WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cประสงค พนธเนศ copyกรมสรรพากรเดินหน้าแก้กฎหมายภาษี ดัดหลังพ่อค้าที่ดินเหลี่ยมจัด!

    สรรพากรเสนอแก้กฎหมาย หวังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี หลังพบบริษัทอสังหาฯเลี่ยงภาษีแจ้งราคาซื้อขายที่ดินต่ำกว่าความจริง เข้มตรวจสัญญาซื้อขาย และหลักฐานการจ่ายเงินจริง พร้อมแก้กฎหมายเปิดให้กรมบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่สรรพากรยึดมาได้กว่าหมื่นล้านบาท รวมถึงเสนอให้เพิ่มเติมอนุสัญญาภาษีซ้อน เพื่อให้การตรวจสอบทรัพย์สินในประเทศต่างๆ ของผู้เสียภาษีไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

   นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมมีแผนเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีหลายฉบับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ และทำให้การจัดเก็บภาษีมีความทันสมัยมากขึ้น โดยเบื้องต้นมีประเด็นที่ต้องแก้ไขทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1.การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดจากการขายที่ดิน บนฐานราคาที่สูงสุดกับราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากเวลาที่มีการซื้อขายที่ดิน กรมสรรพากรจะเก็บภาษีจากรายได้ที่อ้างอิงราคาประเมินที่ดิน ซึ่งไม่สะท้อนรายได้ที่แท้จริง ดังนั้น กรมสรรพากรจึงเสนอ ให้เก็บภาษีบนฐานราคาประเมิน หรือราคาซื้อขายหรือราคาตลาด โดยราคาไหนสูงสุดให้ใช้ราคานั้น

    เช่น กรณีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่ง ได้ซื้อที่ดินจากนาย ก.ในราคา 100 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับราคาประเมินที่ดิน 100 ล้านบาท ผู้ขายจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ราคา 100 ล้านบาท แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ซื้ออาจแจ้งราคาต้นทุนในบัญชีรายจ่ายของบริษัทที่ 500 ล้านบาทโดยได้สร้างต้นทุนเท็จเพื่อเลี่ยงภาษีและยังตบตาผู้ถือหุ้น โดยได้สร้างต้นทุนที่ไม่มีความจริงเพิ่มขึ้น 400 ล้านบาท “ในอนาคต กรมจะต้องเข้าดูแลสัญญาซื้อขาย และตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงินจริงด้วย ซึ่งกรณีนี้ หากมีการซื้อขายที่ดินราคาใด ก็จะเก็บภาษีจากราคาที่มีการซื้อขายจริง เราจะพยายามปิดช่องโหว่ให้หมด”

    2.การแก้ไขกฎหมายการขายทอดตลาดในทรัพย์สินที่กรมยึดมาจากการค้างชำระภาษี โดยจะเสนอให้เอกชนหรือกรมบังคับคดีสามารถนำทรัพย์ของกรมออกขายทอดตลาดได้ เพื่อให้การขายทอดตลาดมีความคล่องตัว จากเดิมที่เป็นอำนาจของสรรพากรพื้นที่ที่จะประกาศขายทรัพย์สินเหล่านั้น ทำให้ข้อมูลข่าวสารของทรัพย์สินที่ประกาศขายรับรู้เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น “ทุกวันนี้เวลาขายทอดตลาดทรัพย์สิน สรรพากรพื้นที่จะเป็นผู้ประกาศขาย ทำให้ตลาดแคบและขายไม่ออก จำเป็นต้องแก้กฎหมายให้เอกชนหรือกรมบังคับคดีมาช่วยขาย ซึ่งคาดว่าทรัพย์สินที่รอการขายมีมูลค่านับหมื่นล้านบาท”

    3.แก้ไขประกาศกระทรวงการคลัง และกรมสรรพากร กรณีผู้มีเงินได้จากการเก็บค่าเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเดิมกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่าต้องเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนด หลังทำสัญญาเช่าและมีรายได้จากการให้เช่า โดยอนุญาตให้เฉลี่ยการชำระภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นเป็นรายปีได้ แต่หากผู้เสียภาษีไม่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีตามเวลาที่กำหนด ต้องเสียภาษีสำหรับรายได้จากค่าเช่าในครั้งเดียว ดังนั้น กรมจึงจะเสนอปรับแก้ให้ยื่นช้ากว่ากำหนดได้ แต่ต้องเสียดอกเบี้ย 1.5% ของภาษีที่เกิดขึ้น “ผู้เสียภาษีทำสัญญาให้เช่าที่ดิน 30 ปี ได้เงินก้อนมา 90 ล้านบาท สรรพากรกำหนดให้ต้องยื่น ภ.ง.ด.93 ได้ภายใน ธ.ค.ของปีที่ได้รับเงิน สมมติได้มา 90 ล้าน ก็เฉลี่ยปีละ 3 ล้านบาท เป็นเวลา 30 ปี แต่ปรากฏว่าผู้มีเงินได้จากค่าเช่าไม่ทราบเรื่อง และยื่นจ่ายภาษีเกินกว่าเวลาที่กำหนด จะขอยื่นเฉลี่ย 30 ปีไม่ได้ ต้องเสียภาษีในครั้งเดียว 90 ล้านบาท จากสัญญาเช่า 30 ปี”

    4.เสนอให้เพิ่มเติมสัญญาในอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศที่ทำสัญญากับไทยในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศที่ทำอนุสัญญาภาษีซ้อน 50 ประเทศ หลังไทยกับสหรัฐฯทำสัญญาแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินของผู้เสียภาษีที่มีแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ และไทยก็มีภาษีมรดกฉบับใหม่ จึงต้องเพิ่มเติมสัญญา เพื่อให้การตรวจสอบทรัพย์สินที่เป็นมรดกในประเทศต่างๆของผู้เสียภาษีไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 5.เสนอให้ยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้กับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเพื่อสังคมหรือ Social Business เพื่อกระตุ้นให้บริษัทขนาดใหญ่ลงทุนเพื่อสังคม โดยให้บริษัท, สหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน ที่มีโครงการลงทุนเพื่อสังคม สามารถนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ นอกจากนี้รายได้ที่เกิดขึ้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บอัตรา 20%.

         ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!