WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaAดัชนีFBCI

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ(FBCI) ไตรมาส 2 ลดลง จี้รัฐเร่งกระจาย- ฉีดวัคซีน

        สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ, สแตนลีย์ กัง ประธานหอการค้าต่างประเทศ ประจำประเทศไทย จัดการแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ไตรมาส 2 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ :

    “จากการสำรวจหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 35 ประเทศ รวม 70 ราย ระหว่างเดือนพ.ค.-ก.ค. ที่ผ่านมา หรือในไตรมาสที่ 2 ของปี2564 ในภาพรวมกว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีทิศทางที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งภาวะเศรษฐกิจไทย กำลังซื้อในประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทย มุมมองต่อภาคบริการของไทย สภาพการจ้างงาน และมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังแย่ลงและจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

           โดยมีประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลุ่มตัวอย่างต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ การบริหารจัดการวัคซีนที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามกำหนดและไม่วัคซีนไม่เพียงพอ การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่รุนแรงกระจายไปทั่วประเทศและควบคุมไม่ได้ การเข้าถึงแหล่งทุนที่ที่ลำบากทำให้เอกชนขาดสภาพคล่อง

           การว่างงานจนส่งผลต่ออำนาจการซื้อ ข้อจำกัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิดเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและประกอบธุรกิจ ธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาและการปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาไทยได้

           ขณะที่ผลการสำรวจด้านธุรกิจในภาพรวมในปัจจุบันเพื่อเทียบกับปีก่อนพบว่าส่วนใหญ่แย่ลงทั้งรายได้ของธุรกิจ  ราคาสินค้าและบริการ คำสั่งซื้อสินค้าและบริการ ผลกำไร การลงทุน ค่าใช้จ่าย สภาพการจ้างงาน สภาพคล่องธุรกิจ เป็นต้น และยังเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังเห็นว่าสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ก็ยังแย่ลงและยังแย่เท่าเดิม โดยประเด็นปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คือคำสั่งซื้อจากในและต่างประเทศลดลง ธุรกิจขาดสภาพคล่อง สถานการณ์โควิดที่ยังควบคุมไม่ได้ เป็นต้น

           จากผลสำรวจดังกล่าวทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศภาพรวมในไตรมาส 2ปี 2564 อยู่ที่ 28.5  ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2564 ที่อยู่ในระดับ 31.8 ซึ่งถือว่าต่ำกว่า50 อย่างมาก และไม่มีดัชนีใดทั้งในปัจจุบัน อนาคตสูงกว่าระดับ 50 และยังไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้นและกลุ่มตัวอย่างยังย้ำว่าต้องการให้รัฐบาลจัดสรรวัคซีนให้ประชาชนเพราะมองว่าประเทศไทยยังมีการระบาดที่รุนแรงและนักธุรกิจต่างชาติไม่มั่นใจในการไขปัญหาการระบาดของโควิด และให้เอกชนเข้าถึงซอฟท์โลน และมองว่าปีนี้เศรษฐกิจของไทยน่าจะติดลบหากรัฐบาลแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิดไม่ได้”

สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย :

     “ขณะนี้การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างปัญหาให้กับภาวะเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากทางหอการค้าได้จัดให้มีศูนย์ฉีดวัคซีนถึง 25 ศูนย์ และอยากเชิญชวนให้ประชาชนมาฉีดวัคซีนให้เต็มจำนวนโดยในเดือนส.ค.นี้ได้รับการจัดสรรวัคซีนถึง 7.5แสนโดส ซึ่งการฉีดวัคซีนให้ประชาชนครบ70% หรือ 50 ล้านคนก่อนสิ้นปีก็จะช่วยแก้ไขปัญหาการระบาดได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้เอกชนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 เพราะไม่มีวัคซีนที่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด เพราะจะส่งผลทำให้แรงงานในภาคการผลิตติดเชื้อน้อยลง ทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้ทำได้อาจถึง 15% จากเดิมที่กำหนดไว้ประมาณ 10-12% บวกกับขณะนี้ค่าเงินบาทก็อ่อนค่าก็ยิ่งส่งผลบวกต่อภาคการส่งออกของไทย นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งสนับสนุนสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจเพราะหากยังมีการรระบาดต่อไปถึง 1 เดือนข้างหน้านี้ก็ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากขึ้น และหวังว่าการล็อกดาวน์จะไม่ยืดเยื้อออกไป

           การจัดหาวัคซีนต้องทำให้เร็วกว่านี้มากๆส่วนวัคซีนทางเลือกต้องให้เอกชนมีส่วนร่วมมากกว่านี้ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีประสานกับภาคเอกชนแล้วว่าหากใครช่องทางใด หรือมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนก็พร้อมเปิดให้เอกชนดำเนินการเป็นตัวเชื่อมให้กับรัฐบาลได้ ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่ามีความเข้าใจที่ผิดพลาดไป โดยเฉพาะเรื่องวัคซีนแอสตร้าซิเนก้าที่เข้าใจว่าตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นไปจะมีวัคซีนที่ผลิตในเมืองไทยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านโดสแต่รัฐบาลได้ชี้แจงว่าเราได้รับเพียง 30% ของกำลังการผลิตในในเมืองไทย ฉะนั้นการผลิตในไทยเพียง 15 ล้านโดส ดังนั้นก็เท่ากับว่าไทยจะได้รับวัคซีนเพียง 5 ล้านโดสต่อเดือน  ดังนั้นจำนวนที่ผิดเป้าก็ประมาณ 5 ล้านโดส ซึ่งรัฐบาลก็พยายามสรรหาวัคซีนต่าง ๆมาชดเชย และเอกชนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการจัดหาวัคซีนซึ่งคณะกรรมการร่วมเอกชน (กกร.) จะนำไปหารือกับนายกฯอีกครั้งถึงแนวทางการนำเข้าวัคซีน”

สแตนลี่ย์  คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย :

      “ในไตรมาส 3 ไตรมาส4 ไทยยังมีโอกาสของการส่งออกที่จะทำได้ดีมากขึ้น เพราะค่าเงินบาทอ่อนลงตัวเหลือ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้องควบคุมการระบาดของโรคในโรงงานให้ได้ เพราะขณะนี้ตลาดสหรัฐที่มีการฟื้นฟูจากการระบาดมีคำสั่งเข้ามาในไทยจำนวนมาก และคำตอบของการป้องกันการระบาดของโรคได้ก็คือวัคซีน ทำอย่างไรจึงจะมีวัคซีนเข้ามาให้ประชาชนได้มากที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และหอการค้าต่างประเทศก็สนับสนุนโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกที่จะเอื้อให้นักธุรกิจสามารถบินเข้ามาในไทยโดยไม่ต้องกักตัว

       “เรายังมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทยอยู่ปีนี้การลงทุนผ่านบีโอโอไอที่ 200%ทั้งภาครัฐและเอกชนก็ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ แต่ก็ยอมรับว่ามี เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบโดยเฉพาะในภาคธุรกิจท่องเที่ยวจนต้องปิดกิจการ แต่ก็พยายามจะปรับตัวเพื่อหาทางรอด ร่วมกันซึ่งที่ผ่านมาก็ส่งสัญญาณต่าง ๆ ไปยังรัฐบาลตลอดเวลาอยู่แล้ว”

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!