WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

วันตัดสินสถานภาพนายกฯ
Highlight
     ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง ตามการลดลงของหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ จากความตึงเครียดยูเครนและการขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจากผิดหวังผลประกอบการของทวิตเตอร์
      ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: ประธานเฟด เยลเล่น แถลงเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ Germany: Factory Orders มี.ค. คาด +0.4%m-m(Vs 0.6%) Indonesia: 1Q57F GDP คาดเติบโต 5.6% y-y(Vs 5.7%)
+วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อเพิ่ม อีก 367 ลบ. (สะสม 3 วัน 3.92 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +171 ลบ. (สะสม 4 วัน รวม +2.13 พันลบ.)
       คาดดัชนีฯ ลดลง แนวรับ 1400/1380 จุด กดดันจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และปัจจัยต่างประเทศจากปัญหายูเครน กดดันตลาดหุ้น
กลยุทธ์: รายเดือน แนะนำ ขึ้น-ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น แนะชะลอการเก็งกำไร/ขายตัดขาดทุนหากดัชนีฯ < 1400 จุด

หุ้นในกระแส:
       หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 2.0%) ได้แก่ CHUO AJP RASA MEGA PLE EARTH SINGER หุ้นที่ลงกว่า 5% LHBANK SUPER BJCHI WHA HEMRAJ SYNTEC AJD TIPCO ANAN
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ IVL+208 KBANK+81 ADVANC+51 ด้านขาย TRUE-7 SPALI-67 BBL-61
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ADVANC 152 KBANK 75 BGH 65
หลักทรัพย์ที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (หุ้นที่สำคัญ) วันพุธ AGE AMC AP CEN CHOTI CK CRANE ENGY MILL PREB SCBLIF SITHAI SSSC TPA UBIS

Market Outlook
       คาดดัชนีฯ ปรับลง แนวรับ 1400/1380 จุด วันนี้ศาลรธน. ตัดสินคดีสถานภาพนายกฯ นักลงทุนขายลดความเสี่ยง ขณะปัจจัยภายนอกกดดัน หนุนสถิติการลงทุนเดือน พ.ค. Sell and go away in May มีโอกาสเกิดซ้ำรอย
คาดดัชนีฯ วันนี้ ปรับลง แนวรับ 1400/1380 จุด (ลดการเก็งกำไร หากดัชนีฯหลุด 1400 จุด) หลังศาลนัดตัดสินคดีโยกย้ายนายถวิล เที่ยงวันนี้ อาจมีแรงเทขายตามมา หากนายกฯ ถูกตัดสินให้ออกจากตำแหน่ง รวมถึงเพิ่มโอกาสการเกิดสุญญากาศทางการเมือง ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศกลับมากดดันหลังปัญหายูเครนเพิ่มความรุนแรงขึ้น ประกอบกับมีแรงเทขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับขึ้นมาแรง ซึ่งอาจทำให้สถิติการลงทุนเดือน พ.ค. อาจเกิดซ้ำรอย (Sell and go away in May)
การเมืองในประเทศ กลับมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดฯอีกครั้งหลังศาลรธน. ไต่สวนพยาน 4 ปากไปแล้ววานนี้ และกำหนดอ่านคำวินิจฉัยกลางตอนเที่ยง (12.00 น.) วันนี้ โดยก่อนหน้านี้ศาลฯ ชี้แจงแนวทางตัดสินไว้ 3 ประเด็น คือ 1) เมื่อมีการยุบสภาแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ความเป็น รัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ 2) การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 และ 266 ซึ่งมีผลให้ต้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ และ 3) หากศาลฯ เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุด ตามมาตรา 182 จะเป็นเหตุให้ ครม.ทั้งคณะ ต้องพ้น ตำแหน่งไปด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ นายไพบูลย์ ส.ว. สรรหายังขอให้ศาลฯวินิจฉัยแนวทางการแต่งตั้ง นายกฯ คนใหม่ ภายใน 7 วัน หากนางสาวยิ่งลักษณ์ต้องสิ้นสถานภาพนายกฯ
       ทั้งนี้ ในกรณีที่นายกฯ ต้องสิ้นสภาพรัฐมนตรี เราประเมินว่าตลาดจะตอบรับในเชิงลบ แต่หากศาลฯ รัฐบาลแต่งตั้งนายกฯ คนใหม่มาจาคนในพรรค กรณีนี้ Downside อาจจำกัดที่ 1380/1360 จุด แต่ในกรณีที่นายกฯ และครม. ทั้งคณะต้องออกจากหน้าที่ เราประเมิน ความเสี่ยงขาลงจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนว่าใครจะขึ้นมาแทน ขณะที่กลุ่มต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาลยังยืนยันจัดการชุมนุมใหญ่ในวันเดิม (นปช. วันที่ 10และกปปส. วันที่ 14) เสี่ยงเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้น กรณีนี้เราประเมิน Downside ไว้ที่ 1314/1273 จุด (PE ที่ระดับ 13.1/12.7 เท่า)
กลยุทธ์ลงทุน: ทยอยขายทำกำไร สำหรับการลงทุนระยะ 2 เดือน(ความเสี่ยงขาลงอยู่ที่ 1314/1300 จุด) ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำ ชะลอการลงเก็งกำไรหรือขายตัดขาดทุนที่ 1400 จุด เนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองที่สูงขึ้น
*ระยะเดือน (ดูรายงาน Monthly เดือน พ.ค.) ถือเงินสด 60% ของพอร์ต เน้นเลือกลงทุนหุ้นปันผลสูง มีประเด็นบวก แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT PSL BANPU IVL (Global play) STPI TTCL JAS RS (ประเด็นบวกระยะสั้น)


+ระยะสั้น แนะนำ รอซื้อเมื่ออ่อนตัวหลักทรัพย์ที่มีประเด็น
1) M MAKRO / PSL MC NOK MEGA BJCHI (ลุ้นเข้าคำนวณใน SET50/Set100 Index) ส่วนหุ้นน่าขายคือ THAI CK/ SSI THRE JMART DCC มีความเสี่ยงหลุด SET 50/100 Index
2) หุ้นที่มี Upward Revision ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา : TRT GRAMMY BLAND AH SMPC SYMC PSL ROJNA DEMCO และขาย MILL TSTH DSGT TPOLY RCL UAC ANAN EFORL
ทางเทคนิค : ความเสี่ยงปรับฐานรอบใหม่ หากหลุด 1400 จุด มีเพิ่มขึ้น
ภาพใหญ่ระยะ 2 ปี ของทิศทางดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ใน Downtrend Channel กรอบ 1195-1445 จุด ส่วนระยะสั้น ยังคงอยู่ในกรอบขาขึ้น Up Channel แบบ V-Shape กรอบ 1392-1473 จุด โดยเริ่มมีสัญญาณการเตือนถึงการปรับฐาน (Correction) จากการแตะระดับสูงสุดของภาวะ Overbought ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็น Stochastic, RSI, MACD สะท้อนขาขึ้นของดัชนีฯอาจมีเพียง 1432/1442 จุด ส่วนสัญญาณขายจะยืนยันจบรอบ หากหลุดแนวรับบริเวณ 1400 จุด โดยมีแนวรับต่อไปที่ 1380/1340 จุดตามลำดับ

ประเด็นจับตา
1. การประกาศผลประกอบการ 1Q57F ของบจ. คาดว่าจะส่งผลต่อหลักทรัพย์รายบริษัทฯ ในสัปดาห์นี้
Thai-บจ. ที่คาดว่าจะประกาศผลประกอบการภายในสัปดาห์นี้ (6 – 9 พ.ค.) เด่นๆ ได้แก่ PTTGC TRUE CPALL TUF

2. ประเด็นการเมือง: ความเสี่ยงที่จะเกิดสุญญากาศการเมือง และเหตุเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มความเห็นต่างเรื่องผลตัดสิน ศาลฯ / ป.ป.ช. เป็นปัจจัยถ่วงตลาดหุ้นระยะสั้น


ประเด็นการเมือง (Update):
ศาลฯรธน.นัดฟังคำ วินิจฉัยสถานภาพนายกฯ เที่ยงวันที่ 7 พ.ค. กรณีย้าย"ถวิล"
        ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวันนี้(7 พ.ค.) เวลา 12.00 น. ฟังคำวินิจฉัยกรณี ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีการแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจาก ตำแหน่ง เลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หลังวันนี้ศาลฯ ได้ไต่สวนพยาน 4 ราย เสร็จสิ้นแล้ว
       กกต. ประสานเลขาฯ ครม. ส่งร่าง พ.ร.ฎ. เลือกตั้งเย็นวานนี้, อาจเรียกประชุมครม.นัดพิเศษ
ครม. ได้รับการประสานงานจาก กกต. ว่า ในช่วงเย็นวานนี้ อาจจะส่ง ร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) วันที่ 20 ก.ค. 57 มายังเลขาธิการครม. จากนั้นจะเสนอต่อรักษาการนายกรัฐมนตรี พิจารณาว่า จะเรียกประชุม ครม.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าวหรือไม่ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป

USA: การประกาศผลประกอบการ 1Q57 ของบจ. สหรัฐฯ
        บจ. สหรัฐฯ เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยผลสำรวจจาก บลูมเบิร์ก ปรับคาดการณ์กำไรบจ.ที่คำนวณใน S&P 500 ลงเหลือ 0.7%y-y รายรับ เพิ่ม 2.6%y-y เนื่องจากผลกระทบฤดูหนาวที่รุนแรง ยาวนาน โดยจากผลสำรวจพบว่า มีสัดส่วนบจ.ที่รายงานงบเชิงบวก มีเพียง 1 รายเทียบกับเชิงลบถึง 6 ราย ขณะที่รายงาน 384 บจ.ที่คำนวณในดัชนี S&P 500 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวน 75% ที่รายงานกำไรดีกว่าคาด และ 52% รายงานรายได้ดีกว่าคาด ทั้งนี้ บริษัทฯ ที่จะทยอยประกาศผลประกอบการในช่วงสัปดาห์นี้ เช่น, PRUDENTIAL, BERKSHIRE, FANNIE MAE ฯลฯ

       3. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ จับตา Jellen แถลงแนวโน้มเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ(วันพุธ) การค้าระหว่างประเทศจีนและผลประชุมธนาคารกลาง EU, BOE (วันพฤหัสฯ)
วันพุธ: USA: ประธานเฟด เยลเล่น แถลงเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ Germany: Factory Orders มี.ค. คาด +0.4%m-m(Vs 0.6%) Indonesia: 1Q57F GDP คาดเติบโต 5.6%yy(Vs 5.7%)
วันพฤหัสบดี: China ส่งออก เม.ย. คาด -3.5%y-y นำเข้า -2.3%y-y ดุลการค้าเกินดุล +$18.8bn. (มี.ค. ส่งออก -6.6%y-y นำเข้า -11.3% เกินดุล +$7.71bn.) ผลประชุมธนาคารกลาง EU, BoE คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.25%, 0.5% ตามลำดับ Germany: Industrial Production มี.ค. คาด +0.2%m-m(Vs 0.4%) ผลประชุมธนาคารกลาง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดฯ คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.5% 3% 7.5%ตามลำดับ
วันศุกร์: Germany ดุลการค้า มี.ค. คาดเกินดุล +17.5 Euro bn.(Vs +16.3bn.) S.Korea คาดธนาคารกลางคงดอกเบี้ยที่ 2.5% ฟิลิปปินส์ มี.ค. ส่งออก+10%y-y (Vs 24.4%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคบริการสเปนขยายตัวสูงสุดรอบ 7 ปีในเดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของมาร์กิต อยู่ที่ระดับ 56.5 ในเดือน เม.ย. จาก 54.0 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือน มี.ค. 2007 ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันแล้ว
        สเปนเผยจำนวนผู้ว่างงานลดลงเป็นเดือนที่ 3 ใน เม.ย. กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนว่าเป็นผู้ว่างงาน ในสเปนลดลง 111,565 คน หรือ 2.3% ในเดือนเม.ย.จากเดือน มี.ค. ส่งผลให้มีผู้ว่างงาน 4.68 ล้านคน จำนวนผู้ว่างงานลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแล้ว และเป็นการ ลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์สำหรับเดือน เม.ย.
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ยูโรโซนขยายตัวเป็นเดือนที่ 10 ใน เม.ย. ดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นสุดท้ายของมาร์กิต ซึ่งประเมินการขยายตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ ดีดตัวสู่ระดับ 54.0 ในเดือน เม.ย. จากระดับ 53.1 ในเดือน มี.ค. ซึ่งสูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน
        อียู เผยยอดค้าปลีกในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน มี.ค. สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน มี.ค. จากยอดขายอาหาร, เครื่องดื่ม และยาสูบ แต่รูปแบบการใช้จ่ายแตกต่างกันอย่างมากในยูโรโซน ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน ก.พ. ขณะที่ตลาดคาดว่าจะลดลง 0.2%

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลง ผิดหวังผลประกอบการ
วันอังคาร ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วงลง โดยดัชนี DJIA ปิดร่วง 129.53 จุดหรือ 0.78% สู่ระดับ 16,401.02 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 16.94 จุดหรือ 0.9% สู่ระดับ 1,867.72 สู่ระดับ 1,884.66 จุด และ Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น ปิดปรับตัวลง 57.30 จุด หรือ 1.38% สู่ระดับ 4,080.76 จุด ขณะที่หุ้นเอไอจีถ่วงหุ้นกลุ่มการเงินลงหลังเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง และการร่วงลงของหุ้นทวิตเตอร์ฉุดหุ้นอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตลงด้วย

- ตลาดหุ้นยุโรป ร่วงลง ห่วงการส่งออก
       วันอังคาร ตลาดหุ้นยุโรปปิดลง FTSE ปิดร่วงลง 23.86 จุด หรือ 0.35 % สู่ 6,798.56 จุด ดัชนี CAC40 ปิดปรับลง 34.62 จุด หรือ 0.78 % สู่ 4,428.07 จุด และ DAX ปิดร่วงลง 61.97 จุด หรือ 0.65 % สู่ 9,467.53 จุด นักยุทธศาสตร์การลงทุนหุ้นของธนาคารเครดิต สวิสปรับลดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเยอรมนีลงสู่ benchmark จาก overweight โดยให้เหตุผลว่า มีความเสี่ยงที่ผู้ส่งออกของเยอรมนีอาจได้รับความเสียหายจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีน

+/-ราคาน้ำมันดิบ ทรงตัว
       วันอังคาร Brent ส่งมอบมิย. ร่วงลง 66 เซนต์ สู่ 107.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิย.ขยับขึ้น 2 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 99.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นในช่วงหลังตลาดปิดทำการ เนื่องจากการปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชนรายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐดิ่งลง 1.8 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 พ.ค.

-ราคาทองคำ ปิดลง อากอุปสงค์อ่อนแอ
        วันอังคาร ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดขยับขึ้น 0.1 % สู่ 1,308.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองปรับขึ้นในช่วงแรก ก่อนจะร่วงลงในช่วงต่อมา โดยได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่อ่อนแอในตลาดปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ราคาทองยังคงได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในยูเครน, การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และการร่วงลงของตลาดหุ้นรอยเตอร์โพลล์สำรวจจาก 28 นักวิเคราะห์ คาดว่าราคาทองคำเฉลี่ยปีนี้ อยู่ที่ $1262.50 และ $ 1254.20 ต่อออนซ์ใน 3Q และ 4Q ปีนี้ ตามลำดั้บ จากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและการทำ QE ของเฟด หนุนค่าเงินดอลล์สหรัฐฯแข็งค่า

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดขึ้นต่อเป็นวันที่ 3
       วันอังคาร ดัชนี Baltic Dry Index ปิดบวก 5 จุดหรือ 0.49% สู่ระดับ 1,022 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501
Thanomsaks@ktzmico.com
02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564
Tidaratp@ktzmico.com
02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!