไรที่ยังมีกดดันตลาดอยู่ ขณะที่ช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาหนุน แต่ประเด็นการคงเพดานการผลิตน้ำมันดิบของโอเปค ยังคงกดดันตลาดหุ้นต่างประเทศอยู่ โดยตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังเปิดด้วยการปรับตัวลดลงให้เห็น รวมทั้งค่าเงินบาทในช่วง 1-2 วันนี้ก็อ่อนค่ามาค่อนข้างเร็ว ถึงแม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังมียอดซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอยู่ต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้หนาตามากนัก ซึ่งคาดว่าเนื่องจากใกล้ช่วงหยุดยาวสิ้นปี ส่วนแรงขายของสถาบันในประเทศยังหนาแน่น อาจเป็นไปได้ว่ากองทุนฯ ขายทำกำไรหุ้นในพอร์ตบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรอรับเม็ดเงินใหม่จาก LTF,RMF ช่วงท้ายปีที่จะกลับมาซื้อเพิ่มพอร์ตกันอีกครั้ง ดังนั้น FSS คาดว่าระยะสั้น SET ยังมีโอกาสแกว่งตัวด้านลบให้เป็นโอกาสในการเลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อได้เหมือนเดิม
  แนวรับ 1591-1589 , 1585-1580 จุด แนวต้าน 1598-1602 , 1605-1610 จุด
  Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนยังไหลเข้าภูมิภาคเป็นวันที่ 9 ติดต่อกัน แต่ในปริมาณที่เบาบางกว่าวันก่อนหน้าที่ราว US$289 ล้าน โดยไหลเข้าไต้หวันมากที่สุด US$200 ล้าน ส่วนตลาดหุ้น TIP ไหลเข้ามากที่สุดที่ไทย US$34 ล้าน รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์ US$10.8 ล้าน เงินทุนไหลออกเพียงประเทศเดียวคือเวียดนามซึ่งเป็นการไหลออกต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แนวโน้มกระแสเงินทุนน่าจะยังคงไหลเข้าภูมิภาคต่อแต่ในปริมาณที่น่าจะบางลงหลังตัวเลข PMI ภาคการผลิตจีนออกมาไม่ดีนัก

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (0) ดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าในสัปดาห์นี้ การไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันของ OPEC ในการประชุมวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมาจะทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป เงินเฟ้อที่ไม่เป็นแรงกดดันเป็นการเปิดโอกาสให้ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีนสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้อ่อนค่าในระยะยาว แต่สำหรับการประชุม ECB 4 ธ.ค. นี้น่าจะยังไม่มีมาตรการใหม่หลังดัชนีความเชื่อมั่น ยอดค้าปลีก และอัตราว่างงานของประเทศในกลุ่มดีขึ้น ประกอบกับศุกร์นี้สหรัฐฯจะประกาศตัวเลขการว่างงานซึ่งตลาดคาดว่าดีขึ้น แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ในสัปดาห์นี้น่าจะแข็งค่า ค่าเงินบาทจึงมีแนวโน้มอ่อนค่าตามค่าเงินในภูมิภาค
  (+) สถิติ 10 ปีที่ผ่านมาชี้ตลาดหุ้นเดือน ธ.ค. ให้ผลตอบแทนสูงเป็นอันดับ 3 รองจากเดือน ก.พ. และ เม.ย. โดยดัชนีตลาดฯบวกเฉลี่ย 2.6% M-M แรงซื้อมักมาจากกองทุนในประเทศอย่างชัดเจนซึ่งเป็นผลของ LTF และ RMF หุ้นที่จะ perform ดีในเดือน ธ.ค. จึงมักเป็นหุ้นขนาดกลาง-ใหญ่ (แนะนำแบงก์และสื่อสาร) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือน ธ.ค. ปีนี้ นักลงทุนควรระมัดระวังการซื้อขายหุ้นขนาดเล็กเพราะเกณฑ์ Turnover list ในตลาด mai ที่เดิมจำกัดเพียง 5 ตัว แต่นับจากเดือน ธ.ค. เป็นต้นไปจะไม่จำกัดจำนวน
  (+) เศรษฐกิจ ต.ค. ดีขึ้นทุกสาขา การจับจ่ายใช้สอยฟื้นตัวต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อย แต่ภาครัฐเร่งการใช้จ่ายได้มากขึ้น การท่องเที่ยวดีขึ้นโดยนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 6% Y-Y เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ส่วนการส่งออกกลับมาดีขึ้น +4% Y-Y ดีกว่าตลาดคาดมาก เป็นการขยายตัวในแทบทุกสินค้า และแทบทุกตลาดโดยตลาดญี่ปุ่นและยูโรกระเตื้องขึ้น ขณะที่ตลาดจีนแผ่วเล็กน้อย
  (0) กลุ่มค้าปลีก ต้องเลือกลงทุน การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง แต่กระจุกอยู่ในหมวดสินค้าไม่คงทน ในขณะที่สินค้าคงทน (รถยนต์) ยังคงชะลอและไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งอาจทำให้กลุ่มยานยนต์และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังต้องใช้เวลาอีกระยะ ส่วนการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะในภาคเกษตรยังถูกจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ แต่ผู้มีรายได้ปานกลาง-สูงฟื้นตัวเร็วกว่ามาก กลุ่มค้าปลีกอาจ underperform ตลาดในปีหน้า เราแนะนำเลือกลงทุนในหุ้นที่มีฐานลูกค้าระดับกลาง-บน เช่น HMPRO (ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 10.70 บาท) และ CPALL (ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 55 บาท) ที่แม้มีฐานลูกค้าระดับรากหญ้าแต่เป็นสินค้าจำเป็น และราคาหุ้นในปีนี้ underperform กลุ่มมากเกินไป

  ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาเปิดทำการอีกครั้งเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยแกว่งตัวค่อนข้างผันผวนและย้อนลงมาปิดเป็นบวกเพียงเล็กน้อยแค่ +0.49 จุด โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มค้าปลีก แต่ยังมีแรงกดดันจากการคงเพดานการผลิตของโอเปคอยู่
  ตลาดหุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัวเช่นกัน ท่ามกลางแรงซื้อขายที่ซบเซา หลังหุ้นกลุ่มพลังงานยังร่วงลง
  ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังแกว่งตัวค่อนข้างผันผวน แต่ก็มีหลายแห่งที่ย้อนลบลงมากพอควร คาดว่ามีสิทธิกดดัน SET ได้
  ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดมาแกว่งตัวในกรอบ 32.82-32.94 บาท/ดอลลาร์
  น้ำมันดิบในตลาด NYMEX ปิดร่วงลง 7.54 ดอลลาร์ มาปิดที่ 66.15 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากกลุ่มโอเปคตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงเพดานการผลิตน้ำมันในการประชุมล่าสุด
  ทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ร่วงลง 22 ดอลลาร์ มาปิดที่ 1175.5 ดอลลาร์/ออนซ์ เพราะได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของราคาน้ำมันและสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

1 ธ.ค. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (พ.ย.)
- จีน: Manufacturing PMI (พ.ย.)
- สหรัฐ: ISM Manufacturing (พ.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (พ.ย.)
2 ธ.ค. - อินเดีย: ธนาคารกลางประชุม
3 ธ.ค. - จีน: Non-manufacturing PMI (พ.ย.)
- ออสเตรเลีย: 3Q14 GDP
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (พ.ย.)
- ยูโรโซน: 3Q14 GDP
4 ธ.ค. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ย.)
- เกาหลีใต้: 3Q14 GDP
- ยูโรโซน: ECB ประชุม
5 ธ.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราว่างงาน (พ.ย.)
8 ธ.ค. - จีน: ดุลการค้า (พ.ย.)
- ญี่ปุ่น: 3Q14 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept.   Tel: 02-646-9967, 02-646-9852

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!