WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1aFocus group

สศช. จัดประชุมระดมความเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus group) ครั้งที่ 1 'การพัฒนาเกษตรยั่งยืน'

       นายวิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิด การประชุมระดมความเห็น (Focus group) ครั้งที่ 1 การขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 สู่การปฏิบัติ เรื่อง ‘การพัฒนาเกษตรยั่งยืน’ จัดโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 20 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

       สศช. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (2560 - 2565) สู่การปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนาเกษตรยั่งยืน จึงได้จัดการประชุมในรูปแบบระดมความเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus group) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนและรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในด้านต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้อย่างเป็นรูปธรรม

       การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนนั้น มีการกำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาภาคเกษตรที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) จนกระทั่งถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การปรับโครงสร้างภาคเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่า/คุณค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรบนฐานความรู้ ต่อยอดด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนา

       ทั้งนี้ การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน มีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ถึง 2 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาและติดตามการขับเคลื่อนที่ผ่านมาโดย สศช. มีข้อค้นพบเบื้องต้นที่เป็นปัญหาในการขับเคลื่อนทั้งในเรื่องของนิยามของเกษตรยั่งยืนที่ค่อนข้างกว้าง มองความสมดุลในทุกมิติ แต่การแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่ มีความซ้ำซ้อนกันในทางปฏิบัติ ทำให้วัดข้อมูลความสำเร็จได้ยาก การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรยั่งยืนกระจุกตัวอยู่เฉพาะเกษตรอินทรีย์ อีก 4 ประเภท ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร รวมถึงมีกลไกระดับนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ขาดการบูรณาการการทำงาน

        https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=10528&filename=index

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!