WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAAAKAองคการบรหาร

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผนึกกำลังกลุ่มมิตรผล จัดพิธีลงนามการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกับ 8 องค์กรหัวใจสีเขียว สอดรับเป้าหมายลดก๊าซ CO2 7-20% ภายในปี 63

      องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับกลุ่มมิตรผลจัด ‘พิธีลงนามการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประจำปี พ.ศ. 2561’เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ภายใต้โครงการ ‘ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย’ (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีนโยบายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมายระยะสั้นลดให้ได้ร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563 และในระยะยาวร้อยละ 20-25 ภายในปีพ.ศ. 2573

      นางประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกขณะ ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบในแง่ของฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และฝนตกนอกฤดูกาล เป็นต้น ในฐานะสมาชิกรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต เราตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแก่ภาคส่วนต่างๆ จึงได้พัฒนาโครงการ ‘ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย’(Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลด/ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ที่เรียกว่า ‘คาร์บอนเครดิต’ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVERs” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology)

      การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้พัฒนาโครงการรายเล็ก มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ ขณะที่ไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ภายใต้พิธีสารเกียวโต นอกจากนี้ การดำเนินโครงการยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการใช้พลังงานและค่าไฟฟ้า สนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชน เพิ่มรายได้แก่ชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มมูลค่าของเสียหรือของเหลือทิ้งทางการเกษตร และอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เป็นต้น

         จากข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER รวมทั้งสิ้นกว่า 200,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จาก 5 ประเภทโครงการ ได้แก่ ชีวภาพ ชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้วัตถุดิบด้านพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้พัฒนาโครงการ อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดขยายตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ โดยปัจจุบันมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 6.2 ล้านบาท กลุ่มมิตรผลนับเป็นหนึ่งในผู้นำประกอบการที่นำร่องและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนรายอื่นๆ อบก.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยไปถึงเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่วางไว้”

        นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล ผู้ขายคาร์บอนเครดิตรายใหญ่ของประเทศไทย กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นในการพัฒนาต่อยอดคุณค่าจากอ้อยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในทุกกระบวนการผลิตด้วยแนวคิด Value Creation เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การต่อยอดสู่ธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า เอทานอล วัสดุทดแทนไม้ และBio-Based ซึ่งการดำเนินธุรกิจทั้งหมดนั้นล้วนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอมา กลุ่มมิตรผลจึงมุ่งมั่นสู่การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเรามีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองรวม 489,217 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งได้มาจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ของโรงไฟฟ้ามิตรผล ไบโอเพาเวอร์ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และเรายังคงเดินหน้าขยายการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

      ผมขอขอบคุณพันธมิตรที่ร่วมกันทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเครดิตและแสดงพลังความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันในวันนี้ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ, บริษัท สแครทซ์ เฟิร์สท์ จำกัด (Wonderfruit) , ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่เราได้เห็นความร่วมมือร่วมใจกันของทุกภาคส่วนในการสานพลังเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – 25 ภายในปี 2573 เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย”

      นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ตัวแทนภาคเอกชนที่ร่วมลงนามซื้อขายคาร์บอนเครดิตของกลุ่มมิตรผลและเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรที่ไม่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Neutral) กล่าวว่า "ธนาคารกสิกรไทยในฐานะหน่วยงานในภาคการเงินการธนาคาร ที่ให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์ด้วยการสนับสนุนคาร์บอนเครดิตจาก บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด (ด่านช้าง) บล็อค (2) ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือกันเพื่อผลักดันไปสู่สังคมเศรษฐกิจ คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) และการเติบโตอย่างยั่งยืนแล้ว ยังพร้อมที่จะเป็นกลไกทางการเงินเพื่อพลักดันให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการสนับสนุนทางการเงินเพื่อส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทน

     และสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทุกโครงการที่ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อจะต้องผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างรอบคอบ ตามกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของธนาคาร อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS ซึ่งช่วยลดการเดินทาง ลดการใช้กระดาษ อันเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง สำหรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของธนาคารเอง คณะกรรมการธนาคารได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทำหน้าที่เป็น Chief Environmental Officer เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานของธนาคารลงร้อยละ 20 ภายในปี 2563 เทียบกับปีฐาน 2555 ซึ่งในเบื้องต้นธนาคารสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 8 จากปีฐาน 2555 และจะพยายามดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้”

      ผลการดำเนินงานโครงการ T-VER ของกลุ่มมิตรผลที่ผ่านมา มีผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 26 องค์กร ประกอบด้วย หน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 15 องค์กร ภาครัฐ จำนวน 9 องค์กร และรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 องค์กร โดยมีการขายคาร์บอนเครดิตไปแล้วกว่า 190,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นประมาณ 90% ของตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยตามมาตรฐาน T-VER โดยหวังว่าการจัดงานดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ภาคประชาสังคมอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้นและหากในอนาคตผู้ประกอบการภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ร่วมใจกันซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นก็จะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้มีผู้พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีมากขึ้นด้วยอันจะทำให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นเช่นกัน

 

Thailand Greenhouse Gas Management Organization and Mitr Phol Group hold carbon emission trading ceremony with eight leading green companies in support of Thailand’s 2020 carbon emissions targets  

     Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) or (TGO) has joined with Mitr Phol Group in organizing the 2018 carbon emission trading ceremony to encourage the involvement of every sector in addressing global warming. The ceremony is part of the Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER), an effort to support Thailand’s carbon emissions targets, which specify a short-term national reduction of 7-20% by 2020, and a long-term reduction of 20-25% by 2030.                    

     Mrs.Prasertsuk Chamornmarn, Executive Director of Thailand Greenhouse Gas Management Organization said: “The effects of climate change and global warming are becoming more pronounced. Thailand has seen changes in its weather, significantly higher temperatures and off-season rain. As a member of the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) and the Kyoto Protocol, we are aware of Thailand’s involvement in reducing impacts on the environment. In this regard, TGO has developed the Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) to encourage all sectors to voluntarily mitigate greenhouse gas emissions. Under the T-VER scheme, certified greenhouse gas emissions/absorption, which are known as carbon credits or ‘TVERs’ under this program, can be traded on Thailand’s voluntary carbon market. TGO has set up and is implementing emissions criteria, methodology, validation and verification procedures for every sector, including small-scale projects, so that they are all able to participate voluntarily with less complicated processes and improved cost-effectiveness, in line with the Kyoto Protocol’s Clean Development Mechanism. The T-VER scheme will benefit Thailand’s economy, society and the environment. For example, it will reduce impacts on the environment, create more revenues for local communities, increase Thailand’s green space and reduce agricultural waste as well as create more environmentally friendly jobs.”    

      According to TGO’s September 2018 report, around 200,000 tons of CO2 equivalents are being traded on T-VER’s carbon market. This carbon credit is generated from five categories of verified emission reduction projects, namely biogas, biomass, hydro power, solar power and waste heat recovery. These projects not only help maximize energy raw materials, but also increase revenue for their developer, and encourage the growth of Thailand’s voluntary carbon market, which is currently valued at 6.2 million baht. Mitr Phol Group is one of the first private companies to pilot and reinforce the involvement of other companies in Thailand’s carbon market. TGO is looking forward to witnessing the involvement of more organizations and sectors to help Thailand reach its carbon emissions targets.      

      Mr.Krisda Monthienvichienchai, Chief Executive Officer and President of Mitr Phol Group, Thailand’s one of the largest carbon offset providers, said: “We have always made every effort to extend the value of sugarcane at every stage of process through the Value Creation concept. This aims to maximize the benefits of sugarcane and can be expanded to other businesses, namely electricity, ethanol, wood substitute and bio-based. We highly value the eco-friendly working process, as Mitr Phol Group is determined to help in creating a society with less CO2. As of today, we have possessed 489,217 tons of certified CO2 equivalent from the CO2 emission reductions of Mitr Phol Bio-Power (Dan Chang) in Suphan Buri, and we will continue to expand the project’s operation. I would like to express my appreciation to our partners who have joined us in our mission to offset CO2 and are showing social responsibility, namely KASIKORNBANK PCL, Thai Airways International Public Co., Ltd., Sivatel Hotel Bangkok, Scratch First Co., Ltd. (Wonderfruit), Bank of Thailand, The Association of Thai Industries, Thammasat Printing House, and Vgreen – Kasetsart University. This participation by all sectors marks a promising start in moving Thailand forward to achieve the goal of greenhouse gas reduction by 20-25% within 2030 to preserve natural resources and the environment for a sustainable future.”

       Mr.Predee Daochai, President of KASIKORNBANK PCL represented the private sector in signing the MOU for the carbon credit trade from Mitr Phol Group. KASIKORNBANK will also be the first commercial bank to be certified as carbon neutral. Mr. Predee said, “KASIKORNBANK is an organization in the financial sector which is committed to reducing environment impacts and conducts its business with the aim of developing sustainability in the economy, society and the environment. Our commitment to reduce carbon emissions to zero has been supported by the carbon credit from Mitr Phol Bio-Power Co., Ltd. (Dan Chang) Block (2). This represents a significant collaboration in driving society towards a Low Carbon Economy and sustainable growth. It will also serve as a financial mechanism to increase awareness of global warming in the business and industrial sectors. This type of financial support will promote renewable energy and encourage business owners to operate with the environment in mind and reduce greenhouse gas emissions.

        Each project to be funded by the bank will be examined and considered based on its impact on the environment and society according to the bank’s Environmental, Social and Governance criteria. The bank also aims to encourage people to undertake their financial activities via the K Plus application. This will reduce the need for travel and the use of paper, both of which can help reduce global warming. As for the bank’s own environmental management, KASIKORNBANK has appointed its CEO as the Chief Environmental Officer to drive its environmental mission and in 2012 set a target to reduce the emissions of greenhouse gases from the bank’s operations by 20% by 2020. The bank has so far been able to reduce greenhouse gas emissions by 8% and is committed to continuing its mission to achieve the set target.”

       In terms of the performance of the T-VER program by Mitr Phol Group, 26 organizations - 15 private agencies, 9 government agencies and 2 social enterprises – have bought carbon credits to reduce their carbon footprint through Corporate Social Responsibility activities. A total of 190,000 tons of CO2 equivalent of carbon credits have been sold. This is approximately 90% of Thailand’s carbon market according to T-VER’s standard. It is expected that this ceremony will encourage civil society to work to solve global warming. In the future, if more business owners or other sectors join the movement and buy more carbon credits from programs / activities to reduce greenhouse gas emissions, this will attract more developers and activities, which will in turn reduce Thailand’s overall greenhouse gas emissions.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!