WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TCAPสมเจตน หมศรเลศธนาคารธนชาตตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้กลับมาโต 3% จากปี 58 หดตัว 5-6% หลังเศรษฐกิจฟื้นหนุนสินเชื่อทุกกลุ่มฟื้น

    ายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK ได้ให้ข้อมูลถึงแผนธุรกิจปี 59 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

    ธนาคารมั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้จะดีกว่าปี 58 ที่มีกำไรสุทธิ 10,743 ล้านบาท โดยมาจากการตั้งสำรองที่ลดลง ซึ่งปัจจุบันธนาคาร Coverage Ratioอยู่ที่ 119.42% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 85.52% ณ สิ้นปี 57

    ขณะเดียวกัน ตั้งเป้าหมายสินเชื่อของธนาคารในปีนี้กลับมาเติบโตในอัตรา 3% จากสินเชื่อคงค้าง 7.13 แสนล้านบาท ฟื้นจากจากปี 2558 สินเชื่อหดตัว 5-6% เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการลงทุนภาครัฐ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นการลงทุนภาคเอกชนฟื้น โดยคาดว่าสินเชื่อทุกกลุ่มจะมีการขยายตัวที่ดี นอกจากนี้ธนาคารอยู่ระหว่างพัฒนาระบบคัดกรองลูกค้า คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในกลางปี 2559 นี้ ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณาสินเชื่อของธนาคารโดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อรายบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าในปีนี้ สินเชื่อเอสเอ็มอีจะเติบโต 12-13% จากสินเชื่อคงค้างสิ้นปี 58 อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท สินเชื่อรายใหญ่ปีนี้เติบโต 3-4% จากสินเชื่อคงค้างสิ้นปี 58 อยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท และ สินเชื่อรายย่อยปีนี้เติบโต 5-6% โดยแบ่งเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย 8% บัตรเครดิต 5% และ สินเชื่อส่วนบุคคล 5%

     “สินเชื่อรถปีนี้อาจมีการขยายตัว 8% จากปี 58 หดตัวไป 5-6% โดยสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นรถใหม่ 70% และ รถเก่า 30%โดยมี NPL อยู่ที่ 2.3% ซึ่งหากมีการใช้สกอร์ริ่งใหม่ก็จะสามารถลด NPL ได้อย่างต่อเนื่อง

      ธนาคารพยายามรักษาหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ในปีนี้ไม่ให้เกิน 3% จากสิ้นปี 58 อยู่ที่ 2.8-2.9%

      สำหรับ เงินกองทุนของธนาคารมีความแข็งแกร่ง และเติบโตขึ้นมาอยู่ที่ 17.92% จากสิ้นปี 58 ที่ 15.83% ซึ่งรองรับการเติบโตของธุรกิจต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด

     จากเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เริ่มกำหนดใช้หลักเกณฑ์การดำรงสภาพคล่องใหม่ที่เรียกว่า Liquidity Coverage Ratio(LCR)โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเริ่มดำรงเกณฑ์สินทรัพย์สภาพคล่องขั้นต่ำที่ระดับ 60% ในปี 59 จากนั้นจึงทยอยเพิ่มขึ้นปีละ 10% จนครบ 100% ตามเกณฑ์บังคับในปี 63 ซึ่งธนาคารสามารถดำรงเกณฑ์ LCR ได้ผ่านเกณฑ์ขั้นสูงมาอยู่ที่ระดับเกิน 100% ในปีแรกแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารที่อยู่ในระดับสูง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!