WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยกดดันรอบด้าน แต่ที่จะเปิดให้มีประมูลโครงการลงทุนภาครัฐ ก่อนการจัดสรรงบ อาจจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นก่อสร้าง แต่แนะนำหุ้นก่อสร้างขนาดเล็ก P/E ต่ำ + upside เลือก PYLON(FV@B8.60) และ SEAFCO (FV@B7.04) เป็น Top picks

อัตราการว่างงานสหรัฐเพิ่มขึ้น VS วิกฤติหนี้โลกปะทุรอบใหม่
     สหรัฐผิดหวังอัตราการว่างงานขึ้นมาเป็น 6.2% ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะพบว่าดัชนีภาคการผลิต ISM เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 57.1 นับว่าสูงสุดนับแต่ เม.ย. 2554) สะท้อนถึงภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในอนาคต หลักๆ แล้วมาจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แต่อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเดียวกัน กลับเริ่มชะลอตัว ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (รอยเตอร์/ม.มิชิแกน) เดือน ก.ค. พบว่าชะลอตัวเล็กน้อยมาที่ 81.8 เทียบกับ 82.5 ในเดือนก่อนหน้า (แต่ใกล้กับคาด) นอกจากนี้พบว่าตลาดแรงงาน การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่คาดตลาดว่าจะเพิ่ม 320,000 ตำแหน่ง ซึ่งทำให้อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 6.2% จาก 6.1% ในเดือนก่อนหน้า
       ตลาดแรงงานที่ชะลอตัวทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งยังมิได้กำหนดกรอบการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ชัดเจน แต่ FOMC กลับให้ความสำคัญกับ อัตราการว่างงานที่ต่ำกว่า 6% และอัตราค่าจ้างที่ยังมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มได้อีก แต่อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ การประชุม FOMC ครั้งถัดไป 16-17 ก.ย. 2557
ปัญหาการเงินโลกยังมีอยู่ สัปดาห์ที่ผ่านมาปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินา กลับมาสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยใหม่ที่กดดันให้เงินทุนไหลออกจะประเทศเกิดใหม่ ดังเช่นปัญหาการเงินในฝั่งยุโรป ยุโรปตอนใต้ (สเปน โปรตุเกส กรีซ) กลับปะทุขึ้นมาอีก และอาจจะสร้างความกังวลต่อนักลงทุน และกดดันตลาดหุ้นในยุโรปในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้หลังจากธนาคาร Banco Espirito Santo SA. ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาด (market cap) ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส ไม่สามารถชำระหนี้ เนื่องจากขาดสภาพคล่อง เป็นผลให้ธนาคารกลางฯ ต้องเข้าไปช่วยเหลือ โดยการอัดฉีดเม็ดเงินกว่า 6.6 พันล้านเหรียญฯ พร้อมทั้งปรับโครงสร้างหนี้ (โอนสินทรัพย์ไปยังธนาคารของรัฐบาล คือ Novo Banco) ปัญหาในโปรตุเกส เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาภาคการเงินในยุโรปยังไม่เสร็จสิ้น แม้จะผ่านพ้นจากความช่วยเหลือทางการเงินของ EU และ IMF ได้แล้วก็ตาม วันนี้เศรษฐกิจในยุโรปยังมีการฟื้นตัวแบบเปราะบาง และจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลกได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนควรให้น้ำหนักต่อประเด็นนี้เพิ่มมากขึ้น

การใช้มาตรการเงินที่เข้มงวดชัดเจนขึ้น...มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์นำร่องไปก่อน
     แม้การตัดลด QE ตลาดจะรับรู้ไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากนี้ไป คือ การใช้มาตรการการเงินตึงตัวที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐ และอังกฤษ ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสเห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ และอังกฤษ เป็นแห่งแรกของโลกตะวันตก ซึ่งถือว่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้น เพราะหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นกับทิศทางดอกเบี้ยทุกแห่งของโลก พบว่ามีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกล่าวคือ ภาวะดอกเบี้ยขาลง จะหนุนตลาดหุ้นโลกตอบรับด้านบวก แต่ตรงกันข้ามหากดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นจะถูกกดดันลดลง
ล่าสุดเมื่อต้นเดือน ก.ค. พบว่ามาเลเซีย เ ป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยปรับขึ้น 0.25% เป็น 3.25% (เป็นการขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ค. 2554 หลังจากที่ยืนดอกเบี้ยที่ 3% มานานเกือบ 3 ปี) เนื่องภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกิน 3% นับตั้งแต่สิ้นปี 2556 และตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.75% เป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน) เนื่องอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวในระดับ 4.4-4.5% นับตั้งแต่ พ.ค.– มิ.ย. 2557 ทั้งนี้ฟิลิปปินส์ได้มีการปรับขึ้นอัตราการดำรงเงินสดสำรอง (RRR) 1% เป็น 20% เมื่อเดือน พ.ค. เป็นต้นมา เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ซึ่งคาดว่าในไม่ช้าประเทศเพื่อนบ้านที่เหลือจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 7.5% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 หลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปตั้งแต่ มิ.ย. 2556 ถึง พ.ย. รวม 5 ครั้ง (เปลี่ยนแปลง 1.75%) เป็น 7.5% ตั้งแต่ พ.ย. 2556
      ส่วนไทย เงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. ลดเหลือ 2.16% จาก 2.62 % ในเดือน พ.ค. 2557 เป็นผลจากการลดลงของราคาอาหารสดและพลังงาน ที่อ่อนตัวลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อ 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 2.35% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งปี 2557 ที่ 2-2.8% ซึ่งน่าจะหนุนให้การใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ 2% ไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะมีความชัดเจนขึ้น โดยคาดว่าจะ เห็นการขึ้นดอกเบี้ยของไทยในต้นปี 2558 เนื่องจากแผนลงทุนของรัฐน่าจะมีความชัดเจนเช่นกัน (ไทยได้ลดดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดเดือน เม.ย. 0.25%) ซึ่งต้องติดตามผลการประชุม กนง. วันที่ 6 ส.ค. นี้
     การเข้าสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น คาดว่าจะกระทบด้านลบต่อตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังอย่างอย่างในปี 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ได้หันมาปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (หลังจากปี 2554 มีการขึ้นดอกเบี้ย 4% เป็น 4.5%) ทั้งหมด 4 ครั้ง รวม 1% จาก 4.5% เหลือ 3.5% และยืนดอกเบี้ยระดับนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่าได้หนุนให้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 1 ปี หรือจนถึงกลางปี 2556 ก่อนที่จะมีการปรับฐานระยะสั้น (แต่หลังจากนั้นก็ปรับขึ้นต่อ หากยังมีความเชื่อว่าจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป) ในสถานการณ์นี้ตลาดหุ้นเข้าสู่ช่วงปรับฐาน น่าจะเกิดขึ้นกับทุกประเทศในแถบเอเซีย ที่กำลังจะกลับเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่
ต่างชาติเริ่มขายต่อเนื่อง ค่าเงินในกลุ่ม TIP อ่อนตัว
      ศุกร์ที่ผ่านมากระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง โดยที่นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 แต่ยอดซื้อกลับเบาบางเหลือเพียง 6 ล้านเหรียญฯ (ลดลงถึง 86% จากวันก่อนหน้า) โดยที่เป็นการซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียวคือไต้หวันที่สลับมาซื้อสุทธิราว 69 ล้านเหรียญฯ ขณะที่ประเทศอื่นๆต่างขายสุทธิออกมาเบาบาง กล่าวคือ เกาหลีใต้พลิกกลับมาขายสุทธิราว 41 ล้านเหรียญฯ (ซื้อติดต่อกัน 16 วันก่อนหน้า) ตามมาด้วย ไทย ที่ยังคงขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ราว 15 ล้านเหรียญฯ (468 ล้านบาท, ลดลง 57%) และ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิเล็กน้อยเป็นวันที่ 2 ราว 7 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 26%) ขณะที่ตลาดหุ้นในอินโดนีเซียยังคงปิดทำการเช่นเดิม
     ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาขายหุ้นในกลุ่ม TIP อย่างต่อเนื่องอีกครั้งส่งผลให้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินในภูมิภาคนี้อ่อนค่าลงอย่างมากเทียบกับดอลล่าสหรัฐฯ โดยค่าเงินบาท และ ฟิลิปปินส์เปโซ อ่อนค่าลงใกล้เคียงกันที่ราว 1% ขณะที่อินโดนีเซียรูเปียะ ได้อ่อนค่าลงถึง 2% แม้ว่าตลาดหุ้นจะปิดทำการทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าการเปิดทำการในวันนี้อาจจะมีการเทขายออกมาตามภูมิภาค และสะท้อนถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจในระยะสั้น ส่งผลให้ต่างชาติน่าจะชะลอการเข้าซื้อหุ้นในภูมิภาครวมถึงไทย
เร่งลงทุนรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง และรถไฟรางคู่ 6 เส้นทาง กระตุ้นหุ้นรับเหมาฯ
    กระทรวงคมนาคมให้ความเห็นว่า แม้จะยังไม่มีการกำหนดเม็ดเงินลงทุนที่ชัดเจนในแผนการลงทุนระยะเร่งด่วน แต่ก็จะทำการจัดสรรงบประมาณปี 2557 และ 2558 รวม 1.08 แสนล้านบาทไว้รองรับ หากต้องการใช้เม็ดเงินที่มากกว่านี้ก็จะเป็นการจัดสรรจากการกู้ เมื่อมีการกำหนดกรอบการลงทุนระยะเร่งด่วนที่ชัดเจนแล้ว ส่วนราชการ-รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้รับผิดชอบต้องเร่งรัดโครงการให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด เช่นการจัดการประมูลโครงการล่วงหน้า และเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณมาแล้วจึงค่อยลงนามในสัญญา โดยปลัดกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ต้องลงนามในสัญญาก่อสร้างอย่างช้าเดือน ม.ค.2558 สำหรับโครงการเร่งด่วนต่อไปนี้คือ รถไฟฟ้ากรุงเทพ-ปริมณฑล 4 เส้นทาง 2.79 แสนล้านบาท (สีเขียวเข้ม, สีส้ม, สีชมพู และ สีเหลือง), รถไฟรางคู่ 6 เส้นทาง 1.27 แสนล้านบาท, พัฒนา-ขยายสนามบิน 3 แห่ง 7.76 หมื่นล้านบาท (สุวรรณภูมิเฟส 2, พัฒนาดอนเมือง และ ภูเก็ต), โครงการขยายถนน-ปรับปรุง 22 เส้นทาง 1.6 หมื่นล้านบาท และการพัฒนาด่านการค้าชายแดน 6 ด่าน ใน 4 พื้นที่
การตั้งเป้าเร่งรัดการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น เป็นประเด็นที่สร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับหุ้นในกลุ่มรับเหมาฯ และน่าจะเห็นการกลับมาเก็งกำไรกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากค่า PER เฉลี่ยของหุ้นรับเหมาฯ ขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ ITD, CK และ STEC อยู่ที่ระดับสูงถึง 27–28 เท่า และเป็นราคาที่สูงกว่า Fair Value จึงควรเก็งกำไรด้วยความระมัดระวัง แต่ฝ่ายวิจัยเห็นว่า หุ้นที่น่าสนใจมากกว่าคือหุ้นกลุ่มรับเหมาฯขนาดกลาง–เล็ก ซึ่งหุ้นเด่นที่แนะนำได้แก่ PYLON (FV@B 8.6), SYNTEC (FV@B2.6) และ SEAFCO (FV@B 7.04)

กลยุทธ์ช่วงที่ดัชนีผันผวนแนะขายหุ้น High Beta+ High P/E + upside จำกัด
       ในภาวะตลาดหุ้นปรับฐานและยังมีความผันผวนสูง จึงเป็นโอกาสขายหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงสุด เรียงลำดับจากหุ้นที่มีค่า Beta สูง (มากกว่า 1), P/E สูง (มากกว่า 20 เท่า) และ upside จำกัด หรือมี downside สูง เพราะราคาหุ้นเกิน Fair Value แล้ว ได้แก่ EA, NWR, VGI, BJC, HMPRO, CK, STEC, CGS, ITD, GBX นอกจากยังขายหุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว ได้แก่ LPN, PS, PCSGH, AMATA, QH, LH, และ KTB เป็นต้น
     ตรงกันข้ามแนะนำ ซื้อหุ้นที่มี Beta ต่ำ และราคาตกลงมาอยู่ข้างล่าง จากผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดในงวด 2Q57 แต่คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในงวดที่เหลือของปีนี้ และคาดว่ามีราคาหุ้นโอกาสที่จะตกน้อยนับจากนี้น้อยกว่าหุ้นในกลุ่มที่อยู่ข้างบน ได้แก่ PTTGC (FV@B 84) P/E 9.9 เท่า upside 28% มีเงินปันผล 4.7% และ BCP(FV@B 36) P/E 9.8 เท่า upside 25% มีเงินปันผล 5%
นอกจากนี้ แนะนำให้ซื้อหุ้นที่เริ่มกลับมาได้ประโยชน์จากเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า (หลังจากเสียประโยชน์จากที่เงินบาทแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา) เนื่องจากต่างชาติกลับมาขายหุ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะหุ้นที่มีศักยภาพการทำกำไรดี ราคาหุ้นมี upside สูง + Low P/E และ Low Beta: STA(FV@B 21.3) P/E 9 เท่า upside 51% มีเงินปันผล 5.11% KSL(FV@B 17.2) P/E 10 เท่า upside 29% และ เงินปันผล 4% เป็นต้น
หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!