WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaaaa1IBlue 

Blue Carbon Society ชวนพิทักษ์โลก

       เปิดตัวอย่างเป็นทางการสำหรับ 'Blue Carbon Society'ชุมชนพิทักษ์โลกให้สวยงาม โดยผู้สร้างหนังแอนิเมชั่น 3 มิติ 'เชลล์ดอน' ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตสัตว์ใต้ท้องทะเล ของ ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ และคู่ชีวิตอย่าง คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มบริษัทดีที ที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเครือข่ายคนรักโลก และพัฒนาระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

     ดร.ชวัลวัฒน์ กล่าวว่า Blue Carbon Society เป็นการสร้างเครือข่ายผู้ที่ชื่นชอบทะเล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยจะต้องทำศูนย์วิจัยข้อมูลการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ เพื่อปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงสร้างสมดุลทางธรรมชาติให้ยั่งยืนผ่านกิจกรรมต่างๆ

      ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับคำว่า “Green Carbon” ซึ่งฮีโร่จะเป็น “ต้นไม้” ที่ดูดซับคาร์บอน และปล่อยออกซิเจนออกมาให้มนุษย์ แต่ด้วยสัดส่วนของโลกที่มี ¼ เป็นพื้นดินเท่านั้น จึงไม่สามารถดูดซับคาร์บอนได้ทั้งหมด ดร.ชวัลวัฒน์ จึงมองว่า “Blue Carbon” เป็นตัวช่วยให้โลกรอดพ้นจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และภาวะโลกร้อนได้ โดยใช้ศักยภาพของทะเลดูดซับคาร์บอนที่ปล่อยจากมนุษย์ โรงงานต่างๆ ผ่านองค์ประกอบหลังของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล รวมถึงที่ลุ่มน้ำเค็ม ซึ่งทำหน้าที่เสมือน “เครื่องฟอกอากาศของโลก” และด้วยสัดส่วนพื้นน้ำที่มี ¾ ของโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่มาก หากพัฒนาพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งได้ก็จะช่วยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาลเช่นกัน

 

UNDP ห่วง ไทยทิ้งขยะลงแม่น้ำมากที่สุด ชี้ Blue Carbon เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

       นายมาร์ติน ฮาร์ท – ฮานเซน รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวในงานเปิดตัว Blue Carbon Soceity ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ประเทศไทยทิ้งขยะลงแม่น้ำมากที่สุด ส่งผลให้ขยะไหลลงสู่ทะเลเป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาวาฬ

      นอกจากนี้ นายมาร์ติน เปิดเผยผลสำรวจพื้นที่ป่าในประเทศไทย พบว่าในปี 1961 มีพื้นที่ป่าร้อยละ 53 และในปี 2013 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียงร้อยละ 31 ซึ่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกครั้ง จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสำหรับการฟื้นฟูมากกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 189,000 ล้านบาท) ซึ่งภาครัฐไม่สามารถแบกรับภาระได้เพียงผู้เดียว จึงจำเป็นต้องมีภาคเอกชน รวมถึงองค์กรต่างๆเข้ามาร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่ง Blue Carbon Society เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของภาคเอกชน ที่จะช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยนำความสวยงามของสิ่งแวดล้อมกลับมาในประเทศไทยอีกครั้ง

 

กระทรวงทรัพย์ฯ ชี้ ขยะเกิดวันละ 1 กิโลกรัม ต่อ 1 คน เร่งปฏิรูปปัญหาทะเลไทย

      ดร.วิจารย์ สิมะฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน, แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งขณะนี้บริบทของประเทศไทยและโลกให้ความสำคัญกับเรื่องขยะทะเลโดยเฉพาะพลาสติก ที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเล

      ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า มนุษย์สร้างขยะวันละ 1 กิโลกรัม 1 ขีด ต่อคนต่อวัน ใช้เวลาย่อยสลายเป็นไมโครพลาสติกค่อนข้างนาน และสะสมในสัตว์น้ำส่งผลต่อระบบนิเวศทะเลไทย ดังนั้น การลดปริมาณขยะต้องเริ่มจากทุกๆคน โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ ถึงการอนุรักษ์เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในส่วนของภาครัฐก็ให้ความสำคัญถึงการปฏิรูปปัญหาทางทะเลและชายฝั่ง และการมีส่วนร่วมของภาคอย่าง Blue Carbon Society จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทช. ยืนยันระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งไทยดีขึ้น พบ วาฬ พะยูน โลมา มากขึ้น

      นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยถึงสถาการณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยในปัจจุบัน ถือว่าดีขึ้น โดยเฉพาะสัตว์น้ำ เช่น พะยูน ปลาวาฬ รวมถึงปลาโลมา มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแหล่งอาหารสัตว์น้ำอย่างหญ้าทะเลมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐ และความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องขยะทะเลที่เป็นปัญหาสำคัญของสิ่งแวดล้อม

      ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุ ทุกๆปีสัตว์ทะเลจะเกยตื้นตายประมาณ 400 ตัว สาเหตุมาจากเครื่องจักรเรือประมง หรือสัตว์น้ำหลุดจากฝูง ซึ่งกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เร่งดำเนินการดูแลสัตว์น้ำ ด้วยการจัดสร้างศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะเป็นศูนย์ดูแลสัตว์นำที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุดในอาเซียน โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562

       นายจตุพร ระบุว่า ขยะในทะเลไทยร้อยละ 80 เกิดจากบนบกและไหลลงสู่ทะเล ส่วนร้อยละ 20 เกิดจากกิจกรรมในทะเล ซึ่งขณะนี้ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกนโยบาย 24 หาดปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และได้รับผลตอบรับที่ดีจากประชาชนและนักท่องเที่ยว สามารถลดปริมาณขยะลงได้ ขณะเดียวกันได้มีการรณรงค์สร้างจิตสำนึก โดยเป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลประมาณหมื่นคน ซึ่งเป็นภาคประชาชน เข้ามาช่วยกันดูแลบริเวณชายฝั่งทะเลไทยอีกด้วย

      อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมให้กลับมาสวยงามอีกครั้ง มาร่วมเป็นพลังกับ Blue Carbon Society กันได้ที่ www.bluecarbonsociety.org สร้างโลกให้สวยงามต่อไป

 

ภาพประกอบ

ภาพข่าว 7 คน จากซ้ายไปขวา

1. นายโสภณ ทองดี   รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

2. นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

3. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

IMG_83814. ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Blue Carbon Society   Blue Carbon Society

5. คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Blue Carbon Society Blue Carbon Society

6. ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. มร.มาร์ติน ฮาร์ท-แฮนเซ่น รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(ประจำประเทศไทย) – UNDP

   โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ประจำประเทศไทย) - UNDP

8. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดี กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช   กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

รายชื่อผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์

1. มร. ริชาร์ด เดล ผู้กำกับภาพยนตร์ Earth : One Amazing Day

2. มร. สตีเฟ่น แมคโดโน โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ Earth : One Amazing Day

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!