WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

แกว่งตัวในกรอบจำกัด เน้นเก็งกำไรรายตัว
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ นักลงทุนจับตาความรุนแรงในอิรัก ขณะราคาน้ำมันดิบปรับลงหลังการส่ง ออกน้ำมันยังไม่ถูกกระทบ
      ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 0.45 ล้านหน่วย (Vs 0.43 ล้านหน่วย) ดัชนีราคาบ้าน S&P Shiller เม.ย. คาด +1%m-m (Vs 1.2%)
      -วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายอีก -654 ลบ. (ขายสะสม 10 วันรวม -1.17 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +681 ลบ. (ซื้อสะสม 3 วัน รวม +6.79 พันลบ.)
      + การเมือง/เศรษฐกิจ คสช. เตรียมแถลงผลงานครบรอบ 1 เดือน จับตาการพิจารณา 4 โครงการของกสทช. ที่ระงับไว้ซึ่งรวมถึงการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ และการจากคูปองทีวีดิจิตอล
คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ 1460-1475 จุด มีแรงเก็งกำไรสลับเข้ามาในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก คาดแรงหนุนสัปดาห์นี้ มาจาก Window Dressing (กลุ่มมิเดีย ICT ปิโตร Laggards QTD) นโยบายปฏิรูปของคสช.(รับเหมาฯ วัสดุฯ นิคมฯ ICT)
      กลยุทธ์: Accumulate Buy: ADVANC INTUCH IVL SCB KBANK GUNKUL MINT CENTEL เก็งกำไรแบบมีจุดขายตัดขาดทุน 3% GOLD SVOA EFORL EPCO UTP BMCL LHBANK TWZ (เทคนิค)

 

หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ RASA TWZ AUCT ANAN BMCL EFORL SYNTEC BLAND หุ้นที่ลงกว่า 3.0% ได้แก่ TAE EMC TSR UNIQ GFPT TUF TRUE PF
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ SCB+358 PTT+274 PTTEP+273 KBANK+210 IVL+189 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ BBL-140 ADVANC-118
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ BBL 74 KBANK 60

Market Outlook
     คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ 1460-1475 จุด ตลาดหันมาเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ยังลุ้นการทำ Window Dressing และความคืบหน้าของการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจของ คสช. แนะนำเก็งกำไรกลุ่มสื่อสาร (ADVANC INTUCH) ปิโตรฯ (IVL PTTGC) แบงก์ (SCB KBANK) พลังงานทดแทน (GUNKUL SOLAR) บอลโลก (MINT CENTEL)
     คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ 1460-1475 จุด ตลาดหันมาเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ขณะยังลุ้นแรงหนุนในหุ้นขนาดใหญ่จากการทำ Window Dressing (เฉลี่ย +1.9%w-w ในสัปดาห์สุดท้ายของ 2Q) และความคืบหน้าของนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ของคสช. (แนะนำ กลุ่มแบงก์ สื่อสาร) ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศนักลงทุนยังจับตาความรุนแรงในอิรัก แม้ตลาดน้ำมันดิบจะคลายความกังวลระยะสั้นหลังปริมาณการส่งออกน้ำมันยังไม่ถูกกระทบ ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีทิศทางดีต่อเนื่อง จับตาจีดีพีสหรัฐฯ 1Q57F ครั้งสุดท้าย (คาดลดลง 1.6%-2.4%q-q Vs เดิม -1.0%q-q)
      ปัจจัยในประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นบวกหลักๆ เข้ามาเพิ่มเติม แต่มุมมองหลายฝ่ายต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้น ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรปรับคาดการณ์จีดีพีปีนี้ขึ้นเป็น 2.3% จากเดิม 1.8% แต่การส่งออกยังไม่ฟื้นเท่าที่ควร และไทยยังเจอปัญหาค้ามนุษย์กดดันการส่งออกไปสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มประมง และอาหารส่งออก อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ยังผลักดันให้มีการเก็งกำไรหุ้นเกี่ยวเนื่องการบริโภค ลงทุนในประเทศต่อเนื่อง ขณะยังมีลุ้นเรื่องของการทำ window dressing ในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ทิศทางดัชนีฯ หลักยังเป็นขาขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยเน้นเก็งกำไรหุ้นรายตัวที่มีประเด็นบวก
ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศพักตัววานนี้ หลังนักลงุทนจับตาความรุนแรงในอิรัก ขณะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังออกมาดีต่อเนื่องทั้ง PMI ภาคการผลิตและยอดขายบ้านมือสอง แต่ตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงของแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อหันไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตร ทองคำ ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป เพื่อล็อคทำกำไร ก่อนรายงานผลกำไรบจ. 1Q57 ด้านตลาดหุ้นเอเชียวานนี้ นำโดยฮ่องกงปรับลงแรง แม้ตัวเลข PMI จีนออกมาดีกว่าคาด จากแรงขายทำกำไรและส่วนหนึ่งนักลงทุนเตรียมเงินไว้สำหรับหุ้น IPO ในจีน

ส่วน Events Play ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่
1. Window Dressing สถิติ 8 ปีหลังสุด (49-56) ในไตรมาส 2 ดัชนี SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวก +1.9%ในช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาส โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นดี ได้แก่ กลุ่มธนาคาร (BBL KBANK BAY KTB SCB) กลุ่มสื่อสาร (JMART INTUCH ADVANC SIM THCOM) วัสุก่อสร้าง (RCI GEL TCMC SCCC SCC) และอิเล็กทรอนิกส์ (TEAM DRACO DELTA EIC CCET)
2. หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก ระหว่าง 12 มิ.ย. - 13 ก.ค. (เราพบว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่ม ICT (ADVANC TRUE) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค (CPALL MINT CENTEL) จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการถ่ายทอดฟุตบอลโลก
กลยุทธ์ แนะนำเก็งกำไร แบบมีจุดขายตัดขาดทุน 3% GOLD SVOA EFORL EPCO UTP BMCL LHBANK TWZ (เทคนิค) ซื้อสะสมหุ้น window dressing กลุ่มสื่อสาร INTUCH ADVANC กลุ่มแบงก์ KBANK BBL SCB กลุ่มปิโตรฯ IVL PTTGC และถือหุ้นที่มีประเด็นบวก PTTEP CPALL MINT CENTEL GUNKUL SOLAR
เทคนิค : ขึ้นสลับย่อ แต่แนะนำพิจารณาขายเล่นรอบปลายสัปดาห์นี้
คาดดัชนีฯ ผันผวนสูง แนวต้านสำคัญ 1480 จุด (แนวต้านเดิม) และ 1497 จุด (Fibonanci) ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1459 จุด (SMA 10 วัน) และ 1442 จุด (SMA25วัน) โดยมีสัญญาณเตือนการปรับฐานรอบสั้นๆ อิง Stochastic, RSI ที่เริ่มเกิดสัญญาณ Overbought และอาจเปลี่ยนเป็น Sell Signal ดังนั้น นักลงทุนที่เน้นเล่นรอบ อาจพิจารณาขายลดพอร์ตในช่วงปลายสัปดาห์นี้ออกไปก่อน เพื่อรอซื้อคืนเมื่ออ่อนตัว

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่ คาดมีความชัดเจนปลายเดือนนี้


ประเด็นการเมือง (Update):
คสช.เตรียมเผยแพร่ผลงานรอบ 1 เดือนผ่านทุกสื่อ,ยังไม่หารือแต่งตั้งนายกฯ คสช.เตรียมเผยแพร่ผลงานการทำงานในรอบ 1 เดือน โดยจะมีเอกสาร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ผ่านทุกสื่อ ส่วนกรณีที่ผลการสำรวจความเห็นประชาชน (โพลล์) ของบางสำนัก ระบุว่า ประชาชนสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะ หัวหน้าคสช. เป็น นายกรัฐมนตรีนั้น คสช.ยังไม่มีการหารือถึงเรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
คสช.จะประชุมในลักษณะครม.ทุกวันพุธ,ติดตามงานกระทรวงทุกจันทร์และศุกร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปรับรูปแบบการประชุมของคสช. โดยกำหนดให้มีการประชุมใหญ่ ซึ่งเทียบเท่ากับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ทุกวันพุธส่วนการประชุมติดตามสถานการณ์ และความคืบหน้าของงานฝ่ายต่างๆ ใน แต่ละกระทรวง คสช.กำหนดให้มีการประชุมทุกวันจันทร์และวันศุกร์


คสช.ตั้งคณะกรรมการฯพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ-ศูนย์เตรียมความพร้อมไทยสู่เออีซี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศตั้ง คณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการ ทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคสช. หรือ รองหัวหน้าคสช.ที่ได้รับมอบหมาย เป็น ประธานคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศ ตามนโยบาย การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่ง ของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน

-2. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา USA 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย (พุธ) ประชุมสภาอียูเลือกตั้งประธาน(พฤหัสฯ-ศุกร์) ผลผลิตภาคอุตฯไทย พ.ค. (ศุกร์)
วันอังคาร: USA ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 0.45 ล้านหน่วย(Vs 0.43 ล้านหน่วย) ดัชนีราคาบ้าน S&P Shiller เม.ย. คาด +1%m-m(Vs 1.2%)
วันพุธ: USA 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย คาด -1.6%q-q (Vs -1%) และยอดขายสินค้าคงทน พ.ค .คาด +0.2%m-m(Vs +0.6%) ไทย (ประกาศระหว่าง 25-27 มิ.ย.)
วันพฤหัสบดี : EU:ประชุมสภายุโรปเพื่อเลือกประธานคนใหม่ USA การใช้จ่ายส่วนบุคคล พ.ค. คาดคงที่ +0.2%m-m รายได้ส่วนบุคคล พ.ค. คาดคงที่ +0.3%m-m Taiwan: ผลประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยที่ 1.875%
วันศุกร์: USA ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของม.มิชิแกน เดือน มิ.ย. คาด 82.3 (Vs 81.2) Japan: ยอดค้าปลีก พ.ค. คาด -1.9%y-y (Vs -4.3%) Thai: Mfg Production พ.ค. คาด -3.3%y-y (Vs -3.9%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ยูโรโซนชะลอตัวมากกว่าคาดในเดือน มิ.ย. ดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิต ซึ่งประเมินการขยายตัวของภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซน ลดลงสู่ระดับ 52.8 ในเดือน มิ.ย. จาก 53.5 ในเดือน พ.ค และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 53.5 โดยดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเยอรมนี อยู่ที่ระดับ 54.2 ในเดือน มิ.ย. ต่ำกว่าระดับ 55.6 ในเดือน พ.ค. และดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตของฝรั่งเศส อยู่ที่ระดับ 48.0 ในเดือน มิ.ย. จาก 49.3 ในเดือน พ.ค.
       ดัชนีพีเอ็มไอจีน มิ.ย. พุ่งสูงสุด เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือพีเอ็มไอ ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นแตะ 50.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จาก 49.4 ในเดือนพ.ค.
      มาร์กิต เผย PMI ภาคการผลิตสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย. บริษัทมาร์กิต เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาดสู่ 57.5 ในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMIภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 56.5 ในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นจาก
ระดับ 56.4 ในเดือน พ.ค
สหรัฐ เผยยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน พ.ค. สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นเกินคาด 4.9% สู่ 4.89 ล้านยูนิต ในเดือน พ.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่ายอดขายบ้านมือสองจะอยู่ที่ 4.73 ล้านยูนิต ในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นจาก 4.66 ล้านยูนิต ในเดือน เม.ย.

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละตามตัวเลขเสรษฐกิจ
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ หลังทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยดัชนี DJIA ปิดลดลง 9.82 จุด หรือ -0.06% สู่ระดับ 16,937.26 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลงเล็กน้อย -0.26 จุดหรือ -0.01% สู่ระดับ 1,962.610 จุด แต่ Nasdaq กลับมาปิดขึ้นเล็กน้อย +0.64 จุด หรือ 0.01% สู่ระดับ 4,368.68 จุด หุ้นสหรัฐปิดไร้ทิศทางหลังจากเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือพีเอ็มไอ ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นแตะ 50.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จาก 49.4 ในเดือน พ.ค. ซึ่งดัชนีที่ สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะการขยายตัว ขณะที่ ผลสำรวจของมาร์กิต แสดงให้เห็นว่า ดัช นีพีเอ็มไอ เบื้องต้นของยูโรโซนในเดือน มิ.ย. ปรับตัวลงแตะ 52.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จาก 53.5 ในเดือน พ.ค. และดัชนีพีเอ็มไอ ภาคบริการเบื้องต้นเดือนมิ.ย.ปรับลงมาอยู่ที่ 52.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เมื่อเทียบกับระดับ 53.2 ในเดือน พ.ค.

- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วงลงจากรายงาน PMI แย่ลง
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง FTSE ปิดลดลง 24.64 จุด หรือ -0.36% สู่ 6,800.56 จุดดัชนี CAC40 ปิดร่วงลง -25.77 จุด หรือ -0.57% สู่ 4,515.57 จุด และ DAX ปิดลดลง 66.32 จุด หรือ - 0.66% สู่ 9,920.92 จุด
ตลาดหุ้นยุโรป ปิดแดนลบหลังมีการเปิดเผยผลสำรวจของมาร์กิต ที่แสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัด ซื้อ ห รือ พีเ อ็ม ไ อ เ บื้อ ง ต้น ข อ ง ยูโ ร โ ซ น ใ น เ ดือ น มิ. ย . ป รับ ตัว ล ง แ ต ะ 52.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จาก 53.5 ในเดือน พ.ค. สำหรับดัชนี พีเอ็มไอ ภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือน มิ.ย. ขยับลงที่ 51.9 ซึ่งสูงสุดในรอบ 7 เดือน จากระดับ 52.2 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีพีเอ็มไอ ภาคบริการเบื้องต้นเดือน มิ.ย. ปรับลงมาอยู่ที่ 52.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เมื่อเทียบกับระดับ 53.2 ในเดือน พ.ค.

-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงลงเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไร
      วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ส.ค. ปิดลดลง 0.69ดอลลาร์ สู่ 114.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ส.ค. อ่อนตัว 0.66 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 106.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
      ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจาก ปริมาณการส่งออกน้ำมันของอิรักยังคงไม่ได้รับผลกระทบจากการรุกคืบของ กลุ่มกบฏเข้าใกล้กรุงแบกแดดรายงานที่ออกมาในวันจันทร์ระบุว่า ปริมาณการส่งออกน้ำมันของอิรักในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 2.53 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับสถิติสูงสุด ในขณะที่อิรักส่งออกน้ำมันดิบราว 90 % ผ่านทางสถานีขนส่งในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ยึดครองของกลุ่มกบฏรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ (ISIL) ซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่
      นายคาร์สเตน ฟริทช์ นักวิเคราะห์น้ำมันของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในช่วงนี้เหมือนกับช่วงที่เกิดสงครามซีเรีย เพราะ ราคาน้ำมันเคยพุ่งขึ้นในช่วงนั้นโดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องปัญหาขัดข้องทางการส่งออก แต่ปัญหาดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ข่าวเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในช่วงนี้ไม่ได้ช่วยหนุนราคาน้ำมัน โดยสิ่งเดียวที่หนุนราคาน้ำมันในช่วงนี้คือความกังวล" ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคยพุ่งขึ้นเกือบ 5 % ในเดือน มิ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวกบฏอิรัก โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 115.71 ดอลลาร์ในวันที่ 19 มิ.ย. ก่อนจะปรับลงในเวลาต่อมา

 

+ราคาทองคำ ขยับขึ้นเล็กน้อยจับตาประเด็นอิหร่าน
      วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด ขยับขึ้นเล็กน้อย 1.80 ดอลล์ สู่ 1,318.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์
     ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.47 ดอลลาร์ สู่ 1,317.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของ ตลาดหุ้นสหรัฐ และจากการสู้รบในอิรักที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ราคาทองปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านกล่าวหาสหรัฐในวันอาทิตย์ว่า พยายามจะเข้าควบคุมอิรักอีก.ค.รั้งโดยใช้ประโยชน์จาก.ค.วามขัดแย้งระหว่างนิกาย ทางด้านกลุ่มกบฏรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ (ISIL) รุกคืบเข้าใกล้กรุงแบกแดดจากฐานที่มั่นแห่งใหม่ที่อยู่ใกล้พรมแดนซีเรีย

 

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดลบ หลังปิดบวก 3 วัน
      วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index กลับมาปิดลดลง 18 จุด หรือ -1.99% เป็น 886 จุด หลังจากปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!