WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cประสงค พนธเนศกรมสรรพากร ใช้ 3-4 แนวทางรื้อวิธีจัดเก็บเล็งชง'สมคิด-ครม.'ลดภาษี

      แนวหน้า : กรมสรรพากรเตรียมแสนอคลังปรับจ่อลดภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีบุตร ป้องกันจำนวนประชากรไทยลดลง ด้าน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯม.รังสิต ประเมินการลงทุนปีหน้า ว่าจะเติบโตสูง ซึ่งมาจากการให้มาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุนต่างๆ

        นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการปรับโครงสร้างภาษี กรมสรรพากรดำเนินการศึกษาแนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วหลายรูปแบบ และมี 3-4 แนวทางที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา โดยการศึกษาครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งค่าลดหย่อนต่างๆ ค่าใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งอาจพิจารณาทั้งแบบเหมาจ่าย 6 หมื่นบาทต่อปี เพิ่มเป็น 1.2 แสนบาท ทั้งแบบเหมาจ่าย และนำใบเสร็จจากร้านขายสินค้ามาแสดงในการยื่นแบบเสียภาษี เนื่องจากที่ผ่านมากำหนดให้นำค่าใช้จ่าย 6 หมื่นบาทต่อปี หรือประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งใช้มาหลายปีแล้ว จึงต้องการปรับให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

       นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีบุตร เนื่องจากปัจจุบันพบว่า คนรุ่นใหม่มีบุตรน้อยลง เนื่องจากภาระทางครอบครัว ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่า หากมีบุตรมากกว่า 3 คน สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ เพื่อช่วยให้จำนวนประชากรของประเทศไทยไม่ลดลงจาก 70 ล้านคน นโยบายดังกล่าวรัฐบาลจะพิจารณาภายในปี 2559 เพื่อนำออกมาบังคับใช้สำหรับปีภาษี 2560 และยืนยันว่าการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นการลดภาระภาษีของประชาชนให้น้อยลงกว่าเดิม

       ในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนหน้านี้ ครม.เคยมีมติให้ลดเหลือร้อยละ 20 แบบถาวรไปแล้ว โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ลดเหลือ ร้อยละ 10 รายได้รัฐหายไปประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จึงต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีแบบเล่มเดียว ด้วยการดึงพันธมิตรจาก สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ร่วมเป็น พี่เลี้ยง เพื่อดึงผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบบัญชีเล่มเดียว เมื่อเอกชนรับนักศึกษาเข้าร่วมทำบัญชีก็สามารถนำค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า

       สำหรับ แผนดำเนินงานในปี 2559 กรมสรรพากรจะเน้นดำเนินการตามนโยบาย E-Payment เพื่อดึงภาคเอกชนเข้าสู่ระบบภาษี ด้วยการให้ประชาชนใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบดังกล่าวประเทศสวีเดนนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่นได้อย่างมาก ขณะนี้กรมสรรพากรเตรียมระบบรองรับไว้พร้อมแล้ว และระบบยังช่วยประเมินความเสี่ยงของผู้เสียภาษี โดยคอยประเมินว่าผู้ใดอยู่ขอบข่ายต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ระบบจะแจ้งให้ทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลาไปดูแลภาษีในด้านอื่น และยังช่วยลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และเพื่อไม่ให้เกิดการพบกันกับเจ้าหน้าที่โดยตรง ช่วยลดปัญหาทุจริตได้อีกทางหนึ่ง กรมสรรพากรเชื่อว่า เมื่อผู้ประกอบการทุกภาคส่วน เข้าสู่ระบบภาษีแล้วฐานภาษีจะขยายมากขึ้น ช่วยให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีทางเงินได้นิติบุคคลได้มากขึ้นในทางอ้อมถึง 80,000-100,000 ล้านบาท

     นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบ การเพิ่มสิทธิพิเศษให้กับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเร่งรัดให้ขยายการลงทุนและลงทุนใหม่เพิ่มเติม ภายในปี 2559 นี้ กรมสรรพากรจะมีมาตรการด้านภาษีที่เป็นการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมนอกจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถจากต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เหลือประมาณร้อยละ 15 และให้นำค่าใช้จ่ายที่กำหนดนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า เพื่อต้องการสนับสนุนเอกชนขยายการลงทุนในช่วงนี้ รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะหากไปตัดสินใจลงทุนในอนาคตจะไม่ทันการณ์

      ส่วนที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงการณ์ประเมินการลงทุน ปีหน้าว่าจะเติบโตสูง ซึ่งมาจากมาตรการสิทธิประโยชน์ การลงทุนต่างๆ ผลักดันเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่า 3.2% โดยที่การลงทุนโดยรวมน่าจะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 6.5% การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดที่ระดับมากกว่า 13% ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงต่อเนื่องจากไตรมาสสี่ปี พ.ศ. 2558

      ส่วนการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวได้ 3.5% หรือมากกว่านั้นหากมาตรการสิทธิประโยชน์สามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ตามแผน อย่างไรก็ตาม การลงทุนขนาดใหญ่จาก ต่างประเทศจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไทยในระยะยาวต้องก่อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีและความรู้อัน นำมาสู่ผลิตภาพที่สูงขึ้นในระยะยาว

       ผศ.ดร.อนุสรณ์ยังกล่าวถึงเหตุการณ์การก่อการร้ายในปารีสว่า จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโรซึ่งจะทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอีก ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง สายการบิน ธุรกิจท่าอากาศยาน ต้นทุนในการเดินทางและประกอบธุรกิจจะปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูโรโซน และเศรษฐกิจของฝรั่งเศสจะได้รับผลกระทบโดยตรงมากที่สุด ส่วนผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว สายการบินของไทยคงมีระดับหนึ่งแต่ไม่น่าจะมาก

ยกเครื่องภาษีบุคคลธรรมดาสรรพากรชงปรับสูตรจัดเก็บรายได้

            ไทยโพสต์ : ระยอง * สรรพากรแจงต้นปี 59 จ่อชง ครม.เคาะแนวทางยกเครื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รับอัตราใหม่ทำรายได้รัฐลด แต่ช่วยขยายฐานภาษี พร้อมผุดมาตรการภาษีจูงใจลงทุน 10 อุตสาหกรรมใหม่ มั่นใจผลงานปีงบ 59 ฉลุยตามเป้า 1.895 ล้านล้านบาท

     นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง พิจารณา ก่อนนำเสนอให้คณะ รัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภาย ในต้นปี 2559 เพื่อให้สามารถเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ในการยื่น แบบเสียภาษีปี 2560 โดยเบื้อง ต้นกรมมีแนวคิดการปรับเปลี่ยน ประมาณ 3-4 แนวทาง ครอบ คลุมทั้งค่าหักลดหย่อนภาษี การหักค่าใช้จ่าย และอัตราภาษีใหม่ โดยจะครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มฐานราก ระดับกลาง และเศรษฐี จากปัจจุบันที่อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% ซึ่งมีช่องว่างอย่างมากเมื่อเทียบกับภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20%

     "การปรับเปลี่ยนอัตราภาษีบุคคลธรรมดา ผู้ที่มีรายได้เดือนละ 2 หมื่นบาท จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษี และมีแนวโน้มจะขยายช่วงรายได้ เพื่อไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างสรุปแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร ยอมรับว่าการปรับโครงสร้างใหม่ในภาพรวมไม่ว่าจะปรับอย่างไรก็จะทำให้จัดเก็บรายได้ลดลง แต่ถ้ายังรักษาฐานเก็บภาษีได้ก็จะไม่กระทบกับการจัดเก็บมากนัก รวมทั้งจะยังเป็นการช่วยลดภาระภาษีของประชาชนด้วย" นายประสงค์กล่าว

     สำหรับ การหักค่าใช้จ่าย อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้มีการหักค่าใช้จ่ายตามจริง ด้วยการนำใบกำกับภาษีมาใส่ในข้อมูลการยื่นเสียภาษี หรือจะเป็นแบบเหมาจ่ายจากเดิมที่หักได้ 40% ของเงินได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 6 หมื่นบาท จะมีการเพิ่มหรือไม่ ต้องมีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น ขณะที่การเพิ่มหักค่าลดหย่อนอยู่ระหว่างพิจารณาด้วยเช่นกัน ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่นหากมีบุตรมากกว่า 3 คนก็จะได้รับหักค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้น เป็นต้น

     นอกจากนี้ กรมยังอยู่ระ หว่างเตรียมออกมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ที่ ครม.ได้เห็นชอบให้การสนับสนุน ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเป็นมาตร การคนละส่วนกับของบีโอไอ เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน

     นายประสงค์ กล่าวอีก ว่า การจัดเก็บรายได้ในปีงบ ประมาณ 2559 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.895 ล้านล้านบาท โดยกรมจะเน้นจัดเก็บภาษีตามสภาพที่เป็นจริง ภายใต้สมมติฐานของมาตรการรัฐบาล ทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการเอกชน โดยเฉพาะการปรับลดอัตราภาษีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเหลือ 10% ส่งผลให้รายได้ของกรมลดลง 1 หมื่นล้านบาท แต่เชื่อว่าการเดินหน้าให้ผู้ ประกอบการเอสเอ็มอีจัดทำบัญ ชีชุดเดียว ที่ต้องลงบัญชีให้สอด คล้องกับกิจการ จะช่วยให้กรมจัดเก็บรายได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประเมินกันว่าการจัดทำระ บบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (อี-เพย์เมนต์) ใหม่ จะทำให้กรมมีรายได้จากภาษีทางอ้อมเพิ่มขึ้นกว่า 8 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท

    อย่างไรก็ดี ส่วนการจัดเก็บภาษีมรดกที่จะเริ่มจัดเก็บอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.พ.2559 กรมสรรพากรจะเสนอกฎหมายลูกให้ ครม.พิจารณาและเห็นชอบภายในเดือน ธ.ค.นี้ รวมทั้งภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ จะเสนอให้ ครม.พิจารณาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของผู้ประกอบการสินค้าออนไลน์ โดย จะกำหนดให้การเก็บภาษีครอบ คลุมมากขึ้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!