WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกลศกรมศุลฯจี้เคลียร์รถหรูขีดเส้น 90 วันยึด 633 คัน

    ไทยโพสต์ : คลองเตย * ศุลกากรขีดเส้นตาย 90 วันผู้ประกอบการเร่งเคลียร์รถหรูออกจากสต็อก 700 ล้านบาท

    นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า จากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องการดำเนินการกับของที่เก็บในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี (ฟรีโซน) ทำให้รถที่ตกค้างในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี เพื่อรอการขายหรือส่งออกจำนวน 633 คัน ซึ่งทางตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้า อิสระต้องมาติดต่อขอชำระภาษีเพื่อนำรถคืน หรือทำการส่งออกไปยังประเทศอื่นภาย ใน 90 วัน

    ทั้งนี้ หากพ้นกำหนด ถือว่าไม่ดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ทางกรมศุลกากรจะถือ เป็นของตกค้าง ให้อธิบดีกรม ศุลกากรมีอำนาจยึดเป็นของ กลางและนำมาขายทอดตลาดต่อไป ส่วนรถที่นำเข้ามาหลังคำสั่ง คสช.มีผลบัง คับ สามารถนำมาเก็บในเขตฟรีโซนได้ไม่เกิน 2 ปี

   สำหรับ รถที่ตกค้างใน เขตปลอดอากรหรือเขตประ กอบการเสรีตั้งแต่ปี 2552-2558 มีจำนวน 633 คัน มีมูลค่ากว่า 600-700 ล้านบาท และหากคิดเป็นมูลค่าภาษีจะอยู่ที่ราว 1 พันล้านบาท แยกเป็นรถของตัวแทนจำหน่าย 209 คัน รถของผู้นำเข้าอิสระ 424 คัน ในจำนวนมีรถซูเปอร์คาร์ เช่น ปอร์เช่, เฟอร์รารี, โลตัส, แอสตัน มาร์ติน รวมทั้งสิ้น 71 คัน และที่มีมากที่สุดคือรถยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ มีถึง 127 คัน ที่เหลือเป็นรถยนต์ตลาดทั่วไป.

กรมศุลกากรขู่ยึดรถตกค้างพ้นกำหนด 90 วันเปิดขายทอดตลาด

     แนวหน้า : นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากรเปิดเผยว่าตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ให้ผู้นำเข้ารถยนต์ดำเนินการนำรถยนต์และซูเปอร์คาร์ที่ตกค้างอยู่ในเขตปลอดอากร (ฟรีโซน) ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และเขตประกอบการเสรีของนิคมอุตสาหกรรมจำนวน 326 คัน ซึ่งเป็นรถยนต์ที่นำเข้ามาก่อนวันที่ 25 สิงหาคม 2557 หรือครบ 2 ปี ออกจากทั้ง 2 พื้นที่ภายใน 90 วัน เพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศ โดยชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง หรือส่งออกไปขายต่างประเทศ หากไม่ดำเนินการรถยนต์ดังกล่าวจะเป็นของตกค้างตามกฎหมายศุลกากร ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจทั้งการขายทอดตลาดและทำลาย

   สำหรับ รถยนต์ที่มีอายุครบ 2 ปี รวม 326 คัน มีมูลค่ารถยนต์ 319 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าภาษี 599 ล้านบาท รวมถึงยังมีรถตกค้างที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2552-2558 จำนวน 633 คัน ในจำนวนดังกล่าวมีรถยนต์หรู เช่น ซูเปอร์คาร์ และลัมโบกินีจำนวน 71 คัน และรถเมอร์ซิเดส เบนซ์อีก 127 คันรวมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่เป็นรถที่ตกรุ่นและขายไม่หมด ผู้นำเข้ารถยนต์จึงไม่นำออกไปจำหน่าย เพราะจะเสียภาษีในราคาแพง

    นอกจากนี้ กรมได้ยกเว้นภาษีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ให้กับรถดับเพลิง รถกู้ภัย รถไฟส่องสว่าง และรถบรรทุกที่นำเข้ามาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2549 จำนวน 176 คัน และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 อีก 139 คัน เพราะถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่ไว้ใช้ในราชการ พร้อมประสานกรุงเทพมหานครให้นำรถดังกล่าวออกไปซ่อมแซมเพื่อวิ่งใช้งานจริง โดยมาตรการทั้งหมดจะช่วยลดภาระของรัฐในการหาสถานที่และจ่ายค่าจัดเก็บหลายพันล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังช่วยให้ ผู้ประกอบการนำเข้าเฉพาะรถยนต์ที่จำหน่ายได้จริงด้วย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!