WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cประสงค พนธเนศสรรพากร จ่อถกนิรโทษภาษีพร้อมให้ลดหย่อนซื้อเครื่องจักรใหม่

     ไทยโพสต์ : อารีย์-สรรพากร จ่อถกคลังหารือนิรโทษเบี้ยภาษี พร้อมเคาะแนวทางลดหย่อนภาษีผู้ประกอบการซื้อเครื่องจักรใหม่ รับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล

    นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 เดือนนี้ กรมสรรพากรจะทำโปรแกรมบัญชีแบบง่ายให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำไปใช้ทำบัญชีของบริษัทให้เป็นมาตรฐานสากล ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย ซึ่งระบบโปรแกรมบัญชีจะสามารถเชื่อมต่อการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากค้าผ่านทางระบบออนไลน์ได้ทันที โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องกรอกข้อมูลในกระดาษ

   อย่างไรก็ตาม เรื่องการทำโปรแกรมบัญชีกับการให้ผู้ประกอบการทำบัญชีเดียว โดยไม่มีการเอาผิดย้อนหลังเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งทางกรมสรรพากรจะต้องเข้าไปหารือกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง ว่าจะให้กรมสรรพากรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

    "ในหลักการบัญชีเดียวของผู้ประกอบการ คือ การเดินไปข้างหน้าด้วยกัน แต่การไม่เอาผิดย้อนหลังเป็นเรื่องที่กรมสรรพากรจะต้องหารือกับ รมว.การคลัง ว่ารูปแบบจะออกมาเป็นอย่างไร" นายประสงค์กล่าว

     นอกจากนี้ กรมสรรพากร จะหารือกับ รมว.การคลัง เรื่องการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่ภายในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไป รวมถึงหารือมาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนระยะยาว (แอลทีเอฟ) ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2559 ว่าทางฝ่ายนโยบายจะให้ดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร

     โดยก่อนหน้านี้ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าในเร็วๆ นี้ ทาง ส.อ.ท.จะนำมาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ออกมาตรการจูงใจให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบมากขึ้น เสนอผ่านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี โดยการประกาศให้ธุรกิจที่มีความประสงค์จะได้รับการยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มาขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กรมสรรพากรเห็นชอบ เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล เข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้อง

      พร้อมทั้งเสนอให้มีการปรับโครงสร้างภาษีสำหรับเอสเอ็มอีใหม่ที่มองว่าการเสียภาษีเงินได้ยังไม่ยุติธรรมกับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีขนาดกิจการที่แตกต่างกัน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นแบบขั้นบันไดตามยอดการจำหน่ายสินค้า เช่น กลุ่มที่มียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาท จะเสียภาษีเงินได้ในอัตราไม่เกิน 5% ยอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 10% และยอดขาย 200 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 15% เป็นต้น

    รวมถึงขอให้สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกรมสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดทำโปรแกรมลงบัญชีที่ไม่ซับซ้อน เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มความสะดวกและความถูกต้องในการลงบัญชี ซึ่งหากข้อเสนอดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาล เชื่อว่าจะทำให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบมากขึ้น และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปอีกจุดหนึ่ง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!