WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7652 ไม่มีวัคซีนกับภัยพืบัติ2สสส. ผนึกภาควิชาการ ประชาสังคม ดึงศักยภาพชุมชน ชี้ไทยต้องรอด หากโควิด-19 ระบาดรอบสอง

พร้อมวางแผนลดทอนความเสี่ยง ‘ภัยพิบัติซ้ำซ้อน’ ทั้งจากโรคระบาดและภัยธรรมชาติ

          เมื่อไม่นานมานี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายภัยพิบัติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ภัยพิบัติซ้ำซ้อน (Compound Hazard) ความเสี่ยง โอกาสและแนวทางการรับมือเพื่อลดทอนการเกิดภัยพิบัติระดับพื้นที่” เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติ และสานพลังภาคีเครือข่ายและชุมชนในการรับภัยพิบัติด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน D-2R Disaster Risk Assessment – Covid 19 ระบบติดตาม ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่หน่วยตำบล สำหรับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อดูแลกลุ่มเปราะบางในยามเกิดภัยพิบัติซ้ำซ้อน ทั้งจากโรคระบาดและภัยธรรมชาติ

7652 วิเชษฐ์          นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวว่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 ที่ผ่านมาจะคลี่คลายแล้ว แต่นักระบาดวิทยาก็ยังแสดงความเป็นห่วง เตือนคนไทยการ์ดอย่าตก เพราะหากมี Second Wave หรือการระบาดรอบสอง ประกอบกับหากเกิดภัยพิบัติที่ไม่อาจคาดการณ์ขึ้น เช่น น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม จะกลายเป็นภัยพิบัติซ้ำซ้อน และผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชน ที่ผ่านมา สสส. ได้ผลักดันให้เกิดภาคีเครือข่ายภัยพิบัติ กระจายกันทำงานอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติและโรคระบาดต่างๆ โดยพบว่าชุมชนหรือพื้นที่ที่มีเครือข่ายทำงานอยู่ สามารถรับมือกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดได้ดี หรือเรียกได้ว่า ‘ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย’ เพราะมีการเตรียมตัวที่ดี โดยภายในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ สสส. จัดขึ้นครั้งนี้ เราได้เติมความรู้ให้กับภาคีเครือข่ายภัยพิบัติในหลายๆ เรื่อง ซึ่งจากวิกฤตโควิด-19 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย สรุปได้เป็นสามเรื่องใหญ่ หรือที่เรียกว่า 3D

          “D แรกคือ Deglobalization การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ ที่เราจะหวังพึ่งการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เราต้องร่วมกลุ่มกันเพื่อพึ่งพากันเองภายในภูมิภาค อย่างที่เครือข่ายภัยพิบัติทำได้ดี ในโครงการข้าวแลกปลาจากชาวนาถึงชาวเล ต่อมา Digital Transformation หรือ Digital Disruption การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล หรือการมีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรื่องนี้เครือข่ายภัยพิบัติต้องมีการปรับตัว และนำรูปแบบที่ทันสมัยของเทคโนโลยีมาใช้ในการเฝ้าระวัง และรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างแม่นยำ และ Social Distancing การรักษาระยะห่าง ซึ่งเป็นชีวิตวิถีใหม่ ที่ไม่อาจจัดประชุมกันบ่อยๆ เหมือนแต่ก่อนได้ แต่เราก็ต้องมีการคิดค้นหาวิธีการใหม่ในการทำงานเชิงพื้นที่” นายวิเชษฐ์ กล่าว

7652 เสรี          ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำข้อความจากสหประชาชาติที่ว่า “แม้เราจะค้นพบวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ เราจะไม่มีวัคซีนป้องกัน Climate Change ได้เลย” เพื่อเตือนให้ประชาชนตื่นตัวในสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับ New Normal ของธรรมชาติเช่นกัน

          “ความปกติใหม่ (New Normal) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมันเกิดขึ้นแล้ว ทุกคนต้องยอมรับว่าอุณหภูมิโลกได้สูงขึ้น และจะไม่มีวันลดลง หรือกลับไปเหมือนเดิมอีก ฝนจะตกหนักขึ้น แล้งจะรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะมีความถี่ของการเกิดภัยพิบัติมากขึ้น ในอดีตเราจะเห็นว่า 3-4 ปี จึงจะเกิดภัยแล้งหนัก แต่ระหว่างปี 2558 – 2563 ภัยแล้งเกิดขึ้นทุกๆ ปี ส่วนอุทกภัยหรือน้ำท่วมที่รุนแรงมากในปี 2554 เราจะเห็นว่ากว่า 70 ปีจึงเกิดขึ้น แต่มันจะกลายมาเป็น 10 ปีจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในอนาคต สิ่งนี้เองเป็นสัญญาณบอกกับมนุษย์ว่า ถ้าเราไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับ New Normal นี้ เราก็จะอยู่อย่างยากลำบาก ทุกคนต้องตระหนักและปรับตัว ฤดูแล้งยังจะปลูกข้าวแบบเดิมๆ อีกไหม จะตั้งถิ่นฐานหรือทำโครงการจัดสรรริมน้ำอีกจะได้ไหม ถึงเวลาแล้วที่ชุมชนต้องลุกมาใส่ใจในการจำลองความเสี่ยง รวบรวมฐานข้อมูลของความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จะได้รู้ว่าเราจะสู้ จะรับมือเพื่อลดทอนภัยพิบัติอย่างไร ความเข้มแข็งของชุมชนสำคัญมาก” รศ.ดร.เสรี กล่าว

 

7652 น้ำท่วมน้ำแล้งรุนแรง

          สำหรับการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ระหว่างที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังคลี่คลายลงแล้ว ก็คงเป็นเรื่องภัยที่เกิดจากการบริหารจัดการน้ำ

7652 สำเริง          นายสำเริง แสงภู่วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า วันนี้แหล่งน้ำทั้งหมดของประเทศ ทั้งที่เป็นอ่างเก็บน้ำกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต รวมทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เรามีปริมาณน้ำรวม 34,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคาดการณ์ว่าหากมีปริมาณฝนตกลงมาสิ้นสุดปลายฝนนี้ ณ วันที่ 1 พ.ย. 2563 เราน่าจะมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 46,900 ลูกบาศก์เมตร เทียบกับปี 2562 ก็มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน นั่นแสดงว่าปีหน้าเราก็ยังมีโอกาสเสี่ยงกับภัยแล้งในบางจุดเหมือนเดิม แต่ทั้งนี้ก็เป็นการคาดการณ์จากปริมาณน้ำจากฤดูฝนธรรมดา ยังไม่รวมถึงการคาดการณ์เมื่อเกิดพายุเข้ามาที่ประเทศไทย เรายังเบาใจไม่ได้ ถ้าโชคดีพายุเข้ามาทางภาคอีสานและภาคเหนือที่ยังขาดน้ำอยู่ ก็จะเกิดประโยชน์ แหล่งน้ำยังไม่เต็ม ลำน้ำมีพื้นที่ว่าง ดินยังขาดความชื้นสามารถอุ้มน้ำได้ แต่ถ้าในเดือน ก.ย. 63 ฝนตกหนักที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม โอกาสเกิดน้ำท่วมขังก็จะมีมาก ภาคกลางจึงมีความเสี่ยงอยู่ หลังจากนั้นในพื้นที่ภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงเช่นกัน สำหรับภาคตะวันออก อย่างจันทบุรี ตราด ก็คงหนีไม่พ้น อย่างไรก็ตามการคาดการณ์นี้จะเป็นประโยชน์ได้ ก็ต้องมีกลไกจากเครือข่ายประชาชนและชุมชน ที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวัง รายงานสภาพปัญหาจุดเสี่ยงต่างๆ มายังภาคราชการ เพื่อจะได้ประกาศเตือนอย่างทันท่วงที

 

7652 พื้นที่อุทกภัย

 

7652 แหล่งน้ำสะสม

 

          ในด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อเสริมศักยภาพการทำงานลดทอนปัญหาภัยพิบัติซ้ำซ้อนในกลุ่มเปราะบาง ได้มีการจัดทำ แอปพลิเคชัน D-2R Disaster Risk Assessment – Covid 19 ระบบติดตาม ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 ระดับพื้นที่หน่วยตำบล สำหรับเจ้าหน้าที่ อสม. ในเครือข่ายระดับพื้นที่ 22 แห่ง เช่น จ.น่าน สกลนคร ปราจีนบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช ปัตตานี และยะลา โดยแอปฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการประมวล และพัฒนาสถานการณ์จำลอง (Scenarios) เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในเร็วๆ นี้


AO7652

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!