WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBธนวรรธน พลวชย copy copyม.หอการค้า เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค.อยู่ที่ 80.6 ลดลงรอบ 3 เดือน

    ม.หอการค้า เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค.62 ลดลงอยู่ที่ 80.6 จาก 82 ลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังกังวลสงครามการค้า - Brexit และการเมืองในปท. ฟากราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำบั่นทอนความเชื่อมั่น ด้านตัวเลขอื่นทั้งดัชนีศก.โดยรวม - ดัชนีหางาน - ดัชนีรายได้ ร่วงยกแผง แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 6 เดือนข้างหน้าดีขึ้นเหตุคาดหวังเศรษฐกิจฟื้นหากไม่มีปัจจัยลบเพิ่มเติม

      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานแถลงข่าว ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมี.ค.ปี 62 ว่า ผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2562 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ประกอบกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาสงครามการค้าและปัญหา Brexit

       ดัชนี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากระดับ 82.0 มาอยู่ที่ระดับ 80.6 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังฟื้นตัวขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้ ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปัจจุบัน สถานการณ์ทางการเมืองของไทย ตลอดจนสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะเรื่อง Brexit ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงละความผันผวนสูง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม และความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยในอนาคตยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดลงไปอีก

       ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนี ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 67.6 75.8 และ 98.4 ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ ที่อยู่ในระดับ 69.0 77.1 และ 99.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ(ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตมากนัก

    สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 55.7 มาอยู่ที่ระดับ 54.6 แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่ดีเท่าที่ควร ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต (ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 93.6 มาอยู่ที่ระดับ 92.0 ซึ่งยังปรับตัวอยู่ใกล้เคียงระดับ 100 (ซึ่งเป็นระดับปกติ) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นในอนาคตหากไม่มีปัจจัยลบเพิ่มเติมมากไปกว่าปัจจุบัน

      การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องมาความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมืองในอนาคตเป็นสำคัญ อีกทั้งผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงสูงจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และ Brexit ตลอดจนราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!