WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน  

ผันผวน-จับตาการเมืองและแรงซื้อต่างชาติอาจชะลอลง

Highlight 

           ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ส่วนใหญ่เปิดขึ้น ปัจจัยหนุนจากสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขภาคการผลิตออกมาดี

          ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: การค้าระหว่างประเทศเดือน มี.ค. คาดขาดดุล -$40.4bn.(Vs -$42.3bn.) EU: ยอดค้าปลีก มี.ค. คาด -0.2%m-m (Vs +0.4%) Australia: คาดธนาคารกลางคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% และดุลการค้า มี.ค. คาดเกินดุล 1 Aud Bn.

           รายงานจ้างงานสหรัฐ เม.ย. ที่ดีกว่าคาด ส่งผลตลาดให้โอกาสเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรก มิ.ย.15 มีสูงขึ้นเกิน50% (รอจับตาประธานเฟดแถลงพุธนี้)

           +วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อเพิ่มวันที่ 2 อีก 1.68 พันลบ. (สะสม 3.55 พันลบ. และ + 2.37 หมื่นลบ. สำหรับ 14 ใน 15 วันทำการ) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อเป็นวันที่ 3 +968.28 ลบ. (สะสม 3 วัน รวม +1.96 พันลบ.) ส่วนพอร์ตโบรก ขายต่อ 3 วันสะสม -1.15 พันลบ.

           คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1427/1432 จุด แนวรับ 1415/1405 จุด รอดูสถานการณ์การเมือง และประธานเฟดแถลงแนวโน้มเศรษฐกิจกลางสัปดาห์

           กลยุทธ์ : รายเดือน แนะนำ ขึ้น-ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น หุ้นเด่น DTAC/ M MC BJCHI และTRT GRAMMY BLAND SMPC SYMC PSL ROJNA DEMCO (ตัดขาดทุนหากดัชนีฯ < 1400 จุด)

หุ้นในกระแส :

           หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.0%) ได้แก่ CHUO BGH SPCG SPVI MALEE MEGA BH หุ้นที่ลงกว่า 4% UKEM CYBER KTP TGPRO GENCO BGT UMS

           NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ INTUCH +251 IVL+228 BBL+216 ด้านขาย PTT-309 KBANK-170 SPALI -113

           หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 106 BGH 65

           หลักทรัพย์ที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (หุ้นที่สำคัญ) วันอังคาร AEONTS BCH BEC BJC BJCHI BKD CPF CPN DEMCO IVL MC SOLAR SYNTEC WHA

Market Outlook

     คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1427/1432 จุด แนวรับ 1415/1405 จุด รอดูสถานการณ์การเมือง อาจมีความเสี่ยงรุนแรง และดอกเบี้ยเฟดอาจปรับขึ้นเร็วกว่าคาด หนุนสถิติการลงทุนเดือน พ.ค. Sell and go away in May มีโอกาสเกิดซ้ำรอย

          คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1427/1432 จุด แนวรับ 1405/1400 จุด (ลดการเก็งกำไร หากดัชนีฯ หลุด 1400 จุด) เพื่อรอดูสถานการณ์การเมืองในประเทศ Political risk โดยเฉพาะความเสี่ยงของการเกิดสุญญากาศการเมือง จะเกิดขึ้นหรือไม่ หลังผลตัดสินศาลรธน. (อาจเกิดขึ้นต้นสัปดาห์นี้ หรือกลางสัปดาห์หน้า) และอัตราดอกเบี้ยเฟดอาจขึ้นเร็วกว่าคาด (จับตา การแถลงต่อสภาของประธานเฟด Jellen วันพุธนี้) หลังตัวเลขจ้างงาน เม.ย. ดีกว่าคาดและอัตราว่างงานต่ำสุดรอบ 5 ปีครึ่ง ซึ่งอาจทำให้สถิติการลงทุนเดือน พ.ค .อาจเกิดซ้ำรอย (Sell and go away in May)

          กลยุทธ์ลงทุน: ทยอยขายทำกำไร สำหรับการลงทุนระยะ 2 เดือน (ความเสี่ยงขาลงอยู่ที่ 1314/1300 จุด) ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำ เก็งกำไรรายหลักทรัพย์ โดยกำหนดจุดตัดขาดทุนที่ 1400 แนะนำหุ้นที่อาจติดคำนวณ SET50/100 Index รอบกลางปีนี้และหุ้นคาดกำไร 1Q57F ออกมาดี M MC BJCHI และ TRT GRAMMY BLAND SMPC SYMC PSL ROJNA DEMCO)

          *ระยะเดือน (ดูรายงาน Monthly เดือน พ.ค. ถือเงินสด 60% ของพอร์ต เน้นเลือกลงทุนหุ้นปันผลสูง มีประเด็นบวก แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT PSL BANPU IVL (Global play) STPI TTCL JAS RS (ประเด็นบวกระยะสั้น)

          +ระยะสั้น แนะนำ เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่มีประเด็น

             1) M KKP / PSL MC NOK MEGA BJCHI (ลุ้นเข้าคำนวณใน SET50/SET0 Index) ส่วนหุ้นน่าขาย คือ THAI CK/ SSI THRE JMART DCC มีความเสี่ยงหลุด SET 50/100 Index

             2) หุ้นที่มี Upward Revision ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา : TRT GRAMMY BLAND AH SMPC SYMC PSL ROJNA DEMCO และขาย MILL TSTH DSGT TPOLY RCL UAC ANAN EFORL

          ทางเทคนิค : ยังคงอยู่ในเขต Overbought Zone และเสี่ยงปรับฐานรอบใหม่ หากหลุด 1400 จุด

          ภาพใหญ่ระยะ 2 ปี ของทิศทางดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ใน Downtrend Channel กรอบ 1195-1445 จุด ส่วนระยะสั้น ยังคงอยู่ในกรอบขาขึ้น Up Channel แบบ V-Shape กรอบ 1392-1473 จุด โดยเริ่มมีสัญญาณการเตือนถึงการปรับฐาน (Correction) จากการแตะระดับสูงสุดของภาวะ Overbought ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็น Stochastic, RSI, MACD สะท้อนขาขึ้นของดัชนีฯอาจมีเพียง 1432/1442 จุด ส่วนสัญญาณขายจะยืนยันจบรอบ หากหลุดแนวรับบริเวณ 1400 จุด โดยมีแนวรับต่อไปที่ 1380/1340 จุดตามลำดับ

         

ประเด็นเด่นๆสัปดาห์นี้ :

          +/-ประเด็นต่างประเทศ (วิตกดอกเบี้ยเฟดอาจขึ้นเร็วเป็นเดือน มิ.ย. 58F) : สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว 2Q57F เห็นชัดขึ้น โดยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 2.7%q-q จาก 0.1%q-q ใน 1Q57 หลังรายงานจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน เม.ย. ออกมาสูงกว่าคาดการณ์มาก +288k (Vs คาด 215k) และปรับเพิ่มตัวเลขจ้างงาน มี.ค. เป็น 203k (เดิม 192k) อย่างไรก็ดี อัตราว่างงาน เม.ย. ที่ลดลงจาก 6.7% เหลือระดับต่ำสุดรอบ 5 ปีที่ 6.3% (Vs คาด 6.6%) สะท้อนความเสี่ยง ที่เฟดอาจดำเนินนโยบายการเงินแบบคุมเข้มการเงินเร็วกว่าคาด

          ความเคลื่อนไหวในตลาดสัญญาล่วงหน้าบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังคาดการณ์ว่ามีโอกาส 56% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกใน เดือนมิ.ย.2015 (จากเดิมที่ 47% ซึ่งเป็นระดับก่อนการเปิดเผยรายงานการจ้างงาน) และเร็วขึ้นกว่าเดิมที่คาดการณ์กันว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ค. 2015 ขณะที่ประเด็นที่ต้องจับตา คือ ปัญหายูเครน ขยายวงความรุนแรง หลังกลุ่มสนับสนุนรัสเซีย ยิงเฮลิปคอบเตอร์ของรัฐบาลยูเครน ตกและลูกเรือตาย 2 คน และมีการยึดสถานที่ราชการจำนวนมากในแถบตะวันออกของประเทศ 

          -ประเด็นการเมือง (ใกล้เกิดจุดแตกหักใน 1-2 สัปดาห์นี้) : กกต. ไม่พิจารณาข้อเสนอทางออกของอภิสิทธิ์และยืนยัน กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 ก.ค. โดยกกต.จะส่งพระราชกฤษฎีกา ให้รัฐบาลในวันที่ 6 พ.ค.  พิจารณาตามกระบวนการ ส่งผลให้โอกาสสูงที่พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ลงเลือกตั้งและมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ซำรอยเดือน ก.พ. ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ต้องจับตา 1) ปปช.นัดตัดสินคดีจำนำข้าว 8-15 พ.ค. 2) 6 พ.ค. ศาล รธน.นัดไต่สวนและอาจมีคำพิพากษานายกฯกรณีโยกย้ายคุณถวิล (ความเสี่ยงของการปะทะกันการเกิดสุญญากาศทางการเมืองมีเพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนยังมีสูง) ด้าน นปช. นัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 10 พ.ค. และกปปส. นัดชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลรักษาการ ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.

          -ประเด็นเศรษฐกิจ (Downward Revision อาจเกิดขึ้นอีก แต่ส่วนใหญ่ Price in ไปแล้ว): Downward Revision GDP ไทยปีนี้ ยังคงมีต่อเนื่อง โดยคาดว่า 1Q57F GDP จะเติบโตลดลง q-q ก่อนทรงตัวใน 2Q57F และฟื้นตัวเล็กน้อยใน 2H57F โดยภาคส่งออกจะเป็นตัวช่วยหนุนการเติบโต (แต่คาดว่าต่ำกว่าเป้า 5%) โดยคาดการณ์จีดีพีไตรมาส 1/57 อิง Bloomberg consensus อยู่ที่ +1.5% yoy, -1.6% qoq จากไตรมาส 4/56 ที่เติบโต +0.6% yoy, +0.6% qoq (เราคาด +0.6%y-y -1.9%q-q)

          +/-ประเด็นผลกำไรบจ.:(รอลุ้นเก็งกำไรหุ้นรายตัว) Bloomberg Consensus คาดผลประกอบการโดยรวมบจ. ใน 1Q57 (จำนวน 103 บจ. คิดเป็น 82% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของดัชนี SET) หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -19.8% (YoY) แต่เติบโตจากช่วง 4Q56 ที่ +20.3% (QoQ) สาเหตุที่กำไรหดตัว y-y ส่วนใหญ่ เป็นผลมาจากการเมืองและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นหลัก ขณะที่กลุ่มธนาคารได้ประกาศผลประกอบการออกมาครบแล้ว โดยหดตัว -1.2% yoy แต่เติบโต +10.7% qoq

          สถิตเดือน พ.ค. (Sell in May and go away): อิง American Economic Review ปี 2002 ศึกษาช่วง ปี 1970-1998 พบว่าตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ 36 จาก 37 ประเทศ ปรับขึ้นในเดือน พ.ย. - เม.ย. มากกว่าช่วงพ.ค. - ต.ค. และมีการศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้ช่วงปี 1998-2012 พบว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง พ.ย. - เม.ย. สูงกว่าช่วง พ.ค. - ต.ค. ประมาณ +10 ppt ทั้งนี้ Econ Journal Watch ชี้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก Major economic , Political events มีจำนวนมากในช่วง พค-ตค.(ปีนี้ ติดตามสถานการณ์ในยูเครน Credit crunch ในจีน การลดขนาด QE ของเฟด ฯลฯ)

          ตลาดหุ้นไทย : สถิติย้อนหลังพบว่า การลงทุนในเดือน พ.ค. ให้ผลตอบแทนติดลบ โดยสถิติย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่ามีโอกาสเพียง 40% ที่ดัชนีฯ เดือน พ.ค. ปิดสูงขึ้น โดยให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย-0.07%m-m Max +13.98% (ปี 52) Min -7.66% (ปี 49) ขณะที่เดือน มิ.ย. ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +0.07%m-m

          Fund Flow : สถิติเดือน พ.ค. ย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลัง -1.18 หมื่นลบ. และขายต่อเนื่องในเดือน มิ.ย.  อีก - 7.26 หมื่นลบ. ก่อนจะกลับมาซื้อสุทธิในเดือนก.ค. +7.12 ลบ. ส่วนแรงซื้อตลาดหุ้น GEM ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 แต่ด้วยวอลุ่มที่ลดลงมาก (ดูรายงาน Weekly Fund Flow) สะท้อนความเสี่ยงของการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ อาจเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.

*สรุปสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 เมษายน - 2 พฤษภาคม) ผันผวนจากรายงานผลกำไรบจ-ตัวเลขเศรษฐกิจ

           ตลาดหุ้นโลกผันผวน โดยตลาดหุ้น FTSE ปรับขึ้นสูงสุด w-w +2.05% แย่สุดคือ Indonesia -1.2% w-w ส่วนตลาดหุ้นไทย ปรับขึ้น+0.95%w-w จากแรงซื้อหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ของนักลงทุนต่างชาตินำโดยกลุ่ม ICT +1.79%w-w ปิโตรเคมี +1.47% ธนาครฯ+1.34% ตามลำดับ

           ส่วนค่าระวางเรือ เริ่มปรับขึ้นในช่วง 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์ หนุนดัชนี Baltic Dry Index ปรับขึ้นต่ออีก +5.17%w-w ส่วนวิตกปัญหายูเครน หนุนทองคำ น้ำมันดิบ ขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ แต่แรงหนุนน้ำมันมีจำกัด จากรายงานสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

           ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ผันผวน ตามรายงานจ้างงานสหรัฐฯที่ดีกว่าคาด แต่ผลจากเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ กลับมาอ่อนค่าเทียบสกุลหลัก w-w ยกเว้นเงินบาท อ่อนค่าเพิ่ม 0.3%w-w วิตกปัญหาการเมืองในประเทศ

หุ้นเด่น : เก็งกำไรระยะสั้น

INTUCH ราคาเป้าหมาย 98.00 บาท

          แนวรับ 77.75/76.50 แนวต้าน 81.00/83.75

           Consensus คาดกำไรไตรมาส 1/57 หดตัว -8.1% yoy แต่เติบโต +6.4% qoq โดยที่ทั้งปี 57 คาดว่ากำไรจะเติบโตที่ 12%

           ราคาปัจจุบันมี discount 19% จากมูลค่าตลาดของ ADVANC (245) และ THCOM (40.00) ที่ถืออยู่

           คาดจ่ายปันผลปี 57 และ 58 ที่ 4.6 และ 5.4 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ 5.9% และ 6.9%

JAS       ราคาเป้าหมาย 10.80 บาท

          แนวรับ 8.30/8.15 แนวต้าน 8.60/9.00

           ประกาศงบไตรมาส 1/57 ที่ 852 ล้านบาท +9.8% yoy +12.5% qoq ใกล้เคียง consensus คาด โดยธุรกิจหลัก คือ อินเตอร์เนตเติบโตต่อเนื่อง

           คาดกำไรสุทธิปี 57 เติบโตดีที่ 29% จากธุรกิจหลักยังสดใส

           บริษัทเตรียมตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว จะเหลือเงิน2.5-3 หมื่นล้านบาท หรือ 3.6-4.25 บาท/หุ้น

DTAC      ราคาเป้าหมาย 121.50 บาท

          แนวรับ 122.00/120.00 แนวต้าน 128.00/130.00

           ประกาศกำไรไตรมาส 1/57 ที่ 3.31 พันล้านบาท โต +9% yoy +78% qoq ดีกว่าที่ตลาดคาด 10%

           กลับมาจ่ายเงินปันผลสำหรับงวดไตรมาส 1/57 ที่ 1.42 บาท ต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 16 พ.ค.

           เป็นหุ้นที่ให้ปันผลดี โดยจ่ายทุกไตรมาส คาดทั้งปี 57 ปันผลที่ 6.06 บาทต่อหุ้นหรือคิดเป็น อัตราผลตอบแทน 4.9%

* อิงราคาเป้าหมายจาก Bloomberg consensus

ประเด็นจับตา

    1. ประเด็นการเมือง: ความเสี่ยงที่จะเกิดสุญญากาศการเมือง และเหตุเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มความเห็นต่างเรื่องผลตัดสิน ศาลฯ / ปปช. เป็นปัจจัยถ่วงตลาดหุ้นระยะสั้น

          ประเด็นการเมือง (Update):

     นปช.เลื่อนชุมนุมใหญ่จาก 5 พ.ค. เป็น 10 พ.ค., รอ กปปส. ชุมนุมใหญ่ นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. เผยว่า นปช.จะเลื่อนวันนัดชุมนุมใหญ่ จากวันที่ 5 พ.ค. ออกไป เป็นวันที่ 10 พ.ค.นี้ โดยยังคงชุมนุมที่ ถนนอุทยาน(อักษะ)ย่านพุทธมณฑล จ.นครปฐม "สมชัย" เผยอาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเสนอของ "อภิสิทธิ์" เนื่องจาก กกต. มีข้อสรุปร่วมกับรัฐบาลแล้ว

     กกต.อาจจะไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเสนออภิสิทธิ์ เนื่องจากเป็นการเสนอหลังจาก กกต.ได้มีข้อสรุปร่วมกับรัฐบาลในการกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาลที่จะต้องคิดตัดสินใจกันเองว่า จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม หรือไม่ กกต.ก็จะส่งร่างพระราชกฤษฎีกา ให้รัฐบาลในวันที่ 6 พ.ค. พิจารณาตามกระบวนการ อย่างไรก็ตามยังคงรอความชัดเจนจากการประชุม กกต. อีกครั้งหากมีการพิจารณาในประเด็น

    "นพดล" ระบุ พรรคเพื่อไทยจะชี้ชัดเอา-ไม่เอาข้อเสนอ "อภิสิทธ์" 6 พ.ค. นี้พรรคเพื่อไทยยินดีรับฟังข้อเสนอของคนไทยทุกคนที่ต้องการนำประเทศออกจากความขัดแย้ง โดย

มอบหมายให้กรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคไปศึกษารายละเอียดข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ให้รอบคอบ โดยพรรคจะมีท่าทีที่เป็นทางการอย่างชัดเจนในประเด็นต่างๆ ที่นายอภิสิทธิ์นำเสนอในวันที่ 6 พ.ค.

     "นิติธร" ติงข้อเสนอ "อภิสิทธิ์" ไม่เป็นรูปธรรมและไม่เห็นด้วย คปท. กล่าวถึงข้อเสนอทางออกประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์แม้จะเป็นข้อเสนอที่ดีในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองหาทางออกให้กับประเทศ แต่มันยังไม่มีรูปธรรมและรายละเอียดชัดเจนในการจัดการระบอบทักษิณให้หมดไปจากประเทศไทย ยังเป็นข้อเสนอที่เปิดกว้างให้นักการเมืองที่เป็นต้นตอปัญหาของประเทศในขณะนี้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางกติกาบ้านเมืองอีก

     "คำนูณ" ฟันธง "รัฐบาล-นปช." ไม่รับข้อเสนออภิสิทธิ์ โดยเฉพาะการตั้งนายกฯคนนอกนายคำนูณ สิทธิสมาน สว.สรรหา กล่าวว่า ข้อเสนอทางออกประเทศด้วยแผนเดินหน้าประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นส่วนที่แก้ไขวิกฤตการเมืองได้ หากทุกฝ่ายยอมรับ แต่ตนเชื่อว่าจะเป็นไปได้ยากที่จะให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน รวมถึงเครือข่ายของพรรคเพื่อไทยและกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว และอาจมองข้อเสนอดังกล่าวว่าเป็น กปปส.จำแลงได้ "จารุพงศ์"ไม่รับข้อเสนอทางออกปท.ของ"อภิสิทธิ์", เพื่อไทยเดินหน้าเลือกตั้ง

     นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ไม่สามารถรับข้อเสนอทางออกประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ได้ เนื่องจากไม่มีกฏหมายรองรับ และนำไปปฏิบัติไม่ได้

   "สุเทพ"ประกาศเริ่มปฏิบัติการเรียกคืนอำนาจอธิปไตยสู่ปชช.ตั้งแต่ 14 พ.ค. กปปส.ประกาศ จะเริ่มปฏิบัติการเรียกคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชน ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. เป็นต้นไปแต่ยังไม่ระบุสถานที่นัดชุมนุมใหญ่      

2. การประกาศผลประกอบการ 1Q57F ของบจ. คาดว่าจะส่งผลต่อหลักทรัพย์รายบริษัทฯ ในสัปดาห์นี้

      Thai-บจ. ที่คาดว่าจะประกาศผลประกอบการภายในสัปดาห์นี้ (6 - 9 พ.ค.) เด่นๆ ได้แก่ ADVANC PTTGC IRPC TRUE BIGC TUF KCE

USA: การประกาศผลประกอบการ 1Q57 ของบจ. สหรัฐฯ

    บจ. สหรัฐฯ เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยผลสำรวจจาก บลูมเบิร์ก ปรับคาดการณ์กำไรบจ.ที่คำนวณใน S&P 500 ลงเหลือ 0.7%y-y รายรับเพิ่ม 2.6%y-y เนื่องจากผลกระทบฤดูหนาวที่รุนแรง ยาวนาน โดยจากผลสำรวจพบว่า มีสัดส่วนบจ.ที่รายงานงบเชิงบวก มีเพียง 1 รายเทียบกับเชิงลบถึง 6 ราย ขณะที่รายงานผลกำไร 300 บจ.ที่คำนวณในดัชนี S&P 500 ที่ผ่านมา พบว่า กำไรเติบโตเพียง 0.9%q-q (จากคาดการณ์เดือน มี.ค. +1.2%q-q) และรายรับ +2.7%y-y โดยมีจำนวน 74% ที่รายงานกำไรดีกว่าคาด ทั้งนี้ บริษัทฯที่จะทยอยประกาศผลประกอบการในช่วงสัปดาห์นี้ เช่น, WALT DISNEY, PRUDENTIAL, BERKSHIRE, FANNIE MAE ฯลฯ

3. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ จับตา Jellen แถลงแนวโน้มเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ(วันพุธ) การค้าระหว่างประเทศจีนและผลประชุมธนาคารกลาง EU, BOE (วันพฤหัสฯ)

     วันอังคาร: USA: การค้าระหว่างประเทศเดือน มี.ค. คาดขาดดุล -$40.4bn.(Vs -$42.3bn.) EU: ยอดค้าปลีก มี.ค. คาด -0.2%m-m(Vs +0.4%) Australia: คาดธนาคารกลางคงดอกเบี้ยนโยบายที่2.5% และดุลการค้า มี.ค. คาดเกินดุล 1 Aud Bn.

     วันพุธ : USA: ประธานเฟด เยลเล่น แถลงเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ Germany: Factory Orders มี.ค. คาด +0.4%m-m(Vs 0.6%) Indonesia: 1Q57F GDP คาดเติบโต 5.6% y-y(Vs 5.7%)

     วันพฤหัสบดี: China ส่งออก เม.ย. คาด -3.5%y-y นำเข้า -2.3%y-y ดุลการค้าเกินดุล +$18.8bn. (มี.ค. ส่งออก -6.6%y-y นำเข้า -11.3% เกินดุล +$7.71bn.) ผลประชุมธนาคารกลาง EU, BoE คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.25%, 0.5% ตามลำดับ German: Industrial Production มี.ค. คาด +0.2%m-m(Vs 0.4%) ผลประชุมธนาคารกลาง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดฯ คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.5% 3% 7.5%ตามลำดับ

    วันศุกร์ : Germany ดุลการค้า มี.ค. คาดเกินดุล +17.5 Euro bn.(Vs +16.3bn.) S.Korea คาด ธนาคารกลางคงดอกเบี้ยที่ 2.5% ฟิลิปปินส์ มี.ค. ส่งออก+10%y-y (Vs 24.4%)

Economic Calendar

    รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา :

    USA: กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 288,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี (Vs คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 210,000 ตำแหน่ง จากระดับ 192,000 ในเดือน มี.ค.) ส่วนอัตราว่างงานดิ่งลงสู่ระดับ 6.3% ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 6.6% ขณะที่เดือน มี.ค.อยู่ที่ 6.7% การจ้างงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 273,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. ขณะที่ภาครัฐเพิ่มการจ้างงาน 15,000 ตำแหน่ง

   การจ้างงานนอกภาคเกษตร สหรัฐฯ เมษายน อยุ่ที่ 288k (Vs คาด 215k) และปรับเพิ่มตัวเลขเดือนมีนาคมเป็น 203k (Vs เดิม 192k) เดือนกุมภาพันธ์ เป็น 222k(Vs เดิม 197k) โดยการจ้างงานภาครัฐ เพิ่ม 15k และภาคเอกชน เพิ่ม 273k ส่วนอัตราว่างงาน เม.ย. ลดลงเหลือ 6.3% (Vs มี.ค. 6.7%) เป็นผลจาก Participation rate ลดลง 0.4pp

    FED Fund Rate (Future) ความเคลื่อนไหวในตลาดสัญญาล่วงหน้าบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังคาดการณ์ว่ามีโอกาส 56% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกใน เดือนมิ.ย.2015 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 47% ซึ่งเป็นระดับก่อนการเปิดเผยรายงานการจ้างงานในวันนี้ และเร็วขึ้นกว่าเดิมที่คาดการณ์กันว่าเฟดจะขึ้น อัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ค. 2015 เฟดกำหนดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25 % นับตั้งแต่ เดือน ธ.ค. 2008 เป็นต้นมา และเฟดได้ให้สัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวต่อไปอีกเป็นเวลานานระยะหนึ่ง หลังจากเฟดยุติการใช้มาตรการ QE ไปแล้ว

    ISM เผยดัชนี PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน เม.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเพิ่มขึ้นเกินคาดสู่ 55.2 ในเดือน เม.ย. จาก 53.1 ในเดือนมี.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคบริการจะอยู่ที่ 54.1 ในเดือนเม.ย.

      ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนฟื้นตัวมากขึ้นในเดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิต ขั้นสุดท้ายของยูโรโซน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.4 ในเดือน เม.ย. จาก 53.0 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากข้อมูลขั้นต้นที่ 53.3 และเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันแล้วที่ดัชนียืนเหนือระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ

Global Momentum

    - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ตัวเลขภาคบริการหนุน

    วันจันทร์ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย DJIA 17.66 จุด หรือ 0.11% สู่ระดับ 16,530.55 จุด  ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 3.52 จุดหรือ 0.19% สู่ระดับ 1,884.66 จุด และ Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 14.16 จุด หรือ 0.34% สู่ระดับ 4,138.06 จุด จากข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของภาคบริการ และหุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้นเหนือระดับ 600 ดอลลาร์ ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 20

    วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนก่อนปิดลดลง ส่งผล DJIA ปิดที่ระดับ 16512.89 จุด -45.98 จุด -0.28%d-d ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1881.14 จุด ลดลงเล็กน้อย 2.54 จุด -0.13%d-d และ Nasdaq ปิดลดลง 3.55 จุด -0.09%d-d มาปิดที่ 4123.90 จุด เตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันศุกร์ โดยความกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงมากขึ้นในยูเครนได้ทำให้นักลงทุนขายทำกำไรออกมาก่อนช่วงวันหยุด และได้หักล้างกับความพึงพอใจในช่วงแรกต่อการจ้างงานในสหรัฐที่ขยายตัวมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปี อัตราว่างงานเดือนเม.ย. ลดลงเหลือระดับต่ำสุดรอบ 5.5 ปีที่ 6.3% (Vs 6.7%) การจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่ม 2.88 แสนราย (Vs คาด 2.15 แสนราย)

   ส่วนทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯพลิกกลับมาเป็นบวกจากรายงานผลกำไรบจ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆที่ดีกว่าคาด DJIA +0.93%w-w S&P +0.95%w-w Nasdaq +1.19%w-w หลังลดลงในสัปดาห์ก่อน

  -/+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ หนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ แต่ถ่วงโดยปัญหายูเครน

   วันจันทร์ ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดทำการ ดัชนี CAC40 ปิดขยับขึ้น 4.52 จุด หรือ 0.1 % สู่ 4,462.69 จุด และ DAX ปิดร่วงลง 26.52 จุด หรือ 0.28 % สู่ 9,529.50 จุด จากความกังวลเรื่องความขัดแย้งในยูเครน และตัวเลขภาคการผลิตของจีนที่อ่อนแอ แต่ได้แรงหนุนจากภาคบริการสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด

   วันพุธที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดเพิ่มขึ้น 13.55 จุด +0.20%d-d ปิดที่ 6822.42 จุด ดัชนี CAC40 ปิดลดลง -29.22 จุด -0.65%d-d มาปิดที่ 4458.17 จุด และ DAX ปิดร่วงลง -47.21 จุด -0.49%d-d ปิดที่ 9556.02 จุด ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงในวันศุกร์ จากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนที่กังวลว่าการเผชิญหน้าของกองกำลังฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ฝักใฝ่รัสเซียในยูเครนอาจทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ ประชาชนมากกว่า 40 คนได้เสียชีวิตในเมืองโอเดสซาของยูเครนในวันศุกร์ ท่ามกลางเหตุการณ์ความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดในเมืองท่าของทะเลดำ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิชถูกขับออกจากตำแหน่งในเดือนก.พ หลังตลาดดีดตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากข่าวการควบรวมกิจการส่วนทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา FTSE +2.05%w-w CAC40 + 0.33%w-w ปรับขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ DAX +1.64% w-w หลังจากลดลงในสัปดาห์ก่อนหน้า

   +ราคาน้ำมันดิบ ปรับลง ตามปัจจัยฤดูกาล

    วันจันทร์ Brent ส่งมอบมิย. ปรับลง 87 เซนต์ สู่ 107.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบมิ.ย. ร่วงลง 28 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 99.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากเทรดเดอร์ระบายสถานะซื้อออกมา ก่อนที่ผู้ใช้รถในสหรัฐจะเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน เบนซินเกรดสำหรับฤดูร้อน

   วันศุกร์ ที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ มิ.ย. ปิดบวก $ 0.83 เป็น $ 108.59 ดอลล์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิ.ย. ปิดเพิ่มขึ้น $ 0.34 ต่อบาร์เรล เป็น $ 99.76 ดอลล์ต่อบาร์เรล จากความวิตกกังวลว่าสถานการณ์ตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในยูเครนอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานและการจัดส่งน้ำมันทั่วโลก นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังปรับตัวขึ้น หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลจ้างงานที่เพิ่มมากสุดในรอบสองปีและออกมาดีกว่าคาดการณ์

   +ราคาทองคำ ปิดบวก จากข่าวความขัดแย้งยูเครน

    วันจันทร์ ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปรับขึ้น 0.5 % สู่ 1,309.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจาก ความขัดแย้งในยูเครน และจากการทะยานขึ้นเหนือระดับสำคัญทางเทคนิคที่ 1,300 ดอลลาร์

          วันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน วันทำการที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ $1302.90 ต่อออนซ์พลิกกลับมาสูงขึ้น + $ 19.41 ต่อออนซ์ เป็นผลจาก สถานการณ์ในยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้นได้กระตุ้นความต้องการทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และสัญญาณเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยฯ หลังจากรายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เม.ย. ที่ดีกว่าคาด ช่วยกลบข่าวร้ายตอนเปิดตลาด รายงานการถือครองทองคำที่ลดลงของกองทุน SPDR Gold Trust 2.39 ตันเป็น 785.55 ตันส่งผลให้เดือนเมษายน ถือครองทองลดลง 25 ตัน หลังจากเพิ่มถือครองทองใน 2 เดือนก่อนหน้า

   รอยเตอร์โพลล์สำรวจจาก 28 นักวิเคราะห์ คาดว่าราคาทองคำเฉลี่ยปีนี้ อยู่ที่ $1262.50 และ $ 1254.20 ต่อออนซ์ใน 3Q และ 4Q ปีนี้ ตามลำดั้บ จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและการทำ QE ของเฟด หนุนค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ แข็งค่า

  + ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดขึ้นต่อเป็นวันที่ 2 หลังลดลง 3 วัน (เดือน เม.ย. - 30.76%m-m Vs เดือน มี.ค. +82.7%m-m)

   วันจันทร์ปิดทำการ

   วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้นอีก 24 จุด มาปิดที่ระดับ 1017 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

หุ้นแนะนำตามปัจจัยพื้นฐาน

Econ : ตัวเลขไตรมาส 1 อ่อนแออาจชี้ว่า GDP อาจออกมาแย่กว่าที่คาดไว้

    เครื่องชี้เศรษฐกิจแย่ลงเล็กน้อยในเดือนมีนาคม อุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอ ตามความเสี่ยงทางการเมืองที่ยังยืดเยื้อ อุปสงค์ภายนอกปรับแย่ลงเช่นกัน แต่คาดว่าจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวนอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอในไตรมาสที่ 1 สะท้อนว่า ตัวเลข GDP ที่จะประกาศในวันที่ 19 พ.ค. นี้ อาจจะแย่กว่าที่เราคาดไว้

    อุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอ

    ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวสำหรับอุปสงค์ในประเทศในเดือนมีนาคม โดยการใช้จ่ายของภาคเอกชนยังคงอ่อนแอแต่ภาพโดยรวมก็ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานว่า ภาคครัวเรือนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ตามรายได้ที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจประกอบกับหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาคธุรกิจยังคงเลื่อนการลงทุนใหม่ออกไป จนกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะปรับดีขึ้น และความเสี่ยงด้านการเมืองจะคลี่คลา

  การส่งออกแย่ลง แต่คาดว่าจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว

    การขยายตัวของการส่งออกกลับมาติดลบอีกครั้งในเดือนนี้ เนื่องจากมีการปิดโรงงานชั่วคราวในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกของสินค้าไทย อย่างไรก็ดีในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การท่องเที่ยวที่ติดลบมากในเดือนก่อน แม้ในเดือนนี้จะยังคงติดลบอยู่แต่มีแนวโน้มทรงตัวมากขึ้น หลังจากรัฐบาลยกเลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉินไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้ายังคงติดลบมาก ตามการชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากดุลบริการขาดดุลเล็กน้อย

    เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ที่อ่อนแอชี้ว่า GDP อาจจะอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้

   สภาพัฒน์ฯ จะประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 ในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ เมื่อพิจารณาถึงเครื่องชี้ในไตรมาส 1 ที่ยังคงอ่อนแอ มีความเป็นไปได้ที่ GDP อาจจะออกมาแย่กว่าที่เราคาดไว้ (เราคาด 0.6% YoY และ -1.9% QoQ) อนึ่ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอุปสงค์จากภายนอกน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบัน (2.0%) ตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ตาม หาก GDP ในไตรมาส 2 ติดลบ จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย (QoQ ติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน) และหากเป็นเช่นนั้น กนง. คงหลีกเลี่ยงการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ยาก

สรุปข่าวบริษัทจดทะเบียนและข่าวเศรษฐกิจ

ข่าวบริษัทจดทะเบียน

          JMART: ผลงาน Q1 หรูหราเดินเกมดันลูกเข้าตลาดหุ้น

          JMART ส่งซิกงบ Q1/2557 หรูหลังยอดขายมือถือพุ่ง 'อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา'จัดทัพบริษัทย่อย ปั๊มรายได้โตกระโดดเดินเกมธุรกิจขยายสาขาทั้งในและนอก ปูกลยุทธ์หั่นรายจ่ายหวังเขมือบกำไรและรายได้ทั้งปี 2557 โต 25% กูรูแนะสอยเข้าพอร์ตพื้นฐานแกร่ง วิ่งชนเป้า 20.70 บาท

          PLE: ปลื้มงบ Q1 โตเร้าใจ 600% แย้มงานใหม่รอเสียบหมื่นล้าน

          PLE ถึงเวลาเฮงจับตา Q1/2557 โชว์กำไรสูง 180 ล้านบาท โตเกิน 600% หลังบุ๊กกำไรรีไฟแนนซ์ "SOHO" เข้ากระเป๋า ซุ่มเจรจา "JJmall" เทกโอเวอร์ SOHO อวดฐานทุนหนางานรอดีลกว่า 1 หมื่นล้านบาท แถมบริษัท AEC รุมจีบรับงานหรูข้ามชาติ ส่วนปี 2557 ฟันรายได้โต 25% เป้า 2 บาท ด้าน ITD เบนเข็นโกยงานต่างแดนเต็มสูบ

          SMT: รายได้พุ่งเกิน8พันล้านเบนเข็มชิงเค้กตลาดดิจิตอลทีวี

          SMT ผลงานไตรมาส 1/2557 ฟื้นตัวจากไตรมาส 4/2556 ที่ขาดทุนสุทธิ 95 ล้านบาท หลังลูกค้าป้อนออเดอร์เต็มพิกัด พร้อมเบนเข็มชิงส่วนแบ่งตลาดดิจิตอลทีวี วางกลยุทธ์เป็น OEM ผลิตอุปกรณ์ Set Top Box โวเจรจาพันธมิตรรายใหญ่แล้ว 3 แห่ง มั่นใจรายได้ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 8 พันล้านบาท โบรกส่องราคาหุ้น SMT  แข็งแกร่งลุ้นทดสอบต้าน 7.50-7.70 บาท

          MDX: เป๋าตุงญี่ปุ่นซื้อที่ 2.1 พันล.โรงไฟฟ้าหนุนฐานราคา 15 บ.

          MDX สุดปลื้มนักลงทุนญี่ปุ่นเมินการเมืองเรียงคิวซื้อที่ดิน 700 ไร่ มูลค่า 2.1 พันล้านบาท คาดปิดดีล Q3/2557 นี้ เร่งเสริมทัพตั้งฐานการผลิตรับมือ AEC ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าไปได้สวยจับมือกลุ่ม ปตท.สร้างโรงไฟฟ้าพม่าหวังโกยรายได้เข้ากระเป๋า 50% งบไตรมาส 1/2557 หรูหรา เป้าหมาย 15.00 บาท

          SINGER: ยอดขายแรงส่องกำไร Q1 พุ่ง 110%

          SINGER มั่นใจผลงานปี 2557 ยังเติบโตได้ตามเป้า แม้ปัจจัยลบในประเทศยังเพียบ คาดรายได้รวมปีนี้ไม่ต่ำกว่า 10-15% แน่นอน พร้อมเดินหน้าลุยตลาด Get Rich อย่างต่อเนื่อง หลังตลาดต่างจังหวัดยังมีความต้องการสูงพร้อมขยายช่องทางขายใน Makro อีก 10 แห่ง ฟากโบรกส่องพื้นฐานปี 2557 แข็งแกร่ง ส่องกำไรไตรมาส 1/2557 พุ่งแรง 110.2% เคาะเป้า 19.95 บาท

          RS: บอลโลกดันฐานแกร่งโบรกวางพิกัดเป้า 11 บาท

          บิ๊กบอส RS การันตีรายได้ปี 2557 แตะ 5 พันล้านบาท โตเกิน 40% เผยเรตติ้งแจ่ม โกยค่าโฆษณาเต็มพอร์ต ฐานทุนหนาสั่งลุยดิจิตอลแย้มต้นทุนต่ำเบียดคู่แข่ง ฟากโบรกพร้อมใจเชียร์ รับอานิสงส์บอลโลก ดันกำไรไตรมาส 2/2557 สนั่นวงการ หนุนทั้งปี 2557 พุ่ง 42% วิ่งชนเป้า 11 บาท

          SIRI: บุ๊กขายสินทรัพย์ดันงบไตรมาส 1 โตแรงหุ้นวิ่งชนเป้า 2.44 บาท

          SIRI ลั่นไตรมาส 1/2557 กำไรติดจรวด 700 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน 86.47 ล้านบาท หลังขายสินทรัพย์เข้ากอง SIRIP ผุดโครงการบ้านเดี่ยว "คณาสิริ ศาลายา" มูลค่า 1.56 พันล้านบาท มัดใจคนรุ่นใหม่ ชิงตลาดชานเมือง โบรกแนะเก็งกำไรเป้า 2.44 บาท

ข่าวเศรษฐกิจ

   +/- ไทย : พาณิชย์ขอความร่วมมือผู้ผลิต-จำหน่าย ตรึงราคาสินค้าอีก 6 เดือนถึงต.ค.นี้

   กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เห็นชอบมาตรการขอความร่วมมือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้ตรึงราคา สินค้าต่อเนื่อง 6 เดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ต.ค.57 ยกเว้นสินค้ารายการใดมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจนไม่อาจแบกรับภาระได้ให้ยื่นเรื่องกับกรมการค้าภายใน พิจารณาก่อนปรับราคาให้เกิดความเหมาะสม และเป็นธรรมกับผู้บริโภค โดยกรมฯจะทำหนังสือถึงผู้ผลิตและผู้จำหน่าย รวมถึงผู้ค้าปลีก ในวันที่ 6 พ.ค.นี้          

ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ :

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501  Thanomsaks@ktzmico.com  02-624-6244

ธิดารัตน์ ผโลดม   , no. 16564  Tidaratp@ktzmico.com    02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!