WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITสพนธ มงคลสธส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นฯ ส.ค.58 ปรับลงต่อเนื่อง แต่คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้น

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมในเดือนส.ค.58 อยู่ที่ระดับ 82.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 83.0 ในเดือนก.ค. ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

   ดัชนี ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในเดือนส.ค. ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน จากความกังวลต่อภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ การหดตัวของการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ประสบปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ทำให้การใช้จ่ายจึงเป็นไปอย่างระมัดระวัง ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

    อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ การช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และภาคเกษตร ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภค และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

      ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.2 ในเดือนก.ค. โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

    อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนส.ค. ได้แก่ เร่งออกมาตรการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัสดุและปัจจัยการผลิต เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในการใช้ซอฟท์แวร์ทางบัญชีที่ได้มาตรฐาน และมีการฝึกอบรมการใช้อย่างถูกต้อง รวมถึงจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง และสนับสนุนการขยายฐานการส่งออกสินค้า SMEs และให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงช่องทางการตลาดในต่างประเทศ

ดัชนี เชื่อมั่นอุตฯต่ำสุดรอบ 75 ด. คาดฟื้นหลัง'สมคิด'กระตุ้นศก.

    แนวหน้า : นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนสิงหาคม ว่า อยู่ที่ระดับ 82.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 83.0 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งปรับตัวลดลง เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และเป็นค่าดัชนีฯ ที่ต่ำสุดในรอบ 75 เดือนนับตั้งแต่มิถุนายน 2552 จากความกังวลต่อภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ การหดตัวของการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ประสบปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ทำให้การใช้จ่ายจึงเป็นไปอย่างระมัดระวัง ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ ในการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ การช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และภาคเกษตร ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภค และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

    ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.2 โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ และเชื่อว่าผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่นฯ เดือน ก.ย.น่าจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ที่นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจกำลังเริ่มขับเคลื่อน

     "ช่วงสำรวจ ส.ค.ปลายเดือนเพิ่งเปลี่ยน ครม.ใหม่อาจยังไม่ชัดแต่ก็ดูจากดัชนีเชื่อมั่นล่วงหน้าที่เห็นชัดว่ามีความเชื่อมั่นเริ่มดีขึ้น เม็ดเงินกระตุ้นต่างๆ ที่ออกเป็นแพ็คเกจของรัฐบาล ขณะนี้น่าจะเริ่มทยอยออกมามากขึ้นเชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศก็มีโอกาสจะเห็นอะไรที่ดี และในเดือนกันยายนนี้เริ่มมีการจัดกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคเอกชน และสมาคมต่างๆ มีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจเพื่อให้เกิดการต่อยอดในการลงทุนต่อไป จึงทำให้มั่นใจว่าเดือนกันยายนตัวเลขดัชนีจะมีการปรับตัวขึ้น" นายสุพันธุ์ กล่าว

     สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2558 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ อยู่ที่ระดับ 80.8 ปรับตัวลดลงจาก 81.7 ในเดือนกรกฎาคม อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น, อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน, อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ระดับ 89.8 ลดลงจากระดับ 90.2 ในเดือนกรกฎาคม โดยอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น

     นายสุพันธ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

     ส่วนกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25% มองว่าจะไม่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากก่อนหน้านี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปมากถึง 10% ทำให้การแข็งค่าระดับนี้เป็นระดับที่ยังสามารถแข่งขันได้ เพราะค่าเงินเป็นไปตามทิศทางของภูมิภาค โดยประเมินว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

     อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในเดือนสิงหาคม ได้แก่ เร่งออกมาตรการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัสดุและปัจจัยการผลิต เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในการใช้ Software ทางบัญชีที่ได้มาตรฐานและมีการฝึกอบรมการใช้อย่างถูกต้อง รวมถึงจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชายแดนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง และสนับสนุนการขยายฐานส่งออกสินค้า SMEs และให้ความรู้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงช่องทางการตลาดในต่างประเทศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!