WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

FITสพนธ มงคลสธดัชนี อุตร่วงต่ำสุดรอบ 16 เดือน'สุพันธุ์'จวกทีมศก.รัฐสางปัญหาช้า/หั่นยอดผลิตรถลงแสนคัน

    ศูนย์ฯ สิริกิติ์ * สอท.มึนดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดรอบ 16 เดือนแตะระดับ 84.0 ผลจากภัยแล้งคุกคามกำลังซื้อหด  ผู้ประกอบการกังวลเศรษฐกิจในประเทศ จี้รัฐเร่งแก้ไข "สุพันธุ์จวกปัญหาเกิดจากทีมเศรษฐกิจรัฐ เน้นดูแลเศรษฐกิจมหภาค (แมคโคร) เมินในภาคของไมโคร ด้านอุตฯ รถยนต์หั่นยอดผลิตเหลือ 2.05 ล้านคัน

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน มิ.ย.2558 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับลดลงจากเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ระดับ 85.4 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 16 เดือนตั้งแต่ มี.ค.57 โดยมีปัจจัยหลักมาจากผู้ประกอบการกังวลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ลุกลามในหลายพื้นที่ ที่ส่วนผลต่อรายได้เกษตรกรซึ่งเป็นกำลังซื้อสำคัญของภาคอุตสาหกรรมลดลง

   "ใน 3 เดือนข้างหน้าคาดการณ์ว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 99.0 ลดลงจากระดับ 100.9 ในเดือน พ.ค. เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่ายอดคำสั่งซื้อ ยอดขายโดยรวม รวมถึงปริมาณการผลิตและผลประกอบการยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะมีทิศทางอย่างไร ขึ้นอยู่กับรัฐจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ จะต้องดูว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้ โดยเฉพาะภาคการเกษตรและวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี)" นายสุพันธุ์กล่าว

     นายสุพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจนั้น เป็นการตัดสินใจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่ในแง่ของภาค เอกชนต้องการให้ข้อเสนอต่างๆ ได้รับการตอบรับจากทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว เพราะที่ผ่านมามีความล่าช้า โดยเฉพาะการช่วยเหลือเอสเอ็มอีทั้งในเรื่องของภาษีและการนิรโทษกรรม

    "ในช่วงครึ่งปีหลังนั้น ขึ้นอยู่ที่ทีมเศรษฐกิจว่าจะมีมาตรการอะไรออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาเอกชนส่งสัญญาณทุกเดือน ว่าทีมเศรษฐกิจควรจะอุด หนุน หรือดูแลราคาสินค้าให้กับ ภาคการเกษตรบ้าง แต่ทีมเศรษฐ กิจก็ไม่ได้มีมาตรการในเรื่องนี้ออกมาอย่างชัดเจน และเห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลยังเน้นดูแลเศรษฐกิจมหภาค (แมคโคร) มากกว่า แต่ไม่ได้ดูแลในจุลภาค (ไมโคร) ที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ถือว่าระดับไม โครมีปัญหาค่อนข้างรุนแรง" นายสุพันธุ์กล่าว

    นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ได้ปรับประมาณการผลิต รถยนต์ในปี 2558 ลงเหลือ 2,050,000 คัน จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2,150,000 คัน ซึ่งส่วนที่ลดลงนั้นเป็นการผลิตเพื่อขายในประ เทศที่เดิมตั้งเป้าไว้ที่ 100,000 คัน ล่าสุดได้ปรับเป้าลดลงเหลือ 850,000 คัน หรือคิดเป็น 41.46% ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงไว้ที่อัตราเดิมคือ 1,200,000 คัน ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลด้านเศรษฐกิจในประเทศ และปัญหาหนี้ครัวเรือนทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อซื้อรถมากขึ้น

    สำหรับ การผลิตรถยนต์ ม.ค.-มิ.ย.58 มีทั้งสิ้น 935,251 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.77% โดยพบว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศ มิ.ย.มีจำนวน 60,217 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 18.4% รวม 6 เดือนแรกปีนี้มียอดขายรวม 369,0004 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 16.3% ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป มิ.ย. 76,774 คัน ลดลงจาก มิ.ย.57 จำนวน 26.14% รวมส่งออก 6 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 576,073 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 2.86%.

ศก.ไทยสำลักพิษภัยแล้งเอกชนจี้รัฐบาลเร่งใช้งบขับเคลื่อน-ทำแผนอุ้มเกษตร

     บ้านเมือง : 'บัณฑูร'ห่วงภัยแล้งฉุดจีดีพีโตต่ำกว่า 3% ยอมรับธุรกิจแบงก์ได้รับผลกระทบจาก ศก.ชะลอตัว ด้าน ส.อ.ท. รับภัยแล้งฉุดเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.ลดต่อเนื่อง อยู่ที่ 84.0 เหตุผู้บริโภคชะลอจับจ่าย และภัยแล้งคุกคาม หวังรัฐบาลเร่งใช้งบขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งเป็นปัจจัยลบสำคัญ ที่กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หลังจากที่ประเทศไทยพบกับปัญหาลบหลายด้านรุมเร้า ทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมประมง ปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และปัญหามาตรฐานทางการบิน ดังนั้นหากสถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากกว่านี้ อาจทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่า 3% ได้ แต่ขณะนี้ยังคงมองว่าเศรษฐกิจโตได้ 3% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่น่าพอใจ

    สำหรับ ปัญหาภัยแล้งถือว่าน่ากังวล เพราะกระทบทั้งประชาชนที่ไม่มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค และเกษตรกร และคงจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ แต่ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้ไม่ได้เกิดวิกฤติเหมือนปี 2540 เพียงแต่เศรษฐกิจแผ่วลงและอาจจะสะดุดบ้าง แต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและอดทนที่จะฝ่าภาวะปัญหาในช่วงนี้ไปให้ได้ และต้องให้กำลังใจรัฐบาลในการแก้ปัญหา

    ส่วนการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในครึ่งปีหลัง ยอมรับว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กำไรของธนาคารก็คงจะเติบโตได้น้อย ขณะที่การปล่อยสินเชื่อคาดว่าจะโต 6% ซึ่งธนาคารคงจะประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่า จะต้องตั้งสำรองเพิ่มอีกหรือไม่ หากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น โดยธนาคารได้ดูแลและประคองลูกค้าเดิม โดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้สามารถประคองตัวรอจนเศรษฐกิจฟื้นตัว ส่วนลูกค้าใหม่คงมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า สินเชื่อที่ปล่อยไปจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจได้ ส่วนภาวะอัตราดอกเบี้ย คาดว่า จะทรงตัวในระดับต่ำ ซึ่งก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทอ่อนค่า และทำให้การส่งออกได้ประโยชน์มากกว่าเดิมด้วย

     นายบัณฑูร กล่าวถึงปัญหาฟองสบู่ในตลาดหุ้นจีนที่ผ่านมาว่า มีผลกระทบต่อธนาคารทุกแห่งในจีน ซึ่งธนาคารกสิกรไทย ก็ระมัดระวัง เพราะรู้ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลง โดยตั้งเป้าหมายจะเป็นธนาคารท้องถิ่นที่จดทะเบียนในประเทศจีน และรับฝากเงินหยวนได้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2558 ว่าอยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.4 ในเดือน พ.ค.58 ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และปัญหาภัยแล้งที่ลุกลามหลายพื้นที่ จนส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรที่เป็นกำลังซื้อสำคัญของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความกังวลปัญหาเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ผู้ประกอบการจึงระมัดระวังในการประกอบการและขยายการลงทุน อย่างไรก็ตาม ด้านการค้าชายแดนยังขยายตัวดีและมีส่วนช่วยพยุงการส่งออก ซึ่งภาคเอกชนหวังว่าหากรัฐบาลเร่งการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงที่เหลือปีงบประมาณ 2558 ก็จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ซึ่งควรหาทางเพิ่มการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ พร้อมจัดหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และช่วยเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการให้สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

   นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน ว่า แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำลง 5-10% โดยนำหลักการ 3 Rs (Reduce Reuse Recycle) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ปัจจุบันในเขตวิกฤติน้ำบาดาล 7 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร) มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมประมาณ 1.2 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งมีปริมาณใช้จริงเพียงประมาณ 200,000 ลบ.ม../วัน จึงควรรณรงค์ให้ผู้ประกอบการที่สามารถใช้น้ำบาดาลและยังมีปริมาณน้ำบาดาลเหลือใช้หันมาใช้น้ำบาดาลมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำประปา ทำให้สามารถนำน้ำประปาส่วนที่ผู้ประกอบการลดการใช้ได้ใช้ในการอุปโภคบริโภคสำหรับประชาชนมากขึ้น 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!