WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3ACONNECT SMEs

สรุปการเสวนา เรื่อง'CONNECT SMEs ไทย ด้วย Digital Transformation'

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 15.30-16.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร

ร่วมเสวนา โดย นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     หอการค้าไทย ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกลไกการเชื่อมโยงด้วยแนวทาง Digital Transformation โดยมุ่งหวังในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ  SMEs ไทย จึงกำหนดจัดเสวนา เรื่องCONNECT SMEs ไทย ด้วย Digital Transformation’ โดยมี สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ เพื่อนำมาขับเคลื่อนและยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ไทยด้วยเครื่องมือ Digital Transformation ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

     ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 ได้มีการนิยาม SME โดยพิจารณาจาก รายได้และการจ้างงาน

     ความสำคัญของผู้ประกอบการ SMEs ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวน SMEs จำนวน 3,134,442 ราย หรือคิดเป็น 99.54% สร้างการจ้างงาน 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 71.70% และสร้าง GDP คิดเป็น 5.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 34.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ดี ถึงแม้จำนวนการจ้างงานของ SME จะมีจำนวนมาก แต่ GDP ที่เกิดจาก SME กลับไม่มากตามไปด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก SMEs ของไทยยังประสบปัญหา ขาดศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันหลายด้าน อาทิ ขาดเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล หนี้สินมาก ผลิตภาพต่ำ มีการส่งออกน้อย และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

      ประเทศไทยถูกระบุว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก และมีผู้ประกอบอาชีพอิสระเพิ่มมากขึ้น จำเป็นที่ภาครัฐต้องมีมาตรการบริหารจัดการและดูแลผู้ประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งส่งเสริมการเข้าสู่ระบบให้มากขึ้นด้วย

     สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ที่เชื่อมโยงกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)  มี 3 พันธกิจ ดังนี้

1) ส่งเสริม SME ทุกกลุ่มอย่างครอบคลุมให้เข้มแข็งและเติบโต

2) สร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อยกระดับศักยภาพธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขัน

3) พัฒนาระบบนิเวศให้เอื้อต่อการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ พร้อมทั้ง กำหนดกลยุทธ์ และแนวทางการส่งเสริม SMEs แบ่งเป็น 3 ประเด็น ได้แก่

      ประเด็นการส่งเสริมที่ 1 การสร้างการเติบโตที่ครอบคลุม มี 7 กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน อาทิ พัฒนาธุรกิจในระยะต้นให้เริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นคง / ยกระดับธุรกิจที่มุ่งเติบโตให้มีศักยภาพ / ส่งเสริมเกษตรกรสู่การเป็นธุรกิจมืออาชีพ เป็นต้น

     ประเด็นการส่งเสริมที่ 2 การสร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้า มี 2 กลยุทธ์ ได้แก่ สร้างส่วนแบ่งตลาด ในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น / ส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดสากล

     ประเด็นการส่งเสริมที่ 3 การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ มี 6 กลยุทธ์ อาทิ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน / สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล / ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

     นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้บูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคเอกชนหลายหน่วยงาน ทั้งข้อมูลเชิงโครงสร้างและข้อมูลเพื่อการส่งเสริม SMEs รวมไปถึง มีระบบดิจิทัลสำคัญ อาทิ

- THAI SME-GP เป็นแหล่งรวมสินค้าผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

- ระบบ Dashboard SME Big Data บนหน้าเว็บไซต์ สสว.

- การพัฒนาระบบให้บริการผู้ประกอบการ SME ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล(SME Access) รองรับ แนวทางให้บริการแบบ One Stop Service :OSS

- บริการ Business Development Services (BDS) ทำหน้าที่ให้บริการ SMEs เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพัฒนา อาทิ การทดสอบผลิตภัณฑ์ การอบรม การบริหารจัดการ เช่น ร่วมกับกรมการขนส่งทางบกเรื่อง Q mark ส่งเสริมผู้ประกอบการขนส่งให้มีมาตรฐาน เป็นต้น 

          เนื่องจากผู้ประกอบการอาจจะมีความต้องการขอรับการสนับสนุนหรือส่งเสริมที่แตกต่างกัน ทาง สสว. จึงเปลี่ยนรูปแบบการส่งเสริม SME โดยการเปิดโอกาสให้ SME เสนอความต้องการในแต่ละด้าน โดยเสนอให้การสนับสนุนเงินทุนคนละครึ่งแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

      ความสำคัญและประโยชน์ของ Digital Transformation การที่ธุรกิจของตัวเองถูก disrupt จากวิกฤตเศรษฐกิจภายในและต่างประเทศ และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่า SME จำนวน 1 ใน 5 จะไม่กลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้ง ดังนั้น คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถฟื้นตัวและปรับตัวจากวิกฤตต่างๆ ในลักษณะ K Shape : ซึ่ง SME ส่วนหนึ่งจะล้มหายตายจาก และส่วนหนึ่งจะสามารถฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ได้ โดยกลยุทธ์การปรับตัวของ  ธุรกิจไทย ประกอบด้วย

          1) การเพิ่มมูลค่า (Reimagine) และสร้างข้อได้เปรียบ : Put AI to Work ให้มนุษย์สร้างงานที่สร้างคุณค่า เพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจและเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา 

          2) การหาแนวทางพลิกฟื้น (Recover) และสร้างโอกาสฟื้นฟู : Put Automation to Work โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย และส่งเสริมการทำงานแบบ Remote & Contactless

          3) ตื่นตัวเพื่อปรับให้เร็ว (Reform Enablers) โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างแต้มต่อให้ SMEs

          3.1) จากการสำรวจเทรนด์ Digital Transformation ของ SME ในช่วง Covid-19 พบว่า SME กว่า 67% เลือกที่จะปรับกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตสินค้า/บริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า รวมทั้งหาลูกค้าใหม่ และ ลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ SME กว่า 85% จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ

          3.2) การเชื่อมโยงข้อมูล จะทำให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์และส่งเสริมอนาคตสำหรับประเทศไทย ผ่านแนวทางสำคัญ ได้แก่

          3.2.1) ผลักดันการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐและเอกชน (เชื่อม ใช้ แชร์) เพื่อมี Big Data for SMEs ให้ภาคธุรกิจสามารถตัดสินใจได้แม่นยำ ลดความเสี่ยง และเข้าใจความต้องการของลูกค้า

          3.2.2) การพัฒนา Thailand Trade Platform แบบ B2G B2C และ B2B เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลในระดับ Global ด้วยการผสานเทคโนโลยี Blockchain, Cloud, AI and IoT

          3.2.3) การนำเทคโนโลยีเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและธุรกิจท่องเที่ยวผ่าน Super App

เทคโนโลยีที่สร้างแต้มต่อให้ SMEs ในแต่ละธุรกิจ เช่น

          1) รถยนต์ : Mobile, AI, Autonomous, Transport, Cloud, IoT, Robots

          2) อิเล็กทรอนิกส์ : IoT, RPA, Mobile, Cloud, Robots, AI

          3) การแพทย์ : Cloud, AI, RPA, Wearable

          4) สินค้าอุปโภคบริโภค : IoT, RPA, Mobile, Cloud, AI, Robots, Mobile   ฯลฯ

          SME ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จนกลายเป็นยูนิคอร์น เช่น Flash Bitkub เป็นต้น

          สสว. ยินดีที่จะเป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงบูรณาการการใช้ข้อมูลต่างๆ และหากในอนาคต บริษัท Start up มีความต้องการใช้ข้อมูลให้เสนอความต้องการกับทาง สสว.ได้

    การเสวนาฯ มีข้อเสนอต่อการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ด้วย Digital Transformation ประกอบด้วย 

    1) ขับเคลื่อน Thailand Trade Platform ในการช่วยเหลือ SMEs โดยเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้เทคโนโลยี ให้สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

    2) ปรับกฎหมายและระเบียบการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สามารถดูแลงบบูรณาการของ SMEs เพื่อช่วยขับเคลื่อนแผนส่งเสริม SMEs ให้มีประสิทธิภาพ

QIC 580x400 

hino2021

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!