WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11584 สกสวไทย – จีน สัมพันธ์แน่นแฟ้นผนึกกำลังวิจัยตั้งรับ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’

          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จับมือ มูลนิธิวิจัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (NSFC) ผนึกกำลังวิจัยตั้งรับปัญหา ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 สร้างวัฒนธรรมแบ่งปันความรู้  จับมือวิจัยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก 

          รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการภารกิจอนาคตเชิงยุทธศาสตร์ และการริเริ่มงานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย Prof.Dr. WANG Lin จาก Center for Monsoon system Research, Institute of Atmospheric Physics, Chinese Academy of Sciences (CAS) หรือ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “The 7th China – Thailand Joint Conference on Climate Change” ที่จัดขึ้นโดย ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (THAI - GLOB) สกสว. ร่วมกับ มูลนิธิวิจัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ เอ็นเอฟเอสซี (The National Natural Science Foundation of China, NSFC) ในระหว่างวันที่ 25 - 30 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อิน รีสอร์ท จ.กระบี่ โดยมี ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจโครงการดังกล่าว เนื่องจากนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563  เป็นต้นไป โครงการดังกล่าวจะดำเนินการภายใต้การบริหารของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หลังมีการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศและ สกสว.เปลี่ยนแปลงพันธกิจการทำงาน 

          รศ.ดร. อำนาจ ชิดไธสง นักวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึง ที่มาที่ไปของการจัดประชุมครั้งนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนานักวิจัยของทั้งไทยและจีนติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7 ภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง สกว. และ NSFC ที่ดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยจะจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือด้านการวิจัย พื้นที่พบปะพูดคุยของนักวิจัยในวงการสิ่งแวดล้อม ที่สนใจศึกษาวิจัยประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือระยะต่อไป โดยการจัดงานในครั้งนี้มีคณะนักวิจัยจากประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมกว่า 60 คน

          พันธกิจสำคัญตลอดระยะเวลาความร่วมมือกว่า 11 ปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับนักวิจัยและงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยสู่ระดับสากล สร้างความร่วมมือด้านการวิจัยที่ประเทศไทยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านงานวิจัยของไทยมากขึ้น 

          “เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลลงทุนกับงานวิจัยโดยใช้งบประมาณค่อนข้างสูง จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณวิจัยเพราะเล็งเห็นว่างานวิจัยเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาประเทศ ความร่วมมือตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับเป็นข้อดีต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักวิจัย ในหลายต่อหลายโครงการได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจีนอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยในหลายๆ โครงการ เป็นงานวิจัยเชิงมหภาคที่ลำพังงบประมาณและกำลังคนที่ประเทศไทยไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนงาน แต่เมื่อเรามีพาร์ทเนอร์ด้านงานวิจัยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้เป็นจีน จึงถือเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายด้านงานวิจัยที่ส่งผลดีต่อทั้งนักวิจัยเองและประเทศไทย โดยนักวิจัยไทยที่เข้าร่วมวิจัยภายใต้ความร่วมมือนี้ ไม่ได้มาจากฟากวิชาการอย่างเดียวเท่านั้นยังมาจากภาคนโยบายหรือผู้ปฏิบัติการเอง อาทิ นักวิจัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมการข้าว เพื่อให้นักวิจัยนำข้อมูลที่ได้ไปสนับสนุนการทำงานของตน” รศ.ดร. อำนาจ ชิดไธสง กล่าวเสริม 

 


AO11584

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!