WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
      ดัชนี น่าจะยังแกว่งตัวออกด้านข้างและต่ำกว่า 1,600 จุด โดยยังไม่มีประเด็นใหม่หนุน แต่วันนี้เป็นไปได้ที่หุ้นน้ำมันจะฟื้นตัว ตามการดีดตัวของราคาน้ำมันดิบ กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นรายตัว P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง โดยเลือก AIT(FV@53B) เป็น Top pick

ภาคการผลิตโลกชะลอตัว หนุนการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป
     ล่าสุดพบว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสำคัญๆ ด้านการผลิตในเดือน พ.ย. 2557 เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ในหลายพื้นที่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป สหรัฐ หรือจีน (ยกเว้นเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่ยังขยายตัวดี) ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหภาพยุโรป ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (เมื่อเปรียบเทียบ yoy) เริ่มจาก เยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด หดตัว และต่ำสุดในรอบ 17 เดือน (เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อใหม่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี) ตามมาด้วยฝรั่งเศสหดตัว สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน (ผู้ผลิตปรับลดการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6) ส่วนอิตาลีรายงาน GDP Growth งวด 3Q57 -0.5%yoy แย่ลงจาก -0.3%yoy ใน 1Q57 และ 2Q57 คาดว่างวด 4Q57 น่าจะติดลบต่อเนื่อง (ขณะที่ IMF คาดว่าทั้งปี 2557 จะเติบโต 0.2% ทำให้มีโอกาสปรับลด GDP Growth ได้อีก)

         และเช่นเดียวกับ สหรัฐ และจีน พบว่าดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ย. ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 เดือน และในรอบ 8 เดือน ตามลำดับ ซึ่งเป็นการสะท้อนความต้องการที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

       เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันดิบโลกที่ตกต่ำกว่า 30% ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ อัตราเงินเฟ้อโลกชะลอตัว และยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปเชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีความจำเป็น แต่หลังจากที่มีการกระตุ้นไปบางส่วน และ ในบางประเทศไปแล้ว คาดว่า รอบถัดไปน่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 โดยธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB น่าจะรอการประเมินผลหลังจากการ เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคงต้องติดตามผลการประชุมของ ECB ในวันที่ 4 ธ.ค. นี้ ขณะที่ทางฝั่งสหรรัฐ เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกที่มีเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวข้างต้น น่าจะตอกย้ำถึงการโอกาสที่จะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายออกไปใน 2H58 ซึ่งคงต้องติดตามการประชุมครั้งสุดท้ายปี ระหว่าง 16-17 ธ.ค. นี้

      เช่นเดียวกับประเทศไทยพบว่าเดือน พ.ย. อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1.26%yoy ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.48%yoy และต่ำสุดรอบ 5 ปี ซึ่งทำให้เงินเฟ้องวด 11M57 อยู่ที่ 2.02% ซึ่งน่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย (กรอบเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์อยู่ในช่วง 2.00 - 2.80%) ซึ่งเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับนี้ไปอย่างน้อยอีก 6 เดือนข้างหน้า จนถือกว่าจะเห็นสัญญานการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น หลังจากที่พบว่างวด 3Q57 GDP Growth ต่ำกว่าคาดหมาย และงวด 9M57 เติบโตเพียง 0.2% ทำให้ทั้งปี 2557 GDP Growth น่าจะอยู่ที่ระดับเพียง 0.8% (ตามประเมินของ ASP) แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าจะฟื้นตัว 3.5% หลังจากที่ได้ผ่านสิ่งเลวร้ายทางการเมือง นับจากช่วง 2H56 และ ต่อเนื่อง 9M57

ราคาน้ำมันตกต่ำ เอื้อสายการบิน แต่ราคาหุ้นได้ตอบรับแล้ว
       วานนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบดีดขึ้นกว่า 5% ขึ้นแตะ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล เป็นการเพิ่มขึ้นในวันเดียวมากสุดนับตั้งแต่ปี 2555 หลังจากปรับลดลงมากว่า 30% นับตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา จนทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากตลาดคาดหวังว่าฝั่งสหรัฐน่าจะมีการลดกำลังการผลิตปิโตรเลี่ยมลง ( Shale Gas และ Shale Oil) หลังจากที่สหรัฐ ได้เพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี เนื่องจากระดับราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันน่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าต้นทุนการผลิต (จุดคุ้มทุนอยู่ที่ราว 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ทั้งนี้ ผลสำรวจจาก Reuters พบว่า จำนวนผู้ขอรับอนุญาตขุดเจาะหินน้ำมันลดลง 15% ในเดือน ต.ค. รวมทั้งแนวโน้มในปีหน้าก็อาจลดลงอีก หากราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับนี้เนื่องจากไม่คุ้มต่อการลงทุนมูลค่ามหาศาล

      ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงขณะนี้ต่ำกว่าสมมติฐานของ ASP (ฝ่ายวิจัยกำหนดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาว 90 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตั้งแต่ปี 2558) ซึ่งถือว่าระดับราคาน้ำมันที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ไม่น่าจะเป็นระดับที่ยืนอยู่ได้เนื่องจากเป็นที่สูงกว่าต้นทุนผู้ผลิต นอกกลุ่ม OPEC อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยโดยทำ Sensitivity Analysis ณ ระดับราคาน้ำมันต่างๆ ของปี 2558 โดยหากราคาน้ำมันโลกอยู่ที่ 80 เหรียญฯ Fair Value ของ PTT จะอยู่ที่ 393.73 บาท, PTTEP อยู่ที่ 163.53 บาท แต่หากราคาน้ำมันโลกลงไปที่ 70 เหรียญฯ Fair Value ของ PTT จะอยู่ที่ 380.34 บาท, PTTEP อยู่ที่ 144.02 บาท และในกรณีเลวร้ายหากราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2558 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล Fair Value ของ PTT และ PTTEP จะอยู่ที่ 364.6 บาทต่อหุ้น และ 123.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันลดลงจนมี Downside ค่อนข้างจำกัดแล้ว ฝ่ายวิจัยยังแนะนำให้สะสม PTTEP เนื่องจากมี upside ค่อนข้างมาก รวมทั้งที PER ต่ำเพียง 12 เท่า และคาดหวังเงินปันผลได้ถึงกว่า 4% ส่วน PTT ยังมีปัจจัยบวกอื่นหนุนซึ่งยังไม่รวมไว้ในประมาณการจากการปรับขึ้นราคาขาย NGV และ LPG หน้าโรงแยกก๊าซฯ รวมถึงแนวโน้มการบันทึกกำไรจากการขายหุ้น BCP และการนำบริษัทลูก SPRC และ GPSC เข้าจดทะเบียนใน SET จึงแนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว

ต่างชาติสลับมาขายเล็กน้อย
วานนี้นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิเป็นวันแรกราว 100 ล้านเหรียญฯ (จากที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วันก่อนหน้า) ซึ่งพบว่าเป็นการ ขายสุทธิมากสุดในไต้หวัน ราว 181 ล้านเหรียญฯ (พลิกจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วันก่อนหน้า) และ ไทยสลับมาขายสุทธิเบาบางราว 1 ล้านเหรียญฯ (32 ล้านบาท, ซื้อสุทธิ 6 วันก่อนหน้า) ยกเว้นในบางประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 และเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 55% อยู่ที่ 74 ล้านเหรียญฯ อินโดนีเซียซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ราว 6 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่าเท่าตัว) และสุดท้ายคือฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 3 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 73% จากวันก่อนหน้า)
แม้ต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคออกมาอีกครั้ง แต่ยอดขายยังคงเบาบาง และเป็นการขายสุทธิเพียง 3 วัน จาก 26 วันหลังสุด และเป็นในลักษณะเดียวกับตลาดหุ้นไทย (ต่างชาติขายสุทธิเพียง 6 วันจาก 24 วันหลังสุด โดยนับตั้งแต่ตั้งแต่ ก.ย. 57 เป็นต้นมา พบว่า ยังคงเป็นการทยอยเข้าซื้อสุทธิต่อเนื่อง โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ 1 ก.ย. 57 ราว 1.6 หมื่นล้านบาท)

ปรับขึ้น VAT เป็นขั้นบันได ช่วงละ 1% ผลกระทบต่อกลุ่มค้าปลีก จำกัด
นโยบายหลักประการหนึ่งของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้แก่การปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยมีเป้าหมาย 3 ประการคือ
1.ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
2.สนับสนุนศักยภาพ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลัง เฉพาะทางด้านการจัดเก็บรายได้
ที่ผ่านมาได้เดินหน้าไปแล้วหลายส่วน อย่างเช่น ภาษีมรดก, ภาษีที่ดินฯ และภาษีสรรพสามิต ล่าสุดได้มีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กลับขึ้นมา 10% (การจัดเก็บ VAT 7% น่าจะสิ้นสุด 30 ก.ย.2558) โดยจะเก็บเพิ่มที่ละ 1% จนครบ 10% เป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน

ในเบื้องต้นคาดว่า การปรับขึ้นภาษีน่าจะต่อกลุ่มค้าปลีก ซึ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภคมากที่สุด (BIGC, MAKRO, CPALL, HMRPO เป็นต้น) แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงมากนัก เพราะหากพิจารณาจากประมาณการของนักวิเคราะห์กลุ่มค้าปลีกของ ASP คาดว่า การเติบโตของยอดขายสาขาเดิมในธุรกิจนี้ จะยังอยู่ในระดับ 5% ในปี 2558 ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงกว่า GDP Growth ปี 2558 ที่ประเมินไว้ 3.5% (เป็นตัวเลขที่ยังมิได้คำนึงถึงการเพิ่ม VAT) ซึ่งภาพน่าจะแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุด เดือน เม.ย .2557 มีการจัดเก็บ Sale tax เพิ่ม 3% เป็น 8% ผลที่ตามมาคือ GDP Growth งวด 2Q57 และงวด 3Q57 หดตัว 0.2%yoy และหดตัว 1.2%yoy เทียบกับเติบโต 2.9% ในงวด 1Q57) โดยสรุปหากมีการใช้ภาษี VAT เชื่อว่าน่าจะกระทบต่อ sentiment ตลาดและหุ้นค้าปลีก จึงแนะนำให้เลือกซื้อรายหุ้นที่เชื่อว่ายังสามารถเติบโตท่ามกลางการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
หุ้นที่แนะนำใน Market talk 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!