WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FTIวลลภ วตนากสภาอุตฯเชื่อมาตรการรัฐกระตุ้นศก.ปีหน้าโต 3.5% ชี้ปัจจัยเสี่ยงภัยแล้งฉุด

    แนวหน้า : ผู้บริหาร สอท. มองปี59 เศรษฐกิจไทยโต 3.5% จับตาภัยแล้งสงครามตะวันออกกลาง ยืดเยื้อ อาจเป็นปัจจัยฉุด ขณะที่ภาคส่งออกฟื้นแน่ เพราะฐานตัวเลขปีนี้ต่ำ

    นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ได้คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ปี 2559 ขยายตัว 3.5% จากปีนี้ คาดว่าขยายตัว 2.5-3% เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะส่งผลตั้งแต่ปลายไตรมาส 4 ของปีนี้ จนถึงปีหน้า โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ(เมกะโปรเจกท์) จะส่งผลทำให้เกิดเม็ดเงินการลงทุน และการจ้างงานเป็นจำนวนมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ ผลกระทบภัยแล้ง และปัญหาสงครามในะวันออกกลางที่อาจบานปลาย จนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก

    การส่งออกปีหน้า จะดีขึ้นกว่าปีนี้แน่นอน เพราะปีนี้ฐานอยู่ในระดับต่ำ คาดว่า ติดลบ 5% แต่ยังไม่สามารถคาดการณ์เป็นตัวเลขได้เพราะต้องดูปัจจัยเสี่ยงจากการการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และที่สำคัญผลกระทบจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(ทีพีพี) ที่จะเริ่มใช้ปีหน้า ต้องติดตามว่า จะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างไรบ้าง เพราะอาจเสียเปรียบเวียดนาม สิงคโปร์ ที่ร่วมลงนามในทีพีพีไปแล้ว รวมทั้งต้องติดตามภาวะสงครามด้วยว่า จะยืดเยื้อหรือรุนแรงแค่ไหน

     นายวัลลภ กล่าวว่า ผลกระทบทีพีพีเบื้องต้นมองว่ากลุ่มสินค้าสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีอัตราภาษีสูงที่สุด โดยเครื่องนุ่งห่มมีภาษีอยู่ในระดับ 17.8-32.5% และเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ 7% ทำให้ประเทศเวียดนามที่เป็นสมาชิกทีพีพี จะเสียภาษีเป็น 0% ทันทีขณะที่ประเทศไทยจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง ทั้งนี้คาดว่าผลกระทบที่เกิด ขึ้นจะเริ่มเห็นได้ในปีหน้า เพราะหากผู้นำเข้าจะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากเวียดนาม จะต้องเริ่มทยอยสั่งซื้อตั้งแต่ปีหน้า เพื่อทำความรู้จักกับคู่ค้าใหม่ และเมื่อข้อตกลง ทีพีพีมีผลบังคับใช้ก็จะสามารถเดินหน้าซื้อขายได้เต็มตัว

      ประเทศที่ไทยจะสูญเสียตลาดให้กับประเทศคู่แข่งมากที่สุดจะมีอยู่ 3 ประเทศ ที่ไทยไม่มีข้อตกลงเอฟทีเอ ได้แก่ สหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโก โดยเฉพาะสหรัฐที่มีสัดส่วนส่งออกจากไทยถึง 10% โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตไทยจะเสียเปรียบประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนอุตสาหกรรมบริการจะเสียเปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซียนายวัลลภกล่าว

     ส่วนกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ระบุว่า รัฐบาลจะหยุดออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกเว้นมีความจำเป็นนั้น มองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ออกมา เพียงพอแล้ว โดยสิ่งสำคัญ คือ จะต้องดำเนินการอย่างไรให้เห็นผล และนโยบาย 4 ข้อ ที่นายสมคิด ประกาศให้เดินหน้า เช่น การเพิ่มนวัตกรรม การปรับนโยบายการเงินการคลัง การกระตุ้นสู่เศรษฐกิจสู่ภูมิภาค หากดำเนินการได้จริง เชื่อว่า จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจระยะยาวของไทยแน่นอน ซึ่งขณะนี้ถือว่า รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว โดยเฉพาะสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเรียกความเชื่อมั่นทุกภาคฝ่ายขึ้นมา จะส่งผลให้เกิดการใช้จ่าย การลงทุน

     นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. กล่าวว่าเบื้องต้นสอท.ได้ตั้งเป้าหมาย การผลิตรถยนต์ปี 2559 อยู่ที่ 2-2.1 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 5% เทียบจากปีนี้อยู่ 1.95-2 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ เพื่อการจำหน่ายในประเทศ 800,000-850,000 คัน และผลิตเพื่อการส่งออก 1.2- 1.25 ล้านคัน โดยคาดหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นเนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายปัจจัยสำคัญ ในการซื้อรถยนต์ แต่หากราคาสินค้าเกษตร ยังอยู่ในระดับต่ำ จะส่งผลกระทบต่อยอดผลิตรถยนต์ ส่วนภาคการส่งออก ยังประเมินว่า ขยายตัวได้ โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก และรถอีโคคาร์ ที่ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!