WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

5636 สทนช

มจธ.ร่วมผลักดันธนาคารน้ำใต้ดินช่วยคนไทยสู้ภัยแล้งและน้ำท่วมขังอย่างยั่งยืน

          อาจารย์ มจธ. เผยการผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงภัยแล้งและน้ำท่วมขังให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศให้ได้มากที่สุด จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ได้และใช้งบประมาณไม่มากขึ้นอยู่กับพื้นที่ หวังผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ

          โครงการธนาคารน้ำใต้ดินริเริ่มโดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ) ที่นำเอาแนวคิดการเก็บน้ำไว้ใต้ดินจากประเทศสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทางภาคอีสานที่มักมีน้ำท่วมหนักในฤดูฝนและแล้งมากในฤดูร้อน หลักการคือการเติมน้ำลงไปเก็บไว้ใต้ดินและนำออกมาใช้ได้เมื่อยามต้องการ โครงการนี้มีความร่วมมือกับกรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ภาคเอกชน โดยร่วมมือ กับ คุณธเนศ นะธิศรี ประธานกลุ่ม American Groundwater Solution (AGS) สมาคม มูลนิธิต่างๆ และภาคมหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

          ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) มจธ. กล่าวว่า การทำธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็นสองแบบหลักๆ คือ การทำเป็นบ่อเติมน้ำแบบระบบปิดและแบบระบบเปิด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยการทำบ่อแบบระบบปิดนั้นจะมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับการใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมขังระดับครัวเรือน อุปกรณ์การทำหาได้ง่าย โดยขุดดินที่ความลึกประมาณ 2 เมตร และใช้หินหรือประยุกต์วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณนั้นจะอยู่ที่หลักพันบาท

 

5636 บ่อเติมน้ำระบบปิด

บ่อเติมน้ำระบบปิด

 

 

5636 บ่อเติมน้ำระบบเปิด

บ่อเติมน้ำระบบเปิด

 

          ในขณะที่บ่อเติมน้ำระบบเปิดนั้นจะใช้พื้นที่มากกว่า แก้ปัญหาได้ในวงกว้าง โดยจะขุดเจาะหน้าดินให้ทะลุชั้นดินเหนียวและลึกลงไปถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ขุดเป็นรูปทรงหรือขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ หรืออาจจะเป็นการปรับปรุงบ่อเก่าโดยการขุดเป็นสะดือบ่อให้ลึกลงไปก็ได้เช่นกัน สิ่งที่สำคัญคือการขุดบ่ออื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้มีการเชื่อมโยงของระบบการไหลซึมของน้ำใต้ดิน น้ำจึงจะสามารถแพร่ไปตามชั้นหินใต้ดินได้ในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำหลากและท่วมขัง งบประมาณจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนบาทต่อบ่อขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่

          ดร.ปริเวท วรรณโกวิท กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนที่มจธ. รับผิดชอบ คือการนำเอาความรู้เชิงวิชาการ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการแปลภาพถ่ายดาวเทียมเข้ามาสนับสนุน เพื่อรวบรวมข้อมูลหาพื้นที่ในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเนื่องจากในแต่ละพื้นที่นั้นมีลักษณะชั้นดินและหินอุ้มน้ำแตกต่างกัน โดยตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ตำบลบ้านผึ้ง จังหวัดนครพนม ตำบลวังหามแห จังหวัดกำแพงเพชร และตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ตำบลเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร

 

5636 ชั้นดินบ้านโคกสว่าง

 

          ปัจจุบันทาง มจธ.อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ทั่วประเทศถึงความเหมาะสมสำหรับการทำธนาคารน้ำใต้ดินร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล หากผู้นำชุมชนหรือบุคคลทั่วไปสนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ www.usagroundwater.com หรือขอเข้ารับการอบรมได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หรือติดต่อดร.ปริเวท วรรณโกวิท ที่อีเมล pariwate@gmail.com โทร 089-866-5958


AO5636

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!