WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDสุพันธุ์ มงคลสุธี

กกร.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เป็น ติดลบ 3-5% หลังคาด Q1/63 ติดลบ 5%

    กกร.หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เป็น ติดลบ 3-5% จากเดิมคาดโต 1.5-2% คาด Q1/63 เสี่ยงติดลบกว่า 5% ฟากส่งออกปีนี้ติดลบ 5-10% ส่วนเงินเฟ้อคาดอยู่ที่ 0 ถึง -1.5% มองศก.โลกปี 63 เข้าภาวะถดถอย ส่วน CPTPP คาดได้ข้อสรุปใน 1 เดือน

 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกกร.ประจำเดือนพฤษภาคม มองเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในปี 2563 จะติดลบในกรอบ 3-5% จากช่วงเดือนมีนาคมที่เคยคาดการณ์โต 1.5-2%

    ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวดีกว่าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่าจะติดลบ 6-7% เนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ มีมาตรการเยียวยาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้คาดว่าเร็วๆนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส1/63 ซึ่งคาดว่าน่าจะติดลบกว่า 5%

     ด้านตัวเลขส่งออกปีนี้ยังคงคาดการณ์จากเดือนเมษายนว่าจะติดลบ 5-10% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ช่วง 0.0 ถึงติดลบ 1.5% โดยตัวเลขต่างๆ อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ ด้านภาครัฐทยอยผ่อนปรนการดำเนินกิจการเพิ่มเติมตามลำดับ ซึ่งที่ประชุมกกร. มองว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้น หรือฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด และทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะหดตัวน้อยลงจากในช่วงครึ่งปีแรก

กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ของ กกร.

          %YoY          ปี 2562          ปี 2563(ณ มี.ค. 63)          ปี 2563(ณ พ.ค. 63)
          GDP             2.4              1.5-2.0                     -5.0% ถึง -3.0%
          ส่งออก          -2.7            -2.0 ถึง 0.0                -10.0% ถึง -5.0%
          เงินเฟ้อ          0.7              0.8-1.5                   -1.5% ถึง 0.0%

      สำหรับ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศ ฉุดเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ระบุถึงการหดตัวลงของแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกด้าน มีเพียงการใช้จ่ายของผู้บริโภคในหมวดสินค้าไม่จำเป็นที่ยังขยายตัวได้

     ด้านการส่งออกที่รวมทองคำค่อนข้างทรงตัว และเมื่อมองต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 2 โดยเฉพาะผลกระทบจากโควิด-19 ที่รุนแรงในเดือนเมษายน เครื่องชี้เศรษฐกิจจะยิ่งสะท้อนภาพการหดตัวที่ลึกขึ้น จากผลกระทบที่ขยายเป็นวงกว้างทั้งในภาคบริการ ภาคการผลิต รวมทั้งการจ้างงานและกำลังซื้อของประชาชน ซึ่งมาตรการของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ มีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่ง

       ดังนั้น คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ยังอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อเนื่องต่อการส่งออกและภาคการผลิตในไทย หลังเศรษฐกิจหลักในโลกได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และหลายประเทศสถานการณ์ยังไม่ยุติ ส่วนประเทศไทยแม้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จนภาครัฐทยอยผ่อนปรนให้กิจการบางประเภทกลับมาเปิดให้บริการ แต่อยู่ภายใต้แนวปฏิบัติที่ระมัดระวังโดยคงมาตรการ Social Distancing ไว้ ทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การประกอบกิจการของภาคธุรกิจบนภาวะปกติใหม่ (New Normal) ยังเต็มไปด้วยความความท้าทาย

 ส่วนประเด็นของข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP กกร.มีความเห็นว่า ขอให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยให้มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเนื้อหา และจุดยืนในการเจรจาครั้งนี้ ว่าประเทศจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง เพื่อจะได้เสนอข้อมูลให้ภาครัฐได้ทราบจุดยืนที่ชัดเจนมากขึ้นซึ่ง กกร. มีคณะทำงานที่มาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะประชุมเพื่อหาข้อสรุปในประเด็นด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CPTPP ภายใน 1 เดือน

      นอกจากนี้กกร. ขอขอบคุณภาครัฐที่เห็นชอบตามข้อเสนอแล้ว 11 มาตรการ ทั้งด้านภาษี การเงิน แรงงาน สาธารณูปโภค ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเยี่ยวยาและฟื้นฟูภาคธุรกิจและอยู่ระหว่างดำเนินการ 11 มาตรการ สำหรับมาตรการที่เหลือ ทาง กกร. จะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เร่งรัดดำเนินการต่อไป นอกจากนี้กกร. ยังสนับสนุนให้ภาคเอกชนและผู้บริโภคช่วยซื้อสินค้าเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่างๆ

      นอกจากนี้ นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยังเปิดเผยว่า คาดภาครัฐบาลจะออกมาตรการปลอดล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจรอบ 2 ได้ในช่วง กลางเดือนพฤษภามคมนี้ ซึ่งน่าจะมีร้านค้าขนาดใหญ่ รวมถึงห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทย และวันพรุ่งนี้(8พ.ค.63)กระทรวงสาธารณสุขจะเชิญผู้ประกอบการแต่ละสมาคม เพื่อหารือมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นมาตรการในทั้งประเทศสามารถปฎิบัติตามได้

 

 

      นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศ ฉุดเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก บ่งชี้ถึงการหดตัวลงของแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกด้าน มีเพียงการใช้จ่ายของผู้บริโภคในหหมวดสินค้าจำเป็นที่ยังขยายตัวได้ ขณะที่การส่งออกที่รวมทองคำค่อนข้างทรงตัว และเมื่อมองต่อไปในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนเมษายนรุนแรงขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เครื่องชี้เศรษฐกิจจะยิ่งสะท้อนภาพการหดตัวที่ลึกขึ้น จากผลกระทบที่ขยายเป็นวงกว้างทั้งในภาคบริการ ภาคการผลิต รวมทั้งการจ้างงานและกำลังซื้อของประชาชน ซึ่งมาตรการของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ มีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่ง

      ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลาย จนภาครัฐทยอยผ่อนปรนให้กิจการบางประเภทกลับมาเปิดให้บริการภายใต้แนวปฏิบัติที่ระมัดระวังโดยคงมาตรการ Social Distancing ไว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การประกอบกิจการของภาคธุรกิจบนภาวะปกติใหม่ (New Normal) ยังเต็มไปด้วยความความท้าทาย ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจหลักในโลกล้วนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และหลายประเทศสถานการณ์ยังไม่ยุติ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะถดถอยในปี 2563 ซึ่งจะเป็นแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อการส่งออกและภาคการผลิตในไทย

       ภายใต้สมมติฐานที่ไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศ และภาครัฐทยอยผ่อนปรนการดำเนินกิจการเพิ่มเติมตามลำดับ ที่ประชุม กกร. มองว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นหรือฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด และทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะหดตัวน้อยลงจากในช่วงครึ่งปีแรก สำหรับทั้งปี 2563 กกร. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในกรอบ -5.0% ถึง -3.0% ดีกว่าที่ IMF ประเมินไว้ว่าจะหดตัว -6.7% เนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ มีมาตรการเยียวยาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ขณะที่ กกร. คงคาดการณ์เมื่อเดือน เม.ย. ที่มองว่า การส่งออกในปี 2563 อาจจะหดตัว -10.0% ถึง -5.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ในกรอบ -1.5% ถึง 0.0%

 

กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ของ กกร.

%YoY

ปี 2562

ปี 2563

(ณ มี.ค. 63)

ปี 2563

(ณ พ.. 63)

GDP

2.4

1.5-2.0

-5.0% ถึง -3.0%

ส่งออก

-2.7

-2.0 ถึง 0.0

-10.0% ถึง -5.0%

เงินเฟ้อ

0.7

0.8-1.5

-1.5% ถึง 0.0%

     ในประเด็นของ CPTPP นั้น กกร. มีความเห็นว่า ขอให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยให้มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเนื้อหา และจุดยืนในการเจรจาครั้งนี้ ว่าประเทศจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง เพื่อจะได้เสนอข้อมูลให้ภาครัฐได้ทราบจุดยืนที่ชัดเจนมากขึ้น

     ทั้งนี้ กกร. มีคณะทำงานที่มาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะประชุมเพื่อหาข้อสรุปในประเด็นด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CPTPP ภายใน 1 เดือน

     ตามที่ทาง กกร. ได้นำเสนอมาตรการต่างๆ ทั้งด้านภาษี การเงิน แรงงาน สาธารณูปโภค ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเยี่ยวยาและฟื้นฟูภาคธุรกิจจากภัย COVID-19 จำนวน 34 มาตรการ ต้องขอบคุณภาครัฐที่เห็นชอบตามข้อเสนอ กกร. แล้ว 11 มาตรการ และอยู่ระหว่างดำเนินการ 11 มาตรการ สำหรับมาตรการที่เหลือ ทาง กกร. จะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เร่งรัดดำเนินการต่อไป

เพื่อเป็นการช่วยเกษตรไทย กกร. สนับสนุนให้ภาคเอกชนและผู้บริโภคช่วยซื้อสินค้าเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่างๆ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!