WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Dead Storage

เช็กสต๊อก 'น้ำกิน-น้ำใช้' สู้ภัยแล้ง

มติชนออนไลน์ : วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

    ดูเหมือนว่าปัญหาภัยแล้ง ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด แต่กลับทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงแค่ขาดน้ำทำการเกษตร // แต่ลุกลามไปจนถึงขั้นบางพื้นที่ประกาศหยุดจ่ายน้ำประปาเพื่อบริโภคกันแล้ว

    ลองมาเช็กสต๊อกน้ำแต่ละเขื่อนที่สำคัญดูว่าเหลือเพียงพอใช้ได้อีกกี่วันกันแน่

    เริ่มจากเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ประสบปัญหาภัยแล้งวิกฤตน้ำแห้งขอด ใกล้ระดับจุดกักเก็บต่ำสุด (Dead Storage) 213.0 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) หรือ 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ทำให้ต้องลดแผนการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม เป็นต้นไป

   เหลือเพียวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. จนกว่าจะมีแผนการระบายน้ำเปลี่ยนแปลงไปอย่างอื่น

   นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลค่อนข้างวิกฤต น่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำต้นทุนเหลือน้อยมากกว่าทุกปี หากฝนไม่ตกก็จะลดการระบายน้ำลงไปเหลือวันละ 3 ล้าน ลบ.ม.

   นายปัญญา กัลปสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ทางเขื่อนป่าสักฯ แม้ว่าน้ำในเขื่อนพร่องไปมาก แต่ก็ได้ระบายวันละ 1.3 ล้าน ลบ.ม. แต่น้ำในเขื่อนที่มีอยู่จริงเพียง 25 ล้าน ลบ.ม.

   คาดว่าน่าจะอยู่ได้ถึงต้นสิงหาคมเท่านั้น

   นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ต้องบอกว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะเหลือใช้ได้จริงเพียง 340 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น เขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำวันละ 17 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่เหลือจะแบ่งออกเป็นใช้เพื่อการอุปโภค 30% หรือ 5 ล้าน ลบ.ม.ใช้เพื่อผลักดันน้ำเค็ม 30% หรือ 5 ล้าน ลบ.ม.และใช้เพื่อการเกษตรนาปี ประมง 40% หรือ 7 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่มีอยู่ทั้งหมดวันนี้จะใช้ได้เพียง 20 วัน เท่านั้น

    นายเอกศิษฐ์ ศักดิ์ดีธนาภรณ์ ผอ.โครงการเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กล่าวว่า ระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยวันละ 6 ซม. จนลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าวิกฤต 14.00 ม.รทก. ต่อเนื่องมาแล้วย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4

   ล่าสุดจากการปรับลดการระบายน้ำจากวันละ 32 ล้าน ลบ.ม. ลงมาเหลือ 28 ล้าน ลบ.ม. ของเขื่อนภูมิพลรวมกับเขื่อนสิริกิติ์ ทำให้เขื่อนเจ้าพระยาต้องควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยขอความร่วมมือเกษตรกร ไม่ให้ทำนาเพิ่มจากเดิมที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ในพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัดภาคกลางฝั่งตะวันตก

    สถานการณ์โดยรวม ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ระดับน้ำที่จุดวัดน้ำ C13 เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อยู่ที่ 13.23 ม.รทก. ต่ำกว่าจุดวิกฤต 14.00 ม.รทก. อยู่อีก 77 ซม. ต่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ที่ 4

   ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงอัตราการปล่อยน้ำอยู่ที่ 70 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อผลักดันน้ำเค็ม รักษาระบบนิเวศ และผลิตน้ำประปาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากภาพรวมดังกล่าว เขื่อนเจ้าพระยาจะมีน้ำจัดสรรเพื่อการเกษตรพื้นที่ 1.2 ล้านไร่ ได้อีกประมาณ 20 วัน หรือส่งน้ำได้ถึงต้นเดือนสิงหาคม 2558

    นายสมหวัง ปารสุขสาร ผู้อำนวยการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนแควน้อยเหมือนในปีที่ผ่านมาเลย คาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้ฝนจะเริ่มตกลงมา และช่วงกลางเดือนฝนจะตกชุกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่น้ำในเขื่อนสามารถใช้การได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และอย่าตื่นตระหนกว่าน้ำจะวิกฤตจนไม่เพียงพอ จนดึงน้ำเก็บกักไว้จะส่งผลกระทบโดยภาพรวม หากใครยังไม่เพาะปลูก ก็ขอให้เลื่อนการเพาะปลูกออกไปก่อน เพื่อลดความเสียหาย

    ล่าสุด เขื่อนแควน้อยเหลือน้ำเก็บกักในเขื่อนเพียง 100.730 ล้าน ลบ.ม. จากปริมาณน้ำที่สามารถรับได้ 939 ล้าน ลบ.ม. หรือเหลือเพียง 10.73% จากความจุของตัวเขื่อน น้ำสามารถใช้การได้ เพียง 57.730 ล้าน ลบ.ม. หรือ 6.15% เท่านั้น

    นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เหลือปริมาณน้ำใช้การได้ 600 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานได้ระบายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการประปาเพียง 5 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เท่านั้น ส่วนที่เหลือระบายเพื่อการรักษาระบบนิเวศหรือผลักดันน้ำเค็ม 8 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และส่งน้ำเพื่อการเกษตร 15 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน

   สำหรับ ปัญหาน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยนั้นก็ยังไม่มีปัญหา เพราะได้ส่งน้ำเพื่อผลักดันน้ำทะเลเข้าสู่แม่น้ำอยู่ทุกวัน อาจจะคุมไม่ได้บ้างในบางช่วง เพราะน้ำทะเลอาจจะขึ้นสูงสุด ในเดือนหนึ่งอาจมีสองครั้ง เราไม่มีปริมาณน้ำมากพอจะผลักดันน้ำเค็ม อย่างไรก็ตาม น้ำทะเลขึ้นสูงอาจทำให้เกิดน้ำเค็มชั่วคราวประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้น จึงถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลให้น้ำประปากร่อยหรือน้ำเค็มมาก

    "ปกติน้ำต้นทุนเพื่อการประปานั้นใช้เพียง 2,200 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี แต่น้ำเพื่อภาคการเกษตรใช้เยอะกว่าถึง 5,500 ล้าน ลบ.ม.เฉพาะในช่วงฤดูฝน ดังนั้น ปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ยังถือว่าเพียงพอ เรื่องน้ำกินน้ำใช้ไม่ใช่ปัญหา" นายเลิศวิโรจน์กล่าว

    นายเลิศวิโรจน์กล่าวว่า ได้หารือกับกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว คาดว่าจะเกิดฝนตกสม่ำเสมอในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และสามารถเติมน้ำในเขื่อนให้เพียงพอได้จนถึงช่วงรับมือฤดูแล้งหรือประมาณเดือนพฤศจิกายน 2558-เมษายน 2559 คิดเป็นปริมาณน้ำ 3,500 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์ปัจจุบันยังได้บริหารจัดการน้ำด้วยการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญไว้ที่ 1.การระบายน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค 2.การรักษาระบบนิเวศ และ 3.การส่งน้ำเพื่อการเกษตร

    นายธงชัย ระยะกุญชร ผู้อำนวยการกอง กองสื่อสารองค์กร การประปาส่วนภูมิภาค กล่าวว่า สถานการณ์โดยภาพรวมขณะนี้ดีขึ้น เพราะทางภาคอีสานมีฝนตกลงมาบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะยังมีบางช่วงน้ำไหลน้อยบ้าง เนื่องจากต้องประคองน้ำไว้ใช้จนกว่าฝนจะตกลงมาอีก ส่วนสาขาที่พบปัญหาน้ำเค็ม ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา บางปะกง และบางคล้า โดยเฉพาะบางคล้า เป็นปัญหาต้องต่อท่อจากชลบุรีมาช่วยในการผันน้ำ พื้นที่ชลบุรีในสัปดาห์ก่อนมีการปล่อยน้ำเป็นเวลา แต่ขณะนี้ก็สามารถปล่อยน้ำได้ 24 ชั่วโมงแล้ว เพราะมีการขุดร่องให้น้ำไหลมาในอ่างเก็บน้ำและจะใช้ได้อีกเป็นเวลา 1 เดือน ส่วนภาคอีสานในจังหวัดขอนแก่น ถ้าฝนไม่ตกก็จะมีปัญหามาก แต่ขณะนี้ก็เริ่มมีฝนลงมาแล้ว

    สำหรับ การแก้ไขปัญหาในระยะกลางและระยะยาวนั้น ในทุกพื้นที่มีการขุดบ่อบาดาล เพื่อรองรับใน 1 เดือนข้างหน้า พื้นที่ จ.สระบุรี จะมีปัญหาในพื้นที่ อ.หนองแค น้ำที่มีอยู่ยังสามารถประคองสถานการณ์ไปได้อีกถึง 2 เดือน แต่หลังจากนี้จะใช้วิธีสูบน้ำจากที่อื่นมาช่วยกักเก็บ พื้นที่ที่มีปัญหามากคือ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยเฉพาะคลองระพีพัฒน์น้ำแห้งมาก ต้องใช้การผันน้ำเร่งด่วนจากรังสิตมาช่วย เพราะเรามีท่อเชื่อมกันอยู่จึงสามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนได้

     นอกจากนี้ ในหลายพื้นที่ในเขตธัญบุรียังน่าเป็นห่วง ต้องใช้รถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้กับพื้นที่ที่ไม่สามารถปล่อยน้ำได้จริงๆ

     ส่วนมาตราการแก้ไขเร่งด่วนในระยะยาวขณะนี้ได้มีการคุยกันว่า เราจะผันน้ำจากเจ้าพระยาลงมายังคลองระพีพัฒน์ ก็จะทำให้แก้ปัญหาในเขตธัญบุรีตรงนี้ได้

     แต่ยอมรับว่าอาจแก้ปัญหาได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!