WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa พรชัย ฐีระเวช

คลัง เพิ่มวงเงินสนับสนุนมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19

        นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 รับทราบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ความเห็นชอบและอนุมัติการเพิ่มวงเงินสนับสนุนในโครงการ ดังนี้

       (1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 (โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3) (2) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ) (3) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และ (4) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ตามที่กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้แก่กลุ่มที่มีความเปราะบางทางด้านรายได้ ทรัพย์สิน และหนี้สิน และผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ตลอดจนเพื่อพยุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ผ่านการเพิ่มอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3 เพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติม จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือนเป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (รวม 600 บาทต่อคน) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวนไม่เกิน 13,537,294 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 500 บาทต่อคนต่อเดือนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564
  2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ เพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าฯ และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติม จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (รวม 600 บาทต่อคน) ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ จำนวนไม่เกิน 2,306,469 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 500 บาทต่อคนต่อเดือนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564
  3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพิ่มเติมวงเงินสนับสนุนรัฐร่วมจ่าย รอบที่ 3 จำนวน 1,500 บาทต่อคน ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2564 (โดยนำไปรวมกับวงเงินคงเหลือจากรอบที่ 1 และ 2 ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยอัตโนมัติ) ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จำนวนไม่เกิน 28,000,000 คน
  4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เพิ่มวงเงินสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) ของรัฐ จำนวน 3,000 บาทต่อคน ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จำนวนไม่เกิน 1,000,000 คน โดยมีผลกับวงเงินใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้

      4.1 สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาท  ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จะนำยอดใช้จ่ายมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ได้ ดังนี้ (1) ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 1 – 40,000 บาทแรก ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 10 ของยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน (2) ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 40,000 – 80,000 บาท ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อคน

      4.2 สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher เต็มจำนวน 60,000 บาท   ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีสิทธิได้รับ e-Voucher จำนวน 7,000 บาทเรียบร้อยแล้ว จะมีสิทธิได้รับ e-Voucher เพิ่มเติม หากมีการใช้จ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับสิทธิ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายเพิ่มเติมดังกล่าว แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน

      ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้จะได้รับสิทธิ e-Voucher รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ และสามารถใช้จ่าย e-Voucher ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

       จากข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2564 มีผู้ใช้สิทธิสะสมทั้ง 4 โครงการรวมกว่า 40.04 ล้านราย ยอดใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 114,819.9 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้

  1. - โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรฯ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 13.54 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 10,515.1 ล้านบาท
  2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวนกว่า 1.21 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 770.5 ล้านบาท
  3. - โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 25.21 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิ 27.7 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 100,734.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 51,195.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 49,539.0 ล้านบาท
  4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 82,872 ราย จากผู้ได้รับสิทธิกว่า 4.78 แสนราย โดยเป็นยอดการใช้จ่ายส่วนประชาชนสะสม 2,663 ล้านบาท และยอดใช้จ่ายส่วน e-Voucher สะสม 137 ล้านบาท

    ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังสามารถลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่http://xn--72c.com/ หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 28 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 2 แสนสิทธิ สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิคงเหลือกว่า 5.2 แสนสิทธิ

 

ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

     นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 24.92 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิรวม 27.55 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 87,124.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 44,291.7 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 42,832.6 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจำนวน 80,793 คน จากจำนวนผู้ได้รับสิทธิกว่า 4.7 แสนราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมรวมทั้งหมด 2,551  ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher 2,006 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 218 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายส่วน e-Voucher สะสมกว่า 122 ล้านบาท

      นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำว่า ประชาชนผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ (โครงการฯ) สามารถใช้สิทธิซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มทั้ง 2 ราย ในขณะนี้ ได้แก่ Grab และ LINEMAN โดยรัฐจะสนับสนุนเงินในส่วนค่าอาหารและ/หรือเครื่องดื่มเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าจัดส่งหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด โดยสามารถใช้บริการได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น. ของทุกวัน ตามขั้นตอนดังนี้

1) เข้าแอปพลิเคชัน งเป๋าตังง กดแถบแบนเนอร์ (Banner) ฟู้ดเดลิเวอรี่ในหน้าแรก หรือสามารถเข้าผ่าน g-Wallet กด Banner โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ แล้วจึงกด Banner ฟู้ดเดลิเวอรี่

2) กด 'สั่งผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์ม'บนแอปพลิเคชัน'เป๋าตัง'แล้วจึงเลือกผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มที่ต้องการใช้งาน หรือสามารถกด “ค้นหาเมนูหรือร้านอาหาร” เพื่อเลือกซื้ออาหาร/เครื่องดื่มได้

3) หลังจากเลือกตามข้อ 2 ระบบจะเชื่อมไปที่แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มเพื่อสั่งอาหาร/เครื่องดื่มจากร้านอาหาร/เครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยประชาชนจะต้องชำระค่าส่งที่แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มก่อน

4) ประชาชนจะได้รับการแจ้งเตือนให้ชำระค่าอาหาร/เครื่องดื่มบน g-Wallet และกดปุ่มชำระค่าอาหาร/เครื่องดื่มพร้อมใช้สิทธิผ่าน g-Wallet โดยต้องชำระเงินภายใน 5 นาที

5) สำหรับ กรณีที่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อประชาชนจะได้รับเงินคืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    5.1 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จะได้รับเงินคืนใน g-Wallet และวงเงินสิทธิของโครงการคืนประมาณ 30 - 60 นาที

    5.2 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จะได้รับเงินคืนใน g-Wallet และวงเงินสิทธิ e-Voucher คืนประมาณ 30 - 60 นาที

    5.3 ค่าส่งที่ได้ชำระให้กับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มจะได้รับคืนประมาณ 30 - 60 นาที

         ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการฯ ที่ขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มขณะนี้ มีจำนวนกว่า 58,000 ราย โดยผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการฯ ที่ประสงค์จะขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มสามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเลือกเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มเพื่อขายอาหารและเครื่องดื่มตามโครงการฯ ได้เพียงรายเดียวและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ (ตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขได้ที่ www.คนละครึ่ง.com และ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com) ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) เข้าแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ กด ‘สมัครฟรี’ ที่กดแถบ Banner รับเงินผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ บนหน้าช่องทางรับเงิน จากนั้นกด ‘ยอมรับ’ ข้อตกลงและเงื่อนไข

2) ระบบจะเข้าสู่หน้าสมัครใช้งานฟู้ดเดลิเวอรี่ ให้เลือกฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มที่ต้องการ

3) กรณีร้านค้าที่มีสาขาระบบจะเข้าสู่หน้าผูกบัญชีถุงเงินแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ โดยร้านค้าสาขาหลักสามารถเลือกผูกถุงเงินเพื่อใช้งานฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มทั้งสาขาหลักและสาขาย่อย หรือ เฉพาะสาขาย่อยได้

4) กรอกข้อมูลร้านค้า แล้วจึงกดยืนยันการสมัครและจะได้รับรหัส OTP เพื่อยืนยันการสมัคร เมื่อกรอก OTP เรียบร้อยแล้ว จะขึ้นหน้าจอแจ้งได้รับคำขอสมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยจะแจ้งผลการลงทะเบียนในวันถัดไป

5) สำหรับการยืนยันคำสั่งซื้อ มีขั้นตอนดังนี้

    5.1 เข้าแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” กด Banner ฟู้ดเดลิเวอรี่บนหน้าช่องทางรับเงิน หรือ กดรายการคำสั่งซื้อจากการแจ้งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา

    5.2 ระบบจะเข้าสู่หน้ารายการคำสั่งซื้อ ให้กดเลือกคำสั่งซื้อที่ต้องการยืนยัน โดยต้องกดยืนยันคำสั่งซื้อภายใน 10 นาที

    5.3 กรณียกเลิกคำสั่งซื้อ ในหน้าแสดงรายละเอียดคำสั่งซื้อ ให้กด ‘ยกเลิกคำสั่งซื้อ’

            สำหรับข้อมูลการใช้จ่ายสะสมผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มล่าสุด (08.00 น.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีการใช้จ่ายสะสมประมาณ 214 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 110.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 103.7 ล้านบาท สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้มีการใช้จ่ายสะสมกว่า 176,000 บาท

            ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังสามารถลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน จนกว่าจะครบ 28 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิเหลือกว่า 3.6 แสนสิทธิ ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ สำหรับ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จนกว่าจะครบ 1 ล้านสิทธิ ซึ่งยังมีสิทธิคงเหลือกว่า 5.2 แสนสิทธิ

 

การดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ

          สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ขอชี้แจงเกี่ยวกับโครงการเราชนะ (โครงการฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระลอกใหม่ ภายใต้แผนงานเยียวยาตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

         โดยประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ และบัตรประจำตัวประชาชน โครงการฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ มาโดยตลอด

        รวมถึงขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการฯ ให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ต่อไป

         สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการฯ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการฯ ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ (คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่างใกล้ชิด

         ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

            สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ มีดังนี้

  1. การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอปพลิเคชัน 'ถุงเงิน' เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานฯ
  2. เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้
  3.       เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

    ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ แล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ “เราชนะ” เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ขั้นตอนตามข้อ 2)

       ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

      สำหรับ ผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ wewin@fpo.go.th

การดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ

      สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ขอชี้แจงเกี่ยวกับโครงการเราชนะ (โครงการฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระลอกใหม่ ภายใต้แผนงานเยียวยาตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

        โดยประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ และบัตรประจำตัวประชาชน โครงการฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ มาโดยตลอด

        รวมถึงขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ สามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการฯ ให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ต่อไป

       สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการฯ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการฯ ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ

(คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ

     อย่างใกล้ชิด ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

       สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ มีดังนี้

  1.      การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอปพลิเคชัน 'ถุงเงิน' เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอปพลิเคชัน ‘ถุงเงิน’ ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานฯ
  2. เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้
  3.      เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

     ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ แล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ‘เราชนะ’เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ขั้นตอนตามข้อ 2)

      ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

      สำหรับ ผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ wewin@fpo.go.th

        สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง halfhalf@fpo.go.th , spend2get@fpo.go.th ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1122 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!