WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้นตามลำดับ
 ไทย ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. 2557 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 89.7 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (เป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่ ธ.ค. 2556) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่อย่างไรก็ตามในธุรกิจขนาดใหญ่กลับลดลง ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น เป็นต้น ขณะที่ความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (จาก 101.9 ก่อนก่อนหน้า เป็น 103.1) จากความปัญหาการเมืองที่คลี่คลายลงอย่างไรก็ตามคาดว่า การลงทุนโดยรวมในงวด 2H57 ยังไม่กระเตื้องจากงวด 1H57 มากนัก เนื่องโครงการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบการทุจริตในหลายขั้นตอน เช่น โครงการลงทุนที่เกิน 100 ล้านบาท และที่เกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผล


       ทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุน ปี 2557 ล่าช้า โดยขณะนี้เบิกจ่ายไปเพียง 53.32% ของวงเงินทั้งหมด (ต่ำกว่าเป้าหมายราว 20.68%) และเช่นเดียวกับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่มีการเบิกจ่ายไปเพียง 30% ของงบลงทุน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการเบิกจ่ายน่าจะดีขึ้นตามลำดับหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาล
โดยรวมคาดว่า GDP Growth ของไทยน่าจะไม่เกิน 1.5% (ASP กำลังปรับลดลงจากเดิม 2%) โดยคาดว่าในงวด 2H57 เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวแบบ V-Shape โดยงวด 3Q57 และ งวด 4Q57 น่าจะเติบโตมากกว่า 3% เทียบกับ 1Q57 ที่ติดลบ 0.5% และกลับมาฟื้นตัวหรือเติบโต 0.4% ในงวด 2Q57 โดยการขับเคลื่อนหลัก ๆ มาจาก การบริโภคภาครัฐ และ ภาคครัวเรือน รวมถึงภาคส่งออกที่ฟื้น
ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามเศรษฐกิจโลก และในปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตในระดับ 3-4% โดยได้รับการกระตุ้นจากการลงทุนโดยรวม หลังโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบาท มีความชัดเจน และภาคเอกชน เริ่มเดินหน้าลงทุน หลังความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น


  อังกฤษ การรายงานผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ระหว่าง 6-7 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีคณะกรรมการเพียง 2 ใน 9 ท่าน(จาก Goldman Sachs และ UniCredit) ที่สวนทางกับมติส่วนใหญ่ คือลงมติว่าให้ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% (จากปัจจุบันที่ 0.5%) ภายในประชุมครั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ที่ดีขึ้นในระดับปานกลาง และตลาดแรงงานยังมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดี โดยเชื่อว่าการตึงตัวทางการเงิน อาจจะสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ เพราะดอกเบี้ยต่ำอาจจะกระตุ้นการก่อหนี้ของผู้ประกอบการ ขณะที่เห็นว่าอัตราการว่างงานที่ 6.97% ถือว่าต่ำกว่าเป้าหมาย 7% แต่ยังมีแนวโน้มลดลงได้อีก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ยังคงคาดว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับขึ้นในงวด 1Q58 จากเดิมที่จะเกิดขึ้นภายในสิ้นปี 2557

  สหรัฐ แม้นักลงทุนน่าจะให้ความสำคัญต่อผลการประชุม แจ็คสัน โฮล ระหว่าง 21-23 ส.ค. นี้ แต่สุดท้ายคาดว่าจะไม่มี ประเด็นใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นตลาด โดยตลาดคาดว่าสิ่งที่ FED ยังให้น้ำหนักคือ ความกังวลต่อการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ตราบที่อัตราการว่างงานปัจจุบันที่ 6.2% ยังสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติซับไพร์ม ที่ 5.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แม้เดือน ก.ค. จะ
อยู่ที่ระดับ 2% จะใกล้เคียงกับเป้าหมาย แต่หากเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี พบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 1.4%ytd อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อถ้อยแถลงของ นางเยลเลน (ประธาน FED) ที่จะสรุปภาพรวมและแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ใน 22 ส.ค. นี้ (น่าจะทราบผล 23 ส.ค. ตามเวลาไทย)อาจจะมีประเด็นใหม่ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป โดยเฉพาะที่จะนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากที่ตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% มานานกว่า 5 ปี

ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อต่อเนื่อง
  วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยยอดซื้อสุทธิราว 479 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 6% จากวันก่อนหน้า) โดยที่เป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ กล่าวคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 232 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึง 46% จากวันก่อนหน้าตามมาด้วย ไต้หวัน ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 แต่มูลค่าซื้อสุทธิลดลง 14% เหลือราว 179 ล้านเหรียญฯ ส่วนอินโดนีเซีย สลับมาซื้อสุทธิราว
44 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายใน 5 วันหลังสุด) ขณะที่ไทยซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่ลดลง 44% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 44 ล้านเหรียญฯ (483 ล้านบาท) และสุดท้ายคือฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 8 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 91% จากวันก่อนหน้า) เชื่อว่าการซื้อ สลับ ขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงเกิดขึ้น ตราบที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ และอังกฤษ ยังไม่กำหนดกรอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้นักลงทุนต่างชาติจะหุ้นไทยเบาบาง แต่พบว่ายังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องในตลาดตราสารหนี้ โดยวานนี้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ราว 3.7 พันล้านบาท (รวม 3 วันซื้อสุทธิ 6.2 พันล้านบาท) แต่เป็นที่สังเกตว่าค่าเงินบาท กลับอ่อนค่าลงใกล้แตะระดับ 32 บาทต่อเหรียญฯ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะสั้นได้

HANA กำไร 2Q57 ดีกว่าคาด เพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้นจากเดิม 10%
  จากที่ประชุมนักวิเคราะห์ HANA วานนี้ ผู้บริหารส่งสัญญานเชิงบวกต่อธุรกิจ โดยเฉพาะโอกาสที่จะได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในช่วง 2H57 ซึ่งจะดีกว่าช่วงฤดูกาลตามปกติของทุกปี และเชื่อว่ายังสดใสต่อเนื่องปี 2558 โดยเชื่อว่าคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเกิดจากอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ได้แก่ ยานยนต์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ขณะเดียวกันการปรับปรุงกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ด้วยการเพิ่มเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น และเน้นระบบ Automation มากขึ้น เพื่อทดแทนปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกำไรของบริษัทฯ ปรับสูงขึ้นมากกว่าคาดไว้เดิม ฝ่ายวิจัยจึงได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2557-58 ขึ้น 18.9% และ 27.6% จากเดิม ตามลำดับ ทำให้ Fair value ปี 2557 ขึ้นสู่ 44 บาท (จากเดิม 40 บาท) เลือกเป็น Top pick วันนี้

ยังให้น้ำหนักต่อหุ้นที่มีผลกำไรเด่นใน 2H57
  หลังจากวานนี้ได้นำเสนอหุ้นเกษตร-อาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่กลุ่มอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่นใน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ วันนี้ได้ทำการรวบรวมความเห็นจากนักวิเคราะห์ ASP อีกครั้ง พบว่าอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่น แต่น่าจะกระจุกตัวอยู่ในผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่มีการรับงานรับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศ หรือเน้นงาน
ก่อสร้างอาคารสูงของภาคเอกชนเป็นหลัก ได้แก่ SRICHA (ซื้อ:FV@B 43.40) หลังผลกำไรงวด 2Q57 ทำได้ดีกว่าคาด และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไร (Net Profit Margin ) สูง
37.4% ช่วยชดเชยกำไรงวด 1Q57 ที่ต่ำกว่าคาด ขณะที่งวด 2H57 จะมีแนวโน้มสดใสกว่า 1H57 โดยคาดหวังจะมี backlog ใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้น แม้ ณ สิ้น 2Q57 มี Backlog ต่ำเพียง 553 ล้านบาท โดยขณะนี้ได้รับงานใหม่ (เป็นโครงสร้างเหล็ก) จาก CUEL Limited ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนมาก มูลค่างานราว 400 ล้านบาท และในช่วง 6 เดือนหลัง มีแผนประมูลงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่งในพม่า มูลค่า 200 ล้านบาท และ 600 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ Backlog เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 1 พันล้านบาท ทั้งนี้ไม่นับรวมสัญญาซ่อมบำรุงและดูแลรักษาเครื่องจักรในมาดากัสการ์อีกประมาณ 400 ล้านบาท/ปี และยังรับรู้รายได้จากบริษัทลูกคือบริษัทเอสซีซี เมนเทนแนนซ์เซอร์วิสเซส จำกัด ปีละ 500-600 ล้านบาททุกปี ขณะที่จุดเด่นอยู่ที่ มี Expected P/E 10.8 เท่า และเงินปันผลสูง 7.6% จึงเหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อลงทุนรับเงินปันผล ราคาปิดตลาดวานนี้ยังมี upside 43%
  STPI (ซื้อ:FV@B 28.46) แม้กำไรงวด 2Q57 ใกล้เคียงกับงวดก่อนหน้า แต่คาดว่าในช่วง 2H57 จะเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากในงวด 3Q57 จะรับรู้รายได้ส่วนเพิ่มโครงการ Ichthys ที่มี margin สูง และงานสัญญาหลัก ก็จะเข้าสู่ช่วงพีค ตั้งแต่งวด 3Q57 และต่อเนื่องถึงปี 2558 โดยที่คาดว่ายังรักษาประสิทธิภาพการกำไรจากการดำเนินงานได้ดี STPI มีจุดเด่นที่มีสถานะเป็นเงินสดสุทธิ (net cash) และราคาหุ้นยังมี Expected P/E เพียง 9.7 เท่า ในปี 2557 และ 9 เท่าในปี 2558 ซึ่งนับว่าต่ำสุดในกลุ่มรับเหมา ขณะที่ราคาปิดตลาดวานนี้ยังมี upside 43%
  SYNTEC (ซื้อ:FV@B 2.60) แม้กำไรงวด 2Q57 เติบโตถึง 155% yoy หลังการรับรู้รายได้และการทำกำไรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากการรับงานก่อสร้างคอนโดฯ จำนวนมากในปีที่ผ่านมา ขณะที่ยังมี backlog อีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท เมื่อสิ้น 2Q57 จะช่วยหนุนให้กำไรงวด 2H57 เติบโตได้อย่างโดดเด่นและต่อเนื่องอีกหลายไตรมาส เฉลี่ยไตรมาสละกว่า 1.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังมี Hidden Asset จำนวนมาก ที่มีโอกาสรับรู้เป็นกำไรพิเศษได้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดปัจจุบันมี Expected P/E 12.8 เท่า ขณะที่เริ่มมี upside 9% เริ่มจำกัด
  SEAFCO (ซื้อ:FV@B 7.04) หลังกำไรงวด 2Q57 เติบโตกว่า 148%qoq และ 80%yoy (จากการรับรู้รายได้จากโครงการใหญ่ และรับงานที่มี margin สูงอย่างต่อเนื่อง) คาดว่าแนวโน้มยังสดใสต่อเนื่องในงวด 2H57 ตามความคืบหน้าโครงการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่กลับมาฟื้นตัว ณ ที่มี backlog สูงถึง 1.4 พันล้านบาท ประกอบกับจุดเด่นที่เป็นผู้รับเหมาที่มี capacity สูงสุดในประเทศ จึงสามารถรักษาฐานกำไรเกินกว่า 150 ล้านบาทได้ต่อเนื่องในอีก 3 ปี ปัจจุบันราคาหุ้นยังมี PER ต่ำเพียง 12 เท่า และมี upside 10.9%
  BJCHI (ซื้อ:FV@B 39.50) กำไรงวด 2Q57 เพิ่มขึ้น 38%qoq จากการรับรู้รายได้โครงการ Petrobras ในบราซิลเข้ามาอย่างเต็มที่รวมไปถึงสัดส่วนรายได้จากงานประเภท Modular ที่ให้ margin สูงกว่างานทั่วไป มีเข้ามามากขึ้น และยังคาดว่าผลกำไรในงวด 2H57 จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากงวด 1H57 จากการรับรู้รายได้หลังส่งมอบงาน ณ สิ้นงวด 2Q57 มี Backlog มีอยู่ 4.7 พันล้านบาท และคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการเข้าประมูลงานขนาดใหญ่อีกหลายโครงการมูลค่าราว .5 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการของลูกค้าเดิม (ทั้ง Petrobras ในบราซิล และ APLNG ในออสเตรเลีย) ขณะที่ราคาตลาดยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 10.78 เท่า และ มีจุดเด่นที่จ่ายเงินปันผลได้สูงถึง 5.6% ต่อปี

ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!