WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITสพนธ มงคลสธกกร.เปิดทางให้ภาครัฐเข้าร่วมเจรจาTPP หวังหนุนเศรษฐกิจและการค้าต่างชาติ

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ใน ฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และ สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการกกร. ว่า มีสมาชิก 80-90% เห็นด้วยให้ภาครัฐ เข้าร่วมเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้น แปซิฟิก(TPP) เพราะ เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ของไทย เพราะประเทศสมาชิกของ TPP ส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าหลักของไทย  หากไทยไม่เข้าร่วม TPP คงไม่ถึงขั้นนักลงทุนต่างชาติถอนการลงทุน แต่อาจกระทบในง่ของการเข้ามาลงทุนใหม่มากกว่า

 นอกจากนี้ กกร.เห็นว่าภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันหามาตรการเยียวยาและช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมTPP  รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ไม่เข้าร่วมด้วย เช่น กลุ่มปศุสัตว์ รวมถึงกลุ่มยา และเครื่องสำอางค์ เพื่อให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าต่อไป ได้ อาจนำเงินกองทุนของภาครัฐที่ตั้งขึ้นมา เพื่อเยียวยาผล กระทบจากการเข้าร่วม FTA ซึ่งยังมีเงินเหลืออยู่เข้ามาใช้ รวมถึงการช่วย เหลือทางด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร โดยให้แต่ละภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบกลับไปพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป 

   TPP เป็นข้อตกลงทางการค้าใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี ครองสัดส่วนประมาณ 40% ของขนาดเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศ สหรัฐ ออสเตรเลีย  บรูไน  แคนาดา  ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม โดย TPP จะส่งผลให้มีการปรับลดมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน  ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ คาดได้ข้อสรุป การศึกษาผลดีและผลเสียของการเข้าร่วม TPP ใน 1-2 เดือนนี้ โดยมีแนวโน้ม ที่ไทยจะเข้าร่วมความร่วมมือดังกล่าว แต่ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขที่เหมาะ สมด้วย 

  นายสุพันธุ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุม กกร.ยังได้ประเมินภาวะ เศรษฐกิจไทยในปี 59 ว่ายังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อาจกดดันการฟื้นตัวของภาคการส่งออก และราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาภัยแล้ง ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้น ตัวของการบริโภค ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้จึงขึ้นอยู่กับการเร่งดำเนินนโยบายของภาครัฐ ซึ่งหากเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และสามารถลงทุน ได้ ตามเป้า ในครึ่งหลังของปี 59 ก็จะเห็นเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น และทำให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น 

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย                                                                                   

จับตาวาระกกร.หนุนรัฐร่วม TPP พาณิชย์แจงไทยบุก FDI ตปท.พุ่ง

       ไทยโพสต์ - กกร.นัดถกวาระสำคัญ คาดหนุนรัฐบาลเร่งเข้าร่วม TPP โดยเร็ว หวั่นช้าเสียโอกาสแข่งขัน พาณิชย์แจงคนไทยขนเงินลงทุนนอกโดยตรง ช่วง 9 เดือนพุ่ง 143%

     นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในวันที่ 9 ก.พ.นี้ จะมีการรับทราบคณะทำงานของ กกร.เกี่ยวกับการเข้าร่วมในข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) โดยผลเบื้องต้นภาคเอกชนสนับสนุนให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมเป็นภาคีดังกล่าวโดยเร็ว ขณะที่ความตกลงพันธมิตรรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควรทำควบคู่กันไป

     แหล่งข่าวจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ส่งสัญญาณชัดเจนว่ากำลังติดตามท่าทีไทยในการเข้าร่วม TPP เพราะจะมีผลต่อการตัดสินใจการลงทุนในไทยค่อนข้างมาก เพราะหากไทยไม่เข้าร่วม จะทำให้ฐานการผลิตและส่งออกในไทยมีความเสี่ยงไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นการลงทุนใหม่ๆ อาจถูกย้ายไปยังเวียดนาม และหากอินโดนีเซียและฟิลิปินส์เข้าร่วม จะยิ่งกดดันไทยมากขึ้น

      ด้าน น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สถิติการลงทุนในต่างประเทศของคนไทย เฉพาะการลงทุนโดยตรง (FDI) ช่วง 9 เดือน ปี 2558 มีมูลค่า 6,817 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 143% ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนรูปแบบการเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศ

       โดยแหล่งลงทุนสูงสุดอยู่ที่อินโดนีเซีย เพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบและเป็นตลาดรองรับขนาดใหญ่ รองลงมาคือ กัมพูชา ที่มีการเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และยังมีการลงทุนใน สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งในยุโรปและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!